เป็นกระแสฮือฮาและโซเชี่ยลต่างพากันชื่นชมอย่างมากกับข่าวที่ "จุน วนวิทย์" และ ครอบครัว เจ้าของแบรนด์พัดลม "ฮาตาริ" หรือ Hatari ได้บริจาคเงินส่วนตัวก้อนโต 900 ล้านบาท ให้แก่มูลนิธิรามาธิบดีฯ
โดย SPOTLIGHT จะพารู้จักและเปิดอาณาจักรธุรกิจหมื่นล้าน ของพัดลมแบรนด์ "ฮาตาริ" หรือ Hatari ให้มากขึ้นว่าที่มาอย่างไร รวมถึงมีธุรกิจอะไรบ้างในกลุ่ม
จุดเริ่มของธุรกิจ"ฮาตาริ" มาจากการเป็นร้านซ่อมพัดลมร้านเล็กๆ มาก่อน โดยร้านซ่อมพัดลมก็มีลูกค้านำพัดลมมาซ่อมจำนวนมาก จากนั้น "จุน วนวิทย์" ผู้เป็นเจ้าของมีโอกาสได้ไปเรียนการพันมอเตอร์จากประเทศไต้หวัน และได้กลับมาผลิตพัดลมชิ้นส่วนพลาสติกพัดลมออกขายเอง โดยได้เริ่มก่อตั้ง บริษัท ฮาตาริ อิเลคทริค จำกัด ในปี 2533 เพื่อดำเนินธุรกิจรับจ้างผลิตพัดลมให้กับแบรนด์ญี่ปุ่นต่างๆ ก่อน
ขณะที่ในยุคนั้นโครงกรอบพัดลมส่วนใหญ่ทำด้วยโลหะอลูมิเนียม หลังจากที่ "จุน วนวิทย์" สะสมประสบการณ์ทำงานมาพอสมควรแล้ว จึงเกิดองค์ความรู้ในด้านการขึ้นรูปพลาสติกและการทำพัดลมโดยใช้พลาสติกแทนโลหะ ซึ่งในยุคนั้นตลาดพัดลมกับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่นำเข้ามาจากญี่ปุ่นกำลังได้รับนิยมอย่างมาก
จุน วนวิทย์ ผู้ก่อตั้งแบรนด์พัดลม Hatari
ดังนั้นทำให้ 'จุน วนวิทย์' ในวัย 52 ปี เห็นโอกาสตลาดขายพัดลมในเมืองไทยยังสามารถเติบโตได้อีก บวกกับยุคนั้นแทบยังไม่มีคู่แข่งในธุรกิจนี้ เพราะสินค้าพัดลมส่วนใหญ่เป็นสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ จึงตัดสินใจทำแบรนด์ผลิตพัดลมเอง
โดยใช้ชื่อแบรนด์ 'ฮาตาริ' เพื่อให้ดูเหมือนว่าเป็นสินที่นำเข้ามาจากญี่ปุ่นทำให้รู้สึกเป็นสินค้าคุณภาพดึ ถือเป็นจุดกำเนิดเริ่มผลิตพัดลมขายออกมาเป็นแบรนด์ Hatari ของคนไทยผลิตเอง ถือเป็นธุรกิจที่เรียกได้ว่าตอบโจทย์เมืองร้อนแบบเมืองไทยที่จะเห็นได้ว่าทุกบ้านต้องมีพัดลมติดบ้านไว้เพื่อคลายร้อน เพราะพัดถือเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าจำเป็นอีกชิ้นด้วยสภาพอากาศของไทยที่ฤดูร้อนยาวนานกว่าฤดูอื่น
นอกจากจะมีสินค้าเป็นของตัวเองแล้ว Hatari ยังรับผลิตชิ้นส่วนให้แบรนด์พัดลมแบรนด์อื่นๆ ด้วย ส่วนของ Hatari มีการใช้ชิ้นส่วนที่ตัวเองผลิตราว 90% หรือชิ้นส่วนทั้งหมดที่ประกอบขึ้นมาเป็นพัดลม 1 ตัวออกมานั้น มาจากโรงงานภายในเครือของ Hatari ทั้งหมด จนทำให้กลุ่มธุรกิจพัดลม Hatari ปัจจุบันทำรายได้รวมกันได้มากกว่า 1 หมื่นล้านบาทต่อปีเป็นที่เรียบร้อย เพราะสามารถผู้นำตลาดพัดลมและครองความนิยมในไทยมายาวนานกว่า 20 ปี
หากมาแบ่งธุรกิจพัดลม Hatari แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 ส่วน คือ การผลิตและการจัดจำหน่าย ผ่าน 2 บริษัทหลักๆ ในเครือ วนวิทย์ กรุ๊ป คือ
1.บริษัท ฮาตาริ อิเลคทริค จำกัด ผู้จัดจำหน่ายพัดลม Hatari ทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงให้บริการหลังการขายมีรายได้ปีมากกว่า 6,000 ล้านบาทต่อปี แต่ย้อนไปดูผลประการย้อนหลัง 3 ปี(ปี 2562-2564) มีดังนี้
2.บริษัท วนวิทย์ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด เป็นโรงงานผลิตพัดลม Hatari และ OEM ให้กับแบรนด์อื่นด้วย มีรายได้มากกว่า 4,000-5,000 ล้านบาท มีส่วนแบ่งการตลาดในผลิตภัณฑ์พัดลมในประเทศประมาณ 80% สามารถลดการนำเข้าพัดลมจากต่างประเทศได้เกือบทั้งหมดอีกด้วย ผลประการย้อนหลัง 3 ปี(ปี 2562-2564) มีดังนี้
ปัจจุบันสินค้า Hatari มีทั้งพัดลมเคลื่อนที่, พัดลมติดตั้ง, พัดลมอุตสาหกรรม, พัดลมระบายอากาศ, พัดลมไอเย็น และเครื่องฟอกอากาศ
รวมไปถึงมีการจำหน่ายชิ้นส่วนอะไหล่ เช่น ใบพัด, ฝาครอบใบพัด, แผ่นกรอง, เจลทำความเย็น เป็นต้น
นอกจากธุรกิจพัดลมแล้ว Hatari ยังขยายไปทำธุรกิจอื่นๆ ด้วย เช่น การจัดตั้ง บริษัท ฮาตาริ ไวร์เลสเพื่อดำเนินธุรกิจที่ปรึกษาซอฟต์แวร์ รวมไปถึงขาย-ให้เช่าระบบอุปกรณ์สื่อสาร
ด้วยการเติบโตที่ต่อเนื่องของธุรกิจของ Hatari เคยส่งผลให้ 'จุน วนวิทย์ ในปี ในปี 2559 ถูกจัดอันดับโดย Forbes Thailand ให้เป็นบุคคลที่รวยเป็นอันดับที่ 49 ของประเทศไทย ด้วยทรัพย์สินมูลค่ากว่า 14,810 ล้านบาท
แน่นอนว่าพัดลม Hatari สามารถทำรายได้ต่อปีทะลุ 1 หมื่นล้านบาท ส่วนหนึ่งคือคุณภาพของสินค้าซึ่งเป็นที่ยอมรับ แต่อีกประเด็นที่ Hatari มีความโดดเด่นคือ การทำการตลาดออกโฆษณาที่หลายๆ ชิ้นที่สามารถสร้างสรรค์ออกมาได้สนุกมีความทันสมัย
ยกตัวอย่างมีการเล่าเรื่องคุณสมบัติของพัดลมผ่านการ "แร็ป" ในโฆษณา จนทำให้เป็นที่จดจำของผู้บริโภคสามารถเรียกเสียงหัวเราะได้ทุกครั้งที่ได้ดูเป็นการตอกย้ำแบรนด์ให้ผู้บริโภครุ่นใหม่ๆ ได้รู้จักและสามารถจำชื่อ Hatari ได้แบบไม่เคยตกยุคเลย