Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
ผลวิจัย DNA พบ 62% หูฉลามที่ขายในไทย เป็นฉลามเสี่ยงสูญพันธุ์
โดย : อมรินทร์ทีวีออนไลน์

ผลวิจัย DNA พบ 62% หูฉลามที่ขายในไทย เป็นฉลามเสี่ยงสูญพันธุ์

10 ส.ค. 66
10:00 น.
|
755
แชร์

องค์กรไวล์เอด (WildAid) ร่วมกับทีมนักวิจัยสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กรมประมง และนักวิจัยอิสระ เผยผลการศึกษาดีเอ็นเอจากผลิตภัณฑ์หูฉลามที่ขายในไทยพบ ชนิดพันธุ์ฉลามส่วนใหญ่ (62%) มีสถานภาพเสี่ยงสูญพันธุ์ ออกแคมเปญชวนทุกคน #ฉลองไม่ฉลาม ในทุก ๆโอกาส 

สรุปผลวิจัยที่สําคัญ 

  • ผลการตรวจดีเอ็นเอในหูฉลาม หรือครีบปลาฉลาม 206 ตัวอย่าง ที่เก็บจากแหล่งค้าในหลายจังหวัด พบฉลามอย่างน้อย 15 ชนิดพันธุ์ 

  • ปลาฉลามส่วนใหญ่ (62%) ที่พบในหูฉลามที่ขายอยู่ในไทยมาจากฉลามที่เสี่ยงสูญพันธุ์ โดยมีสถานภาพถูกคุกคาม จากการจัดสถานภาพความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ตามบัญชีแดงขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ หรือ IUCN Red  List โดยพบฉลามที่มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ (VU) 6 ชนิดพันธุ์ ใกล้สูญพันธุ์ (EN) 4 ชนิดพันธุ์ และใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง (CR) 3 ชนิดพันธุ์ 

  • เมื่่อพิจารณาเฉพาะชนิดพันธุ์ที่พบการแพร่กระจายในประเทศไทยตามการประเมินชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคาม Thailand Red Data  โดยสํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) พบว่ากว่า 80% ของปลาฉลามที่พบในผลิตภัณฑ์ ครีบฉลาม ครั้งนีอยู่ในสถานภาพที่มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ (VU) 

  • พบฉลามที่ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง (CR) ทั้งระดับโลกและในไทยทีหลายคนรู้จัก เช่น ฉลามหัวค้อนสีนํ้าเงิน Scalloped  hammerhead (Sphyrna lewini) และ ฉลามหัวค้อนใหญ่ Great hammerhead (Sphyrna mokarran) ซึ่งอยู่ระหว่างการขึ้นทะเบียนเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองของไทย และเป็นชนิดพันธุ์ควบคุมในบัญชีหมายเลข 2ของอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่าง ประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์ หรือไซเตสอีกด้วย 
  • พบหูฉลามที่มีขนาดเล็ก มาจากปลาฉลามที่มีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง (CR) ใกล้สูญพันธุ์ (EN) และมีแนวโน้มใกล้สูญ พันธุ์ (VU) และมีโอกาสเป็นครีบจากฉลามวัยอ่อน 

  • ตลาดค้าหูฉลามในประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการนําเข้าผลิตภัณฑ์ครีบฉลามมาจากหลายแหล่ง ทําให้พบชนิดพันธุ์ฉลามที่ หลากหลาย โดยราว 1 ใน 3ของชนิดปลาฉลามที่พบในงานวิจัยเป็นฉลามที่ไม่ปรากฎพบในน่านนํำไทย 

    วิจัย DNA หูฉลาม
    © WildAid
หูฉลาม
© WildAid

 

นักวิจัยสจล. ร่วมกับกรมประมงเก็บตัวอย่างครีบปลาฉลาม ghi ตัวอย่างจากแหล่งค้าในหลายจังหวัด โดยผลการระบุชนิดพันธุ์ปลา ฉลามจากผลิตภัณฑ์หูฉลามทีพบค้าขายอยู่ใน ไทยโดยใช้เทคนิคชีวโมเลกุล พบฉลามอย่างน้อย 15  ชนิดพันธุ์ ซึงชนิดพันธุ์ของฉลามส่วน ใหญ่ (62%) ที่พบในหูฉลามที1ขายอยู่ในไทยมีสถานภาพถูกคุกคามจากการจัดสถานภาพความเสียงต่อการสูญพันธุ์ตามบัญชีแดงของ  IUCN Red List  ฉลามหางจุด หรือ Spottail Shark (Carcharhinus sorrah) พบในตัวอย่างหูฉลามเป็นสัดส่วนมากที่สุด มีสถานภาพใกล้ถูกคุกคาม (NT)  ในระดับโลก แต่มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ไปจากน่านน้ำไทยจากการประเมินใน Thailand Red Data 

นอกจากนี้พบปลาฉลามหัวค้อน สอง ชนิดพันธุ์ คือ ฉลามหัวค้อนสีนํ้าเงิน หรือ Scalloped Hammerhead Shark (Sphyrna lewini) และ ฉลามหัวค้อนใหญ่ หรือ Great  Hammerhead Shark (Sphyrna mokarran) ที่มีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง (CR) จากการประเมินสถานภาพในระดับโลก และใน ไทย ซึ่งทั้ง 2 ชนิดพันธุ์อยู่ระหว่างการขึ้นทะเบียนเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองของไทย 

ฉลามที่เสี่ยงสูญพันธ์ุ

งานวิจัยดังกล่าว ถือเป็นการศึกษาที่ระบุชนิดพันธุ์ปลาฉลามจากผลิตภัณฑ์หูฉลามครั้งแรกในประเทศไทย และได้รับการเผยแพร่ใน วารสาร Conservation Genetics โดยผลการศึกษาตอกย้าว่า หูฉลามในถ้วยซุปอาจมาจากฉลามที่กําลังเสี่ยงสูญพันธุ์ และยังสะท้อน  ว่าตลาดค้าครีบฉลามในประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการนําเข้าผลิตภัณฑ์ครีบฉลามมาจากหลายแหล่ง 

นอกจากนี้พบปลาฉลามที้มีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง ใกล้สูญพันธุ์ และมีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ ในครีบที่มีขนาดเล็กซึ่งมีโอกาสเป็นครีบจากฉลามวัยอ่อนอีก  ด้วย 

"การพบชนิดพันธุ์ฉลามที่มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ ไปจนถึงใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่งในผลิตภัณฑ์หูฉลามที่ขายอยู่ในไทย สะท้อนให้เห็นถึงการ ใช้ประโยชน์จากฉลาม โดยเฉพาะชนิดพันธุ์ที่ต้องการการอนุรักษ์อย่างเร่งด่วน และการพบชนิดพันธุ์ที่มีสถานภาพถูกคุกคาม ตาม IUCN  Red List ในครีบขนาดเล็ก ทําให้ต้องมีการศึกษาการใช้ประโยชน์จากฉลามวัยอ่อนต่อไป เนื่องจากปลาฉลามวัยอ่อนจะเป็นกลุ่ม ประชากรที่สําคัญในการฟื้นตัวของประชากรปลาฉลามในอนาคตผศ.ดร.วัลย์ลดา กลางนุรักษ์ ผู้วิจัยและอาจารย์ประจําภาควิชา เทคโนโลยีการผลิตสัตว์และประมง คณะเทคโนโลยีการเกษตร สจล. กล่าว 

ฉลามถูกล่า นำชิ้นส่วนมาเป็นอาหารบริโภค

ฉลามกำลังจะสูญพันธ์

ปัจจุบัน 1ใน 3 ของชนิดพันธุ์ปลาฉลามและกระเบนทั่วโลกตกอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์จากการทําประมงมากเกินขนาด เพราะ ความต้องการนําทุกชิ้นส่วนไปบริโภค สอดคล้องกับการลดลงของประชากรฉลามในหลายส่วนทั่วโลก  นอกจากนีผลการสํารวจความ ต้องการบริโภคหูฉลามในประเทศไทยโดยองค์กรไวล์ดเอดปีพ.ศ.2560 พบคนไทยในเขตเมืองทั่วประเทศมากกว่า 60% ต้องการบริโภคหู ฉลามในอนาคต เพราะความอยากรู้ อยากลอง และค่านิยมเดิม ๆ ของการบริโภคเมนูจากฉลามในงานฉลอง 

ในช่วง 20ปี มานี้งานวิจัยหลายชิ้นเห็นตรงกันว่า ประชากรฉลามหลายชนิดลดลงอย่างมากทั่วโลกรวมถึงในไทย จากอัตราการจับและ การใช้ประโยชน์จากปลาฉลามที่มากเกินกว่าความสามารถในการฟื้นตัวของประชากรพวกมันในท้องทะเล ผลของงานวิจัยชิ้นนี้ยังช่วย ยืนยันว่า ประเทศไทยเป็น 1ในผู้เล่นสําคัญในการนําเข้าและส่งออกหูฉลามในภูมิภาค สอดคล้องกับรายงานฉบับอื่นที่พูดถึงบทบาทการ กระจายผลิตภัณฑ์หูฉลามของไทยในท้องตลาดในระดับสากล ถึงแม้ว่าในปัจจุบันการจับฉลามมาตัดครีบเป็นๆก่อนทิ้งร่างกายที่เหลือ ลงทะเลจะลดน้อยลงมากแล้ว ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่หูฉลามจํานวนมาก มาจากฉลามที่ถูกจับจากเครื่องมือประมงทั่วไปก็ตาม  แต่ก็ปฏิเสธได้ยากถึงบทบาทของอุตสาหกรรมหูฉลามที่ส่งผลต่อประชากรปลาฉลามหลายชนิดที่ถูกคุกคามจนเสี่ยงต่อการสูญพันธ์ และกระทบโครงสร้างของประชากรปลาฉลามไปแล้วหลายชนิดในอดีตรอบโลกนายศิรชัย อรุณรักษ์ติชัย ช่างภาพสื่อมวลชน  นักวิทยาศาสตร์ทางทะเล และทีมนักวิจัย กล่าว 

การบริโภคของเราทุกคนจึงมีส่วนกําหนดชะตากรรมของฉลามหลายชนิดและย่อมส่งผลกระทบต่อเนื่องถึงความสมดุลของท้องทะเลในที1สุด จริงๆแล้วการบริโภคที่ยั่งยืนเริ่มต้นได้ ง่ายทีสุดด้วยการหยุดบริโภคฉลามโดยเด็ดขาดดร. เพชร มโนปวิตร นักวิทยาศาสตร์ด้านการอนุรักษ์ ที1ปรึกษาองค์กรไวล์ดเอด และผู้ ร่วมเขียนงานวิจัยกล่าว 

social1

“ฉลามเป็นสัตว์น้ำที่มีความสําคัญอย่างมากในการรักษาสมดุลของระบบนิเวศทางทะเล กรมประมงตระหนักถึงความสําคัญนี้และเป็น หน่วยงานหลักในการจัดทําและขับเคลื่อน แผนปฏิบัติการแห่งชาติเพื่อการอนุรักษ์และบริหารจัดการฉลาม ของประเทศไทย (NPOA Sharks) เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดําเนินงานด้านบริหารจัดการทรัพยากรและการอนุรักษ์ฉลาม ร่วมกับหน่วยงานทุกภาคส่วน ซึ1งรวมถึง การเก็บข้อมูลฉลามจากการส่งออกและนําเข้า และผลิตภัณฑ์แปรรูปจากฉลาม กรมประมงยืนยันว่าจะให้ความสําคัญกับมาตรการเพื่อ ควบคุมติดตามและตรวจสอบการค้าฉลามชนิดพันธุ์ที1อยู่ในบัญชีของอนุสัญญาไซเสเพือการใช้ประโยชน์จากฉลามอย่างยั่งยืนต่อไป“   นายเฉลิมชัย สุวรรณรักษ์ อธิบดีกรมประมง กล่าว 

ข้อมูลจาก WildAid 

แชร์
ผลวิจัย DNA พบ 62% หูฉลามที่ขายในไทย เป็นฉลามเสี่ยงสูญพันธุ์