“ธัญ” (THANN) ร่วมกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวพรรณและความงาม แนะวิธีบูสต์ผิวให้เนียนนุ่มชุ่มชื้นอย่างยาวนานด้วย “EMULTECH”
ผิวหนังของเราเปรียบเสมือนปราการด่านแรกที่ต้องเผชิญกับมลภาวะ แสงแดด และสิ่งสกปรกต่างๆ ตลอดเวลา ดังนั้นการดูแลผิวให้เนียนนุ่มชุ่มชื้นอยู่เสมอจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ไม่เพียงจะช่วยเสริมสร้างความมั่นใจ แต่ยังช่วยป้องกันการเกิดปัญหาผิวต่างๆ ตามมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ การดูแลผิวด้วยการทาครีมบำรุงผิวเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ แบรนด์ผลิตภัณฑ์เพื่อการดูแลสุขภาพผิวและความงาม ‘ธัญ’ ( THANN) ร่วมกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังและความงาม แพทย์หญิงกนกวรรณ เศรษฐพงษ์วนิช แนะวิธีบูสต์ผิวให้เนียนนุ่มชุ่มชื้นอย่างยาวนานด้วย “ EMULTECH” ที่มีใน Bath & Massage Oil
ทำให้น้ำมันสามารถผสมผสานกับเนื้อครีมบำรุงผิวได้อย่างลงตัว เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการบำรุงผิวได้อย่างยาวนานให้กับกลุ่มผลิตภัณฑ์ Body Moisturising ประกอบด้วย Body Milk และ Body Butter ได้เป็นอย่างดี พร้อมกันนี้ได้เชิญเหล่าเซเลบริตี้สาวรักสุขภาพผิว อาทิ คุณพลอยพยัพ ศรีกาญจนา , คุณปาวา นาคาศัย และคุณอัชฌา เจริญรัศมีเกียรติ มาร่วมแชร์วิธีการผสมกลิ่นหอมของครีมบำรุงผิว พร้อมเผยเคล็ดลับการดูแลสุขภาพผิวให้เนียนนุ่มชุ่มชื้นอยู่เสมอ
แพทย์หญิงกนกวรรณ เศรษฐพงษ์วนิช แนะนำวิธีดูแลสุขภาพผิวและบูสต์ผิวให้เนียนนุ่มชุ่มชื้นอย่างยาวนานว่า
ผิวแห้งเกิดจากชั้นไขมันใต้ผิวถูกทำลายจากปัจจัยต่างๆ ทำให้เสียสมดุลความชุ่มชื้นตามธรรมชาติของผิว ต่อมไขมันใต้ชั้นผิวหนังผลิตน้ำมันออกมาน้อยกว่าปกติ รวมถึงผิวหนังไม่สามารถกักเก็บความชุ่มชื้นไว้ได้ ทำให้เกิดเป็นผิวแห้ง ตึง ลอกเป็นขุย หากไม่ดูแลจะส่งผลให้เกิดอาการทางผิวหนังอื่นๆ ตามมาได้ เช่น ผื่น คัน หรือการติดเชื้อทางผิวหนังเกิดขึ้นได้ โดยสามารถแบ่งปัจจัยที่ส่งผลให้ผิวของเราแห้งออกเป็น 2 ปัจจัย ได้แก่
ปัจจัยภายใน ( Internal Factor) ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในช่วงวัยหมดประจำเดือน หรือการขาดฮอร์โมน บางชนิดที่ส่งผลต่อความชุ่มชื้นของผิว พันธุกรรม โรคบางชนิด เช่น โรคเบาหวาน โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังชนิดเอ็กซิมา (Eczema) ทำให้มีอาการคันที่ผิวหนัง ผิวมักมีลักษณะแห้ง เป็นขุย ลอก รวมถึงการขาดสารอาหารบางอย่าง เช่น การดื่มน้ำน้อย ขาดแร่ธาตุและวิตามินบางชนิดอย่างวิตามินเอ, อี, หรือกรดไขมันโอเมก้า-3 ที่อาจส่งผลให้เกิดผิวแห้งกร้านขึ้นได้
ปัจจัยภายนอก ( External Factor) ได้แก่ โรคผิวหนังอักเสบจากการแพ้ หรือระคายเคืองจากการสัมผัสสารต่าง ๆ ทำให้โครงสร้างชั้นปกป้องผิวหนัง (Skin Barrier) สูญเสียไป ผิวหนังจึงแห้งแตกลอกได้ สภาพอากาศที่แห้งหรือหนาวเย็น การอยู่ในห้องปรับอากาศเป็นเวลานานๆ การใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่มีส่วนผสมของสารเคมีแรงๆ หรือมีความเป็นเบสสูง การอาบน้ำร้อนเป็นประจำ รวมถึงแสงแดดและมลพิษทางอากาศอย่าง PM5 ก็สามารถส่งผลให้ผิวแห้งและเกิดการระคายเคืองได้
ความแห้งกร้านของผิวสามารถแบ่งตามระดับความรุนแรงและลักษณะของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับผิวหนัง ได้เป็น 3 ระดับดังนี้
ระดับเล็กน้อย มักเกิดบริเวณข้อศอกหรือหัวเข่า มีอาการผิวลอกเป็นขุยเล็กๆ หรือรู้สึกระคายเคืองเล็กน้อย แต่ไม่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน แต่อาจทำให้รู้สึกไม่สบายผิวบ้าง
ระดับปานกลาง เกิดอาการคัน หรือเป็นขุยมากขึ้น ผิวแดง และมีผื่นขึ้นเป็นหย่อมๆ เมื่อลูบไปตามผิวหนังอาจรู้สึกสากผิว
ระดับรุนแรง ผิวลอกเป็นขุย มีอาการตึงๆ ที่ผิวหนัง ผิวหนังแห้งแตกลายหรือตกสะเก็ดโดยเห็นได้ชัดเจน ผิวมีความไวต่อการระคายเคือง มีอาการคันอย่างต่อเนื่อง อาจมีผื่นขึ้นเป็นบริเวณกว้าง โดยเฉพาะตำแหน่งที่เกิดการเสียดสีมากๆ
แพทย์หญิงกนกวรรณ เศรษฐพงษ์วนิช
การดูแลผิวกายเพื่อลดปัญหาผิวแห้งกร้าน สามารถปฏิบัติได้ดังนี้
เลือกใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่คงความชุ่มชื้นได้ยาวนาน โดยอาจพิจารณาจากส่วนผสมที่ทำหน้าที่เป็นสาร Humectants ที่ช่วยดูดซับความชุ่มชื้นเข้าสู่ผิวหรือดึงน้ำเข้าสู่ผิว เช่น Glycerin, Urea, Hyaluronic acid รวมถึงน้ำมันสกัดจากธรรมชาติที่ให้ความชุ่มชื้นกับผิว เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันมะกอก หรือน้ำมันมะพร้าว เป็นต้น
เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวที่มีค่า pH กลางๆ ประมาณ 5 หรือมีสัญลักษณ์ pH Balance รวมถึงเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีการแต่งสี หรือสารที่ก่อให้เกิดฟองอย่างซัลเฟต
เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยเติมเต็มความชุ่มชื้นอย่างเหมาะสมกับแต่ละสภาพผิว อาทิ
Body Oil (น้ำมันบำรุงผิว) เหมาะสำหรับผิวแห้งมาก ผิวขาดน้ำ หรือผิวที่ต้องการบำรุงผิวอย่างล้ำลึก สามารถใช้เป็นประจำทุกวัน
เนื้อสัมผัส: เนื้อน้ำมัน เบาบาง ซึมซาบเร็ว และทำหน้าที่เป็นแผ่นฟิล์มบางๆ เคลือบผิวเพื่อป้องกันการระเหยของน้ำใต้ผิว
ส่วนประกอบหลัก: น้ำมันสกัดจากธรรมชาติ เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันมะกอก น้ำมันมะพร้าว น้ำมันอาร์แกน น้ำมันโจโจ้บา เป็นต้น
คุณสมบัติ: ให้ความชุ่มชื้นแบบล้ำลึก กักเก็บความชุ่มชื้นได้นาน และทำให้ผิวเนียนนุ่ม
Body Lotion (โลชั่นบำรุงผิว) เหมาะสำหรับผิวปกติ - แห้งเล็กน้อย
เนื้อสัมผัส: ครีมเหลว มีความหนาปานกลาง ซึมซาบปานกลาง
ส่วนประกอบหลัก: น้ำ น้ำมัน และสารให้ความชุ่มชื้น เช่น กลีเซอรีน, ไฮยาลูรอนิค แอซิ
คุณสมบัติ: ให้ความชุ่มชื้น ทำให้ผิวเนียนนุ่ม ซึมซาบเร็ว
Body Butter (บอดี้บัตเตอร์) เหมาะสำหรับผิวแห้งมาก ผิวแตก หรือต้องการบำรุงผิวในจุดที่แห้งเป็นพิเศษ เช่น ข้อศอก เข่า
เนื้อสัมผัส: ครีมข้น หนา เหมือนเนย
ส่วนประกอบหลัก: น้ำมัน เชียบัตเตอร์ โกโก้บัตเตอร์ และสารให้ความชุ่มชื้นเข้มข้น
คุณสมบัติ: ให้ความชุ่มชื้นมากกว่าและกักเก็บความชุ่มชื้นได้ดีกว่า Body Lotion
หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำหอมสังเคราะห์ รวมถึงส่วนผสมที่อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองในช่วงที่ผิวแห้งอย่าง Vitamin C, Vitamin A รวมถึงกรดที่กระตุ้นการผลัดเซลล์ผิวอย่าง AHA, BHA เป็นต้น
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการอาบน้ำ หลีกเลี่ยงการอาบหรือแช่ตัวในน้ำอุ่น หรือน้ำที่ร้อนจัดนานเกินไป เพราะผิวจะสูญเสียเกราะปกป้องผิว (Skin Barrier) ทำให้ผิวแห้ง ระคายเคืองและเกิดอาการคันมากขึ้น
ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีโอเมก้า 3 สูง เช่น ปลาแซลมอน ผักโขม ถั่วเหลือง รวมถึงผักผลไม้ที่อุดมด้วยวิตามิน เอ, อี และซี จะช่วยให้ผิวมีความชุ่มชื้นมากขึ้น
“ คำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทาผลิตภัณฑ์บำรุงผิวกายอย่างไรให้ได้ประสิทธิภาพ ควรทาหลังการอาบน้ำทั้งเช้าและเย็น โดยสามารถทาได้ทันทีภายหลังจากที่เช็ดตัวหมาดๆ เพื่อให้ส่วนผสมซึมสู่ผิวได้ง่าย และช่วยให้ผิวกักเก็บความชุ่มชื้นได้อย่างยาวนาน หรือหากต้องการเพิ่มประสิทธิภาพในการบำรุงผิวอย่างล้ำลึก แนะนำให้ผสม Body Oil กับ Body Lotion หรือ Body Butter จะช่วยให้ผิวสามารถกักเก็บความชุ่มชื้นได้ยาวนานกว่าการใช้ Body Lotion หรือ Body Butter เพียงอย่างเดียว และควรทาผลิตภัณฑ์ปกป้องผิวจากแสงแดดก่อนออกจากบ้านเป็นประจำ เพื่อเป็นการเสริมเกราะปกป้องผิวให้แข็งแรงด้วยค่ะ”