Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
เกษตรกรราชบุรี เปิดอาณาจักรไม้ใบ โชว์ไม้ด่างมูลค่า 2.5 ล้าน

เกษตรกรราชบุรี เปิดอาณาจักรไม้ใบ โชว์ไม้ด่างมูลค่า 2.5 ล้าน

8 มิ.ย. 64
14:37 น.
|
7.3K
แชร์

เกษตรกรราชบุรี เปิดอาณาจักรไม้ใบ โชว์ไม้ด่าง ต้นมอนสเตอร่า เดลิซิโอซา ไจแอนท์ มูลค่า 2.5 ล้าน

ผู้สื่อข่าวได้เข้าพบกับ นายอุดม ฐิตวัฒนะสกุล เจ้าของสวนไม้ใบ “อุดมการ์เด้น” ตั้งอยู่ ต.ดอนคลัง อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี ซึ่งเป็นสวนไม้ใบที่ใหญ่ และตัดใบส่งออกเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศ หลังทราบข่าวว่าที่สวนแห่งนี้มีการปรับปรุงและพัฒนาสายพันธุ์ไม้ด่างหลากหลายชนิด ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมจากท้องตลาดอยู่ในขณะนี้

1623137200440

โดยนายอุดม ได้พาชมไม้ด่างที่มีมูลค่าสูงสุดของสวน คือ ต้นมอนสเตอร่า เดลิซิโอซา ไจแอนท์ ราคา 2.5 ล้านบาท ซึ่งมีลักษณะใบเป็นมิ้นด่างสีเหลืองเหลือบเขียว ขนาดความสูงประมาณ 1 เมตร กว้าง 1.5 เมตร

นอกจากนั้น ยังมีไม้ด่างมูลค่าหลักล้านและไม้หายากอีกหลายสายพันธุ์ อาทิ ฟิโลเดนดรอน ก้านส้มด่าง ราคา 1.5 ล้านบาท ฟิโลใบพาย ระงดกล้วยด่าง ราคาอยู่ที่ 1.1 ล้านบาท เสน่ห์จันทร์ดำด่าง 8 แสน และฟิโลเดนดรอน โกเด้น ดราก้อน ราคา 1 ล้านบาท ซึ่งเป็นไม้ด่างหนึ่งในสายพันธุ์ที่ถูกพัฒนาขึ้นจากสวนแห่งนี้

1623137153297

นายอุดม เปิดเผยว่า ปัจจัยที่ส่งผลให้ธุรกิจไม้ประดับของไทยได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วในขณะนี้ เกิดจากรูปแบบการใช้ชีวิตของผู้คนที่เปลี่ยนไป เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 สถานประกอบการและองค์กรหลายแห่งมีนโยบายการทำงานอยู่กับบ้าน หรือ Work from home การจัดแต่งบ้านจึงกลายเป็นกิจกรรมสันทนาการเพื่อคลายเครียด จากนั้นก็ผันตัวมาเป็นผู้ค้ารายย่อยสร้างรายได้เสริม ประกอบกับมียอดสั่งซื้อจากต่างประเทศทั่วโลก เช่น กลุ่มประเทศอเมริกา แคนาดา และยุโรป เข้ามาเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะไม้ด่าง ที่นอกจากจะมีความสวยงามแปลกตาแล้ว ปริมาณที่มีอยู่อย่างจำกัดจึงทำให้ราคายิ่งเพิ่มสูงขึ้นอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน

1623137753467

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะเริ่มมีกลุ่มผู้เพาะเนื้อเยื่อไม้ด่างออกจำหน่ายต้นพันธุ์กันบ้างแล้ว แต่ก็เป็นไปได้ยากที่จะได้ปริมาณตามความต้องการของลูกค้า เนื่องจากการเพาะเนื้อเยื่อให้ได้ไม้ด่างตรงตามแม่พันธุ์ จะได้ผลสำเร็จเพียงร้อยละ 1–3 ของการผลิตแต่ละครั้งเท่านั้น นอกจากนั้น ยังต้องมีเทนิคการปลูกช่วงอนุบาล และระยะเวลาการเจริญเติบโตกว่าจะสามารถจำหน่ายได้

1623137792382

ทั้งนี้จึงคาดว่า กระแสความนิยมไม้ด่างจะยังคงเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค และราคาจะอยู่เช่นนี้ต่อเนื่องไปจนถึงปี 2565 สำหรับท่านใดที่สนใจสามารถติดต่อสอบถามได้ที่เฟซบุ๊ก “Udom Titwattanasakul” หรือที่เบอร์ 086 789 5888

Advertisement

แชร์
เกษตรกรราชบุรี เปิดอาณาจักรไม้ใบ โชว์ไม้ด่างมูลค่า 2.5 ล้าน