ฤดูฝนเป็นช่วงที่มีความชื้นในอากาศสูง ทำให้มีการเจริญเติบโตของเชื้อราและเชื้อแบคทีเรีย ส่งผลให้เกิดโรคผิวหนังตามมาได้ง่ายมาก ๆ เช่น
มีลักษณะเป็นผื่นแดงแห้งๆ ออกน้ำตาล มักเกิดในบริเวณที่อับชื้นซึ่งเป็นบริเวณที่เหมาะสมของการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย เช่น รักแร้ ขาหนีบ ฝ่าเท้า และซอกนิ้วเท้า โรคที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ ได้แก่ โรคเท้าเหม็น( Pitted Keratolysis) เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียบริเวณผิวหนังชั้นนอก มีอาการเท้าแห้งลอก เท้าจะเหม็นมากกว่าคนทั่วไป มีหลุม รูพรุนเล็กๆบริเวณฝ่าเท้าและง่ามเท้า
เกิดจากการระคายระคายเคืองของผิวหนังจากความอับชื้น และสัมผัสสิ่งสกปรกต่างๆ ในบริเวณน้ำท่วมขังหลังเกิดฝนตก ทำให้เกิดผื่นตามเท้า และซอกนิ้วเท้า ในบางรายอาจมีอาการติดเชื้อรา หรือเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย
เป็นโรคที่พบได้ทุกฤดู แต่มักจะมีอาการมากขึ้นหากอุณหภูมิและความชื้นของอากาศเปลี่ยนแปลงไป สังเกตได้ว่าจะมีผื่นแดง แห้งลอก มีอาการคันมากที่บริเวณข้อพับแขน ข้อพับขา ใบหน้า แขน ขา ซอกคอ
ในฤดูฝนจะมีการเพิ่มจำนวนของแมลงหลากหลายชนิด เช่น ยุง หมัด ไร ด้วงก้นกระดก หากโดนหรือสัมผัสเข้า อาจทำให้เกิดเป็นผื่นผิวหนังอักเสบได้
หากมีอาการตามที่กล่าวมาข้างต้น ควรรีบมาพบแพทย์ เพื่อได้รับการวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้อง
พญ.ดวงกมล ทัศนพงศากุล
แพทย์ประจำศูนย์ผิวหนังและความงาม โรงพยาบาลเวชธานี
อ่านประวัติเพิ่มเติม คลิก
Advertisement