จากดราม่า อินโฟกราฟิกเกณฑ์การจองตั๋วล่วงหน้า ของ การรถไฟแห่งประเทศไทย ทำให้เกิดกระแสคอมเมนต์กันสนั่นโลกโซเชียลจนทาง การรถไฟจำเป็นต้องลบอินโฟกราฟิก ก่อนออกมาชี้แจง ยืนยันของจริงไม่ซับซ้อน ยุ่งยาก อย่างที่หลายๆคนคิด ดังนั้นวันนี้ทาง Spotlight จะมาอธิบาย สมการการจองตั๋วล่วงหน้า จากการรถไฟแห่งประเทศไทย แบบเข้าใจง่ายไปดูรายละเอียดกันเลย
สืบเนื่องจากนโยบายของกระทรวงคมนาคมที่มอบหมายให้การรถไฟแห่งประเทศไทยเร่งเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการในทุกๆ ด้าน เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางสูงสุดแก่พี่น้องประชาชน การรถไฟฯ จึงได้น้อมรับนโยบายนำมาพัฒนาการให้บริการ โดยล่าสุดได้ขยายเวลาเปิดจองตั๋วโดยสารล่วงหน้าจากเดิม 30 วัน เพิ่มสูงสุดเป็น 90 วัน การขยายเวลาจองตั๋วล่วงหน้าครั้งนี้ เป็นการเริ่มนำร่องขบวนรถชุด 115 คัน จำนวน 8 ขบวน เฉพาะขบวนรถด่วนพิเศษ CNR และจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2566 เป็นต้นไป
ผู้โดยสารที่เดินทางน้อยกว่าร้อยละ 25 ของระยะทางขบวนรถ จะจองตั๋วล่วงหน้าได้แค่ 1 วัน
(ร้อยละ 25 อธิบายแบบง่ายๆ คือ ท่านเดินทางแค่ 25% ของระยะทางจากขบวนรถไฟ)
ผู้โดยสารที่เดินทางตั้งแต่ร้อยละ 25 ของระยะทางแต่ไม่ถึงร้อยละ 60 ของระยะทางขบวนรถ สามารถจองตั๋วล่วงหน้าได้ภายใน 30 วัน
ผู้โดยสารที่เดินทางร้อยละ 60 ของระยะทางขบวนรถขึ้นไป สามารถจองตั๋วล่วงหน้าได้ภายใน 90 วัน
เกณฑ์จองตั๋วล่วงหน้า 1 วัน
เกณฑ์จองตั๋วล่วงหน้า 30 วัน
เกณฑ์จองตั๋วล่วงหน้า 90 วัน
ตัวอย่างด้านบนทั้งหมดนี้ คือ เกณฑ์การจองตั๋วล่วงหน้าที่เริ่มใช้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ซึ่งผู้อ่านก็ไม่ต้องกังวลว่า เวลาเราจองตั๋วจะเป็นต้องคำนวณ % ปลายทางที่เราเดินไปหรือไม่ เพราะหากท่านจองผ่านระบบออนไลน์ ระบบก็จะทำการคำนวณรายละเอียดการจองให้ทันทีว่าสามารถจองได้ล่วงหน้าสูงสุดได้กี่วัน ส่วนการจองผ่านเคาน์เตอร์สถานีรถไฟ ก็เช่นเดียวกัน ท่านเพียงแจ้งที่สถานีต้นทาง-ปลายทาง เพียงเท่านี้ เจ้าหน้าที่จำหน่ายตั๋วก็จะแจ้งรายละเอียดให้ทราบเช่นกัน ไม่ต้องพกเครื่องคิดเลขไปให้ปวดหัวนะ
ท่านผู้โดยสาร สามารถตรวจสอบ ตำแหน่ง สถานะ และวันเวลาประมาณในการถึงจุดหมายปลายทาง ได้จาก ระบบ TTS (Train Tracking System)
สำหรับเส้นทางที่ การรถไฟ เลือกนั้นได้รับความนิยมสูงสุดทั้งสายเหนือ สายตะวันออกเฉียงเหนือ และสายใต้ ดังนี้
สายใต้ 2 ขบวน
สายเหนือ 2 ขบวน
สายตะวันออกเฉียงเหนือ เส้นอุบนราชธานี 2 ขบวน
สายตะวันออกเฉียงเหนือ เส้นหนองคาย 2 ขบวน
โดยการรถไฟจะเริ่มนำร่อง จำนวน 8 ขบวน ขบวนรถชุด 115 คัน จำนวน 115 คัน แยกประเภท ดังนี้
การรถไฟแห่งประเทศไทย ขอยืนยันอีกครั้งว่าขั้นตอนการจองตั๋วรถไฟนั้นไม่ยุ่งยาก ผู้โดยสารเพียงแจ้งสถานีต้นทางและสถานีปลายทางที่ต้องการเดินทาง ก็จะสามารถจองตั๋วล่วงหน้าได้ทันที ไม่ว่าจะจองผ่านระบบออนไลน์ D-Ticket หรือเคาน์เตอร์สถานีรถไฟทั่วประเทศ
เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับผู้โดยสารว่า การรถไฟแห่งประเทศไทยได้พัฒนาระบบการจองตั๋วรถไฟให้มีความสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้โดยสารที่ใช้บริการรถไฟ โดยจะไม่สร้างความลำบากแก่ผู้ใช้บริการแต่อย่างใด หรือหากผู้โดยสาร ต้องการสอบถามข้อมูลล่วงหน้าเพิ่มเติมติดต่อได้ที่ ศูนย์บริการลูกค้าสัมพันธ์ หมายเลขโทรศัพท์ 1690 ตลอด 24 ชั่วโมง