สธ. เผยเชื้อ HIV ระบาดต่อเนื่อง คาดผู้ติดเชื้อไม่รู้ว่าตนเองติดเชื้อ ข้อมูลล่าสุด ปี 2568 ติดเชื้อรายใหม่เกือบ 9 พันราย เสียชีวิตเกินหมื่นคนแล้ว
กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์ว่า ปัจจุบัน การติดเชื้อ HIV ยังคงแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าผู้ติดเชื้อ HIV ยังไม่ทราบสถานะติดเชื้อของตนเอง และยังไม่ได้เข้าสู่ระบบการรักษา ทำให้คนเหล่านี้ สามารถถ่ายทอดเชื้อไปยังคู่นอนต่อไปได้
ทั้งนี้ ในปี 2568 มีการคาดว่าจะมีผู้ติดเชื้อรายใหม่ จำนวน 8,862 คน โดยการติดเชื้อรายใหม่นั้น ส่วนใหญ่ร้อยละ 60 เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างชายกับชาย มีผู้เสียชีวิตจากโรคเอดส์ จำนวน 10,217 คน และมีผู้ติดเชื้อ HIV สะสมยังคงมีชีวิตอยู่ จำนวน 568,565 คน
สำหรับผู้ที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน หรือไม่สวมถุงยางอนามัย ควรปฏิบัติตามที่ สธ. แนะนำ โดยการรับยา PEP Post-Exposure Prophylaxis ซึ่งจะต้องเริ่มรับประทานยาภายใน 72 ชั่วโมง หรือภายใน 3 วัน หลังมีความเสี่ยง และรับประทานติดต่อกันนาน 28 วัน เพื่อป้องกันการติดเชื้อ HIV ตามคำแนะนำจากแพทย์ เนื่องจากมีรายละเอียดในเรื่องของวิธีการใช้
ข้อมูลจาก สสส. ระบุว่า ถุงยางอนามัยสามารถช่วยป้องกัน ทั้งการท้องไม่พร้อมและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ 98% มีประสิทธิภาพสูงกว่าวิธีอื่นๆ เมื่อใช้อย่างถูกวิธี
1. ใช้ถุงยาง 2 ชั้น ปลอดภัยกว่า ❌
ความจริง : การใส่ถุงยาง 2 ชั้นทำให้เกิดแรงเสียดทานระหว่างกัน อาจทำให้ถุงยางขาดง่ายขึ้น!
2. ใส่ถุงยางเมื่อจะหลั่งก็พอ ❌
ความจริง : ต้องใส่ตั้งแต่ก่อนสอดใส่ เพราะมีน้ำหล่อลื่นที่อาจมีอสุจิอยู่ได้ และยังช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ด้วย
3. ถุงยางไม่จำเป็นถ้าคุมกำเนิดด้วยวิธีอื่น เช่น ยาคุม ❌
ความจริง : ยาคุมช่วยป้องกันการตั้งครรภ์เท่านั้น แต่ไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STDs) ได้
4. ถุงยางขาดง่าย จึงไม่เชื่อถือได้ ❌
ความจริง : ถุงยางที่ผลิตได้มาตรฐานแทบจะไม่ขาดเลย หากใช้อย่างถูกต้อง (ไม่หมดอายุ ไม่เก็บในที่ร้อน และใส่อย่างถูกวิธี)
5. ไม่มีขนาดที่พอดีตัว ❌
ความจริง : ถุงยางมีหลายขนาด เลือกให้พอดีกับตัวได้ ไม่หลวม ไม่แน่นเกินไป เพื่อให้ปลอดภัยและสบายที่สุด
7. ผู้หญิงไม่ต้องพกถุงยาง ผู้ชายเป็นคนรับผิดชอบ ❌
ความจริง : การป้องกันเป็นหน้าที่ของทุกคน ทุกเพศควรสามารถพกและเสนอใช้ถุงยางได้ เพื่อความปลอดภัยของตัวเอง
Advertisement