ปอร์เช่ (Porsche) เดินหน้าอย่างเต็มที่ในการใช้ระบบขับเคลื่อนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาใช้ในการขนส่งสินค้าร่วมกับพันธมิตรด้านโลจิสติกส์ โดยการนำรถบรรทุกไฟฟ้าขนาดใหญ่ (HGV) จำนวน 6 คัน มาใช้ในโรงงานซุฟเฟนเฮาเซ่น (Zuffenhausen), ไวส์ซาค (Weissach) และไลพ์ซิก (Leipzig) ซึ่งรถยนต์เหล่านี้ทำหน้าที่ขนส่งวัสดุการผลิตไปทั่วโรงงาน โดยทำงานร่วมกับกองทัพรถบรรทุก HGV ที่ใช้ก๊าซชีวภาพจำนวน 22 คันที่มีอยู่เดิม นอกจากนี้ยังมีรถบรรทุกไฟฟ้าขนาดใหญ่ (HGV) รุ่นใหม่ ทำหน้าที่ส่งมอบรถยนต์รุ่นใหม่ไปยังประเทศสวิตเซอร์แลนด์จากโรงงานซุฟเฟนเฮาเซ่น (Zuffenhausen) นอกจากนี้บริษัทยังอยู่ในระหว่างการทดสอบการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงสังเคราะห์ (HVO100) จากการทดลองในระยะเวลาหลายปี ภายใต้การกำกับดูแลทางวิทยาศาสตร์ของสถาบันเทคโนโลยีคาร์ลสรูเฮอ (KIT) โดยจะนำรถบรรทุกขนาดใหญ่จำนวน 12 คันจากจำนวนที่มีอยู่ มาเปลี่ยนใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทน
นอกเหนือจากการขยายกลุ่มยานยนต์ HGV แบบพลังงานไฟฟ้าแล้ว ปอร์เช่ (Porsche) ยังได้ริเริ่มโครงการนำร่องการใช้เชื้อเพลิงดีเซลสังเคราะห์ (Hydrotreated Vegetable Oil: HVO100) ในบรรดารถบรรทุกที่มีอยู่เดิมตั้งแต่ปี 2020 โดยร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีคาร์ลสรูเฮอ (Karlsruhe Institute of Technology: KIT) และMüller – Die lila Logistik บริษัทโลจิสติกส์ ใช้รถบรรทุก HGV จำนวน 12 คัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ เชื้อเพลิง HVO100 ของ NESTE ที่ผลิตจากเศษวัสดุเหลือใช้และขยะ และเป็นไปตามข้อกำหนดปัจจุบันของ Renewable Energy Directive II (RED II) จากการใช้งานจริง เชื้อเพลิงนี้แสดงผลลัพธ์ที่น่าประทับใจ ไม่มีการระบุข้อเสียใดๆ เมื่อเปรียบเทียบกับน้ำมันดีเซลทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นอัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงหรือประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ จนถึงปัจจุบัน โครงการนี้มีการขับรถบรรทุกไปแล้วกว่าหนึ่งล้านกิโลเมตร ซึ่งจากการวัดอย่างเป็นทางการโดยสถาบัน KIT พบว่าสามารถลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากกว่า 800 ตัน โดยมีการทดสอบใช้รถบรรทุกไฟฟ้าวิ่งขนส่งบนเส้นทางเดียวกันกับรถบรรทุกที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซล ซึ่งรถบรรทุกทุกคันจะเป็นยานพาหนะที่ไม่มีการดัดแปลงใดๆ เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลและประเมินว่ารถบรรทุกไฟฟ้าเหมาะสมกับการให้บริการขนส่งในเขตพื้นที่สตุ๊ตการ์
ตัวอย่างที่มีมากมายในการใช้รถบรรทุก HGV แบบก๊าซชีวภาพและไฟฟ้า หรือโครงการนำร่องที่เกี่ยวข้องกับเชื้อเพลิงทางเลือก เหล่านี้ล้วนเป็นเครื่องพิสูจน์ถึงความมุ่งมั่นของ ปอร์เช่ (Porsche) ในการบริหารจัดการระบบขนส่งสินค้าอย่างจริงจัง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกที่ตั้งไว้ ซึ่งรวมถึงการขนส่งทางรถไฟ ที่ใช้สำหรับการส่งชิ้นส่วนและอุปกรณ์ไปยังโรงงานหรือขนส่งรถยนต์ใหม่ไปยังท่าเรือ เพื่อเตรียมการส่งออกไปยังปลายทางนอกยุโรป นอกจากนี้ในส่วนของกระบวนการผลิตยานยนต์นั้น ก็ยังมีส่วนในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนด้วยเช่นกัน โดยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 การผลิตรถยนต์ที่โรงงานของปอร์เช่ในเมืองซุฟเฟนเฮาเซิน และเมืองไลพ์ซิก มีผลคาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นกลางตลอดทั้งห่วงโซ่ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด และยังใช้ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแหล่งพลังงานหมุนเวียนอีกด้วย