สารสกัดรวมของโกฐจุฬาลัมพา (โดยมีตัวอย่างหนึ่งเป็นใบแห้งมีอายุการเก็บมานานกว่า 10 ปี) มีประสิทธิภาพสูงในการยับยั้งเชื้อโควิด ซึ่งรวมทั้งสายพันธ์แอฟริกา และอังกฤษ โดยนักวิจัยเชื่อว่าสารที่มีบทบาทสำคัญในการยับยั้งไวรัสมรณะนี้นอกจากสาร artemisinin และองค์ประกอบแล้วน่าจะมาจาการทำงานของสารอื่นๆในโกฐจุฬาลัมพาด้วย
โกฐจุฬาลัมพา ชื่อวิทยาศาสตร์ Artemisia annua Linn. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Artemisia chamomilla C. Winkl. , Artemisia stewartii C.B. Ckarke., Artemisia wadei Edgedw.
“คําอธิบายตําราพระโอสถพระนารายณ์” ซึ่งเป็นตําราอ้างอิงด้านสมุนไพรที่สมบูรณ์ที่สุดเล่มหนึ่งระบุว่าโกฐจุฬาลัมพา คือส่วนใบและเรือนยอดของ A. annua โดยเป็นสมุนไพรที่มีการนำมาใช้เป็นสมุนไพรอย่างกว้างขวางทั้งการแพทย์แผนไทย และแพทย์แผนจีน
โดยในตำรายาไทยระบุว่า โกฐจุฬาลัมพา หรือโกฐจุฬาลัมพา เป็นเครื่องยาที่มีรสสุขุมหอมร้อนมีสรรพคุณแก้ไข้เจลียง (ไข้จับวันเว้นวัน)ไข้เจรียง (ไข้ทีมีเม็ดผื่นขึ้นตามตัว เช่น เหือดหัด สุกใส ดำแดง รากสาดประดง) แก้ไข้เพื่อเสมหะ แก้หืด แก้ไอเป็นยาขับเหงื่อ ใช้แต่งกลิ่น เป็นยาเจริญอาหาร เป็นยาระบายแก้ไข้จับ เป็นยาเร่งประสาทส่วนกลางเหมือนการบูร ขับลม แก้ตกเลือด ตำพอกแก้ลมแก้ชำใน แก้ปวดเมื่อยรูมาติก แก้บิด แก้ปวดท้องหลังคลอด แก้ระดูมากเกินไป
นอกจากนี้ในบัญชียาจากสมุนไพร ตามประกาศ คณะกรรมการแห่งชาติด้านยา ปรากฏการใช้โกฐจุฬาลัมพาในยารักษาอาการโรคในระบบต่างๆของร่างกาย ได้แก่ ยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต (แก้ลม) ปรากฏตำรับ ”ยาหอมเทพจิตร” และตำรับ ”ยาหอมนวโกฐ” มีส่วนประกอบของโกฐจุฬาลัมพาอยู่ในพิกัดโกฐทั้ง 9 ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณในการแก้ลมวิงเวียน แก้อาการหน้ามืด ตาลาย ใจสั่น คลื่นเหียน อาเจียน แก้ลมจุกแน่นในท้อง ยาแก้ไข้ ปรากฏตำรับ “ยาจันทน์ลีลา” มีส่วนประกอบของส่วนประกอบของโกฐจุฬาลัมพาร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บรรเทาอาการไข้ตัวร้อน ไข้เปลี่ยนฤดู ตำรับ "ยาเลือดงาม" มีส่วนประกอบของโกฐจุฬาลัมพาร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณบรรเทาอาการปวดประจำเดือน ช่วยให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ แก้มุตกิด
และโกฐจุฬาลัมพายังเป็นสมุนไพรที่มีการนำมาใช้ในตำรับยาแผนโบราณของไทยหลายตำรับ เช่น มีการนำมาใช้ในเครื่องยาไทย ที่เรียกว่า “พิกัดโกฐ” โดยโกฐจุฬาลัมพาจัดอยู่ใน โกฐทั้งห้า(เบญจโกฐ) โกฐทั้งเจ็ด(สัตตโกฐ) และโกฐทั้งเก้า(เนาวโกฐ) สรรพคุณโดยรวม ของยาที่ใช้ในพิกัดโกฐ คือ แก้ไข้ แก้ไข้ร่วมกับมีเสมหะ แก้หืดไอ แก้หอบ แก้ลมในกองธาตุ ชูกำลัง ขับลม แก้สะอึก บำรุงเลือด บำรุงกระดูก เป็นต้น
ถ้าใครจำได้เมื่อปีที่แล้ว นายแอนดรี ราโจเอลินา ประธานาธิบดี แห่งมาดาร์กัสกาได้ประกาศในประชาชนใช้โกฐจุฬาลัมพา แต่กลับถูกวิจารณ์โดยองค์การอนามัยโลกโดยอ้างว่าเป็นการรณรงค์ยังไม่ได้มีงานวิจัยใด ๆ รองรับ แต่เขายังเดินหน้าเผยแพร่การใช้ยาสมุนไพรโดยไม่สนใจคำเตือน
เราต้องรอให้ต่างประเทศจดสิทธิบัตรก่อนหรือ จึงจะยอมรับว่าความรู้และสมุนไพรจากท้องถิ่นสามารถรับมือกับวิกฤตนี้ได้ ?
ข้อควรระวัง ! โกฐจุฬาลัมพา ในอดีตมีการเข้าใจกันว่าเป็นเครื่องยาที่ได้จากพืชในวงค์ COMPOSITAE เช่น A.pallens , A.vulgaris , A.argyi ซึ่งเป็นคนละชนิดกันกับ Artemisia annua ตามการวิจัยนี้
ต้นโกฐจุฬาลัมพามีทั้งพันธุ์ดอกสีขาวและดอกสีแดงมีสรรพคุณทางยาเหมือนกัน สามารถนำมาใช้แทนกันได้ นอกจากนี้ยังมีพันธุ์ดอกสีเหลืองชนิดที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Artemisia princeps Pamp ด้วย แต่พันธุ์นี้จะมีพิษ ถ้าใช้เกินขนาดก็อาจทำให้เสียชีวิตได้
การใช้ยา ไม่ควรใช้ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ควรใช้ตามคำแนะนำของหมอพื้นบ้าน และแพทย์แผนไทย เพราะอาจส่งผลกระทบต่อตับไต หญิงตั้งครรภ์ หรือไข้เลือดออก
ลิงค์งานวิจัย https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/33716085/#affiliation-1
ลิงค์ ข้อมูลพื้นฐาน โกฐจุฬาลัมภา ของ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
https://bit.ly/3liUH00
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- อย. เตือนระวัง ฟ้าทะลายโจร ปลอมระบาด พร้อมเผยวิธีตรวจสอบ
- ปลูกกระชายพลิกชีวิต รายได้วันละเกือบหมื่น คนแห่ซื้อไปต้มกินโดยเชื่อว่าสร้างภูมิต้านโควิด-19
- “บิ๊นท์ สิรีธร” เปิดสูตรกินแคปซูลฟ้าทะลายโจรสู้โควิด ชี้ดูข้างขวดห้ามหยิบผิด (คลิป)
Advertisement