ปัจจุบัน ในเรื่องของความปลอดภัยและความแข็งแรงของตึกสูงเป็นสิ่งที่ผู้คนกำลังให้ความสนใจ สำหรับในเรื่องนี้ ดร. การุญ จันทรางศุ วุฒิวิศวกรสาขาวิศวกรรมโยธา และอดีตกรรมการสภาวิศวกร ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมโครงสร้าง ได้ให้ความเห็นไว้ว่า
“อาคารที่ปลอดภัย สามารถพิจารณาได้จากพื้นฐานโครงสร้างที่แข็งแรง ซึ่งมาจากการออกแบบระบบโครงสร้างที่วางแผนและคิดวิเคราะห์มาอย่างละเอียด สามารถรองรับเหตุการณ์ไม่คาดคิดต่าง ๆ ได้ และต้องเป็นไปตามมาตรฐานกรมโยธาธิการและผังเมือง
โดยพื้นที่ในกรุงเทพมหานคร ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่ทำการก่อสร้างอาคารได้ยากที่สุดในโลก เนื่องจากสภาพชั้นดินของกรุงเทพฯ ที่ถูกเรียกว่า ‘Bangkok Clay’ เป็นลักษณะชั้นดินอ่อน ทำให้มีความยากลำบากในการก่อสร้างฐานรากของอาคาร”
วัน แบงค็อก ได้มีการออกแบบโครงสร้างฐานรากที่ได้มีการวิเคราะห์ให้เหมาะสมกับลักษณะชั้นดินของกรุงเทพมหานครและรองรับปัจจัยต่าง ๆ รวมถึงเหตุการณ์แผ่นดินไหว เพื่อความแข็งแรงและความปลอดภัยต่อทุกคนผู้มาใช้ชีวิตอยู่ในเมืองกลางใจแห่งนี้ โดยมาตรฐานโครงสร้างสามารถพิจารณาได้เป็น 2 ส่วน
ความแข็งแรง
วัน แบงค็อก ออกแบบฐานรากโดยใช้เสาเข็มขนาดใหญ่ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางกว่า 1.8 เมตร มากถึง 2,600 ต้น เจาะลงไปในชั้นทรายที่ 3 ที่ระดับความลึก 80 เมตร ซึ่งเป็นโครงการแรกของประเทศไทยที่มีการเจาะเสาเข็มที่ความลึกในระดับนี้
ความมีเสถียรภาพ
อาคารทั้งหมดในโครงการ วัน แบงค็อก ถูกสร้างอยู่บนโครงสร้างชั้นใต้ดินขนาดใหญ่ ซึ่งอยู่บนเสาเข็มที่มีความลึก 80 เมตร ครอบคลุมพื้นที่กว่า 100,000 ตารางเมตร ซึ่งถือเป็นข้อได้เปรียบที่ส่งผลให้รากฐานของโครงการมีความมั่นคงและมีเสถียรภาพสูงเมื่อเปรียบเทียบกับอาคารทั่วไป
ด้วยสองส่วนนี้ทำให้โครงสร้างหลักของ วัน แบงค็อก มีทั้งความแข็งแรงและความมีเสถียรภาพ สามารถสร้างความมั่นใจว่าโครงสร้างหลักของอาคารจะไม่เกิดการวิบัติหรือทลายลงเมื่อเกิดแผ่นดินไหว นอกจากโครงสร้างชั้นใต้ดิน (Substructure) แล้ว โครงสร้างชั้นเหนือดิน (Superstructure) ยังถูกออกแบบให้เชื่อมตรงกับฐานรากที่แข็งแรงและมีความยืดหยุ่นในการรับแรงสั่นสะเทือน โดยทั้งสองส่วนนี้ทำงานร่วมกันเพื่อสร้างความมั่นคงและความปลอดภัยสูงสุดให้กับทุกอาคารภายในโครงการ วัน แบงค็อก
*สำหรับอาคารสูง เมื่อเกิดแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว อาจจะมีร่องรอยความเสียหายที่ไม่ได้เกิดจากโครงสร้างหลักปรากฎให้เห็นได้ เช่น รอยร้าวของงานผนังก่ออิฐต่าง ๆ ซึ่งไม่ได้มีผลต่อความแข็งแรงและเสถียรภาพของอาคารแต่อย่างใด
นอกจากนี้ วัน แบงค็อก ได้ออกแบบตามมาตรฐานการต้านทานแผ่นดินไหวอย่างเคร่งครัด ตามข้อกำหนด มยผ. 1301-54 และ มยผ. 1302-52 ที่กำหนดโดยกรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย เพื่อความปลอดภัยและความมั่นคงสูงสุดของอาคารและผู้ใช้อาคารทุกคน
Advertisement