หลังจากครม.เมื่อวันที่ 28 พ.ย.66 มีมติอนุมัติในหลักการมาตรการส่งเสริมประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวและการใช้จ่ายตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ซึ่งหนึ่งในนั้นมีการเตรียมยกเลิกดิวตี้ฟรีขาเข้า เพื่อให้นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามาในประเทศไทย ได้เกิดการจับจ่ายใช้สอยภายในประเทศไทยแทน
วันนี้ (1 ธันวาคม 2566) นายลวรณ แสงสนิท ปลัดกระทรวงการคลัง ได้เรียกประชุมกรมศุลกากรและกรมสรรพสามิต เพื่อหารือความคืบหน้าในการดำเนินการตามมาตรการส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวและการใช้จ่ายในประเทศ ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2566 และในที่ประชุมได้มีการพิจารณารายละเอียดของมาตรการต่างๆ อย่างต่อเนื่อง อาทิ
นายลวรณ กล่าวว่า มาตรการดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวที่น่าดึงดูดสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยมุ่งเน้นไปที่การทำให้สินค้าและบริการในประเทศไทยมีความน่าสนใจและแข่งขันได้มากขึ้น ส่งผลให้นักท่องเที่ยวมีการใช้จ่ายในประเทศเพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ
การยกเลิกดิวตี้ฟรีขาเข้าเป็นมาตรการที่จะช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติให้เข้ามาใช้จ่ายเงินในประเทศไทยมากขึ้น โดยนักท่องเที่ยวต่างชาติจะมาจับจ่ายใช้สอยสินค้าในประเทศแทน ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสในการซื้อสินค้าอื่น ๆ นอกจากนี้หากเราพิจารณาลดภาษีเครื่องดื่ม ก็จะจูงใจให้นักท่องเที่ยวซื้อเครื่องดื่มตามร้านค้าในประเทศ ซึ่งจะสร้างเม็ดเงินหมุนเวียนระบบเศรษฐกิจไทย และ หากโครงสร้างภาษีเครื่องดื่มเป็นอัตราที่เหมาะสม จะทำให้คนไทยสามารถซื้อสินค้าเครื่องดื่มในราคาที่เหมาะสมอีกด้วย” นายลวรณ กล่าว
สำหรับมาตรการส่งเสริมประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวและการใช้จ่าย จะเป็นกลไกสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจและเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวให้กับประเทศ โดยมาตรการเหล่านี้จะช่วยส่งเสริมให้สินค้าไทยเป็นที่รู้จักและนิยมอย่างกว้างขวาง ดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติให้เดินทางมาประเทศไทยมากขึ้น และกระตุ้นการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวในประเทศไทยให้มากขึ้นกว่าเดิม
ขณะที่ราคาหุ้นของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ AOTตอบรับในเชิงลบกับข่าวนี้ ปิดตลาด (30 พ.ย.66) ที่ 59.50 บาท ลดลง 1.65% จากวันก่อนหน้า มีมูลค่าซื้อขาย 3,396.68 ล้านบาท ทั้งนี้ราคาหุ้น AOT ไหลลงลงราว 10 บาทต่อหุ้นแล้วจากต้นเดือน พ.ย.66 อยู่ที่ราว 68 บาท/หุ้น โดยเมื่อวันที่ 23 พ.ย.66ไหลลงแรงกว่า 3% เนื่องจากมีความวิตกกังวลต่อจำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่ไม่เป็นไปตามเป้า
มุมมองของบริษัทหลักทรัพย์ ทิสโก้ จำกัด ประเมินว่ามาตรการยกเลิกข้อเสนอผลิตภัณฑ์ปลอดภาษีสำหรับผู้โดยสารขาเข้า จะส่งผลกระทบเชิงลบต่อ AOT เป็นหลัก เนื่องจากมีความเสี่ยงต่อรายได้สัมปทานของคิง เพาเวอร์ที่มีต่อ AOT
เพราะว่า ปัจจุบัน คิง เพาเวอร์ จ่ายเงินให้ AOT ตามยอดใช้จ่ายต่อหัวที่สนามบินของ AOT จำนวน 5 แห่ง (ทุกสนามบินยกเว้นท่าอากาศยานดอนเมือง) สำหรับการขายสินค้าปลอดภาษี การคำนวณการใช้จ่ายต่อหัวจะขึ้นอยู่กับพื้นที่เชิงพาณิชย์ที่กำหนดให้กับคิง เพาเวอร์
มาตรการดังกล่าวอาจส่งผลให้ คิง เพาเวอร์ ขอแก้ไขสัญญา เพราะ มาตรการยกเลิกข้อเสนอผลิตภัณฑ์ปลอดภาษีของรัฐ จะส่งผลต่องยอดขายที่อาจเกิดขึ้นจากมาตรการดังกล่าว ทำให้ AOTอาจได้รับผลกระทบต่อรายได้สัมปทาน
สำหรับขนาดของผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น บล.ทิสโก้ คาดว่าจะจำกัดอยู่บ้าง เนื่องจากส่วนใหญ่การใช้จ่ายปลอดภาษีของนักท่องเที่ยวต่างชาติเกิดขึ้นที่การเดินทางออกมากกว่า ขาเข้ามาในไทย
ผลประกอบการย้อนหลัง 4 ปีของ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ AOT
ผลประกอบการย้อนหลัง 3 ปีของ บริษัท คิง เพาเวอร์ ดิวตี้ฟรี จำกัด
มาตรการที่ 2: การปรับปรุงโครงสร้างและอัตราภาษีสรรพสามิต
มาตรการที่ 3: การยกเลิกการจัดตั้งคลังสินค้าทัณฑ์บน
มาตรการที่ 4: การผ่อนปรนเวลาเปิดปิด
มาตรการที่ 5: การยกเว้นการตรวจลงตราเพื่อการท่องเที่ยว และสามารถพำนักอยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกิน 30 วัน
มาตรการส่งเสริมประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวและการใช้จ่าย จะเป็นกลไกสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจและเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวให้กับประเทศ โดยมาตรการเหล่านี้จะช่วยส่งเสริมให้สินค้าไทยเป็นที่รู้จักและนิยมอย่างกว้างขวาง ดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติให้เดินทางมาประเทศไทยมากขึ้น และกระตุ้นการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวในประเทศไทยให้มากขึ้นกว่าเดิม
ที่มา : กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ , SET และ บริษัทหลักทรัพย์ ทิสโก้ จำกัด