Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
สำหรับคุณแม่หรือว่าที่คุณแม่ที่ต้องขับรถยนต์ ขับขี่อย่างไรให้ปลอดภัย
โดย : อมรินทร์ นิวส์ - ยานยนต์

สำหรับคุณแม่หรือว่าที่คุณแม่ที่ต้องขับรถยนต์ ขับขี่อย่างไรให้ปลอดภัย

7 ส.ค. 67
16:00 น.
|
392
แชร์

ในวันแม่ที่จะมาถึงนี้ มีเคล็ดลับการใช้รถบนถนนอย่างปลอดภัยสำหรับคุณแม่ และเด็ก หรือว่าที่คุณแม่ที่ต้องปฏิบัติภารกิจมากมายในชีวิตประจำวัน เริ่มตั้งแต่การขับรถพาบุตรหลานไปโรงเรียน หรือสถานเลี้ยงเด็ก ตลอดจนการเดินทางไปทำงานและซื้อของใช้ในครอบครัวต่างๆ 

คุณแม่ที่ตั้งครรภ์

เราสามารถปกป้องเด็กทารกได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ โดยคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ควรได้รับการปกป้องอย่างเหมาะสมเมื่อนั่งในรถ แพทย์แนะนำว่าสตรีมีครรภ์ควรคาดเข็มขัดนิรภัยตลอดเวลาไม่ว่าจะนั่งอยู่ที่เบาะหน้าหรือเบาะหลัง การคาดเข็มขัดนิรภัยจะอยู่ที่บริเวณหน้าตัก พาดที่สะโพกและเชิงกราน โดยให้สายเข็มขัดอยู่บริเวณใต้หน้าท้อง ห้ามคาดเข็มขัดไว้ที่หน้าท้องหรือบริเวณสูงกว่า ขณะที่สายเข็ดขัด ส่วนไหล่ควรจะพาดที่หน้าอกและห้ามพาดไว้ด้านหลัง

ถึงแม้รถทั่วไปจะมีถุงลมนิรภัยเหมือนกับทุกรุ่น การคาดเข็มขัดนิรภัยจะสามารถปกป้องสตรีและทารกในครรภ์ได้ดีที่สุดในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ หากไม่คาดเข็มขัดนิรภัย ตัวผู้โดยสารอาจถูกเหวี่ยงเข้าใส่ถุงลมนิรภัยที่ออกมาทำงานอย่างฉับพลันและรุนแรง นอกจากนี้แพทย์ยังแนะนำว่าสตรีมีครรภ์ที่ ขับรถด้วยตนเองควรจะเปิดสวิทช์ให้ถุงลมนิรภัยทำงาน เพื่อให้ทั้งเข็มขัดนิรภัยและถุงลมช่วยปกป้องได้ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ

สตรีมีครรภ์ควรปรับเบาะที่นั่งให้ห่างจากพวงมาลัยหรือแผงแดชบอร์ดให้มากที่สุดเพื่อลดแรงกระแทกกรณีถุงลมนิรภัยทำงาน อย่างไรก็ตามควรระมัดระวังไม่ให้นั่งในระยะห่างมากเกินไปจนสูญเสียประสิทธิภาพในการควบคุมพวงมาลัย สตรีมีครรภ์ที่ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ควรพบแพทย์ทันทีถึงแม้จะไม่มีบาดแผลใดๆ

เมื่อเด็กอยู่ในรถ

ตั้งแต่แรกเกิด เด็กทารกจำเป็นต้องมีเบาะที่นั่งเป็นของตัวเองซึ่งไม่ใช่เบาะที่นั่งในรถยนต์ โดยการติดตั้งเบาะที่นั่งเด็กจะหันไปทางด้านท้ายรถและยึดกับเบาะหลังจนกว่าเด็กจะมีอายุ 1 ปี และมีน้ำหนักตัวอย่างน้อย 9 กก.

เด็กเล็กที่มีอายุระหว่าง 1 – 4 ปี และมีน้ำหนักตัวระหว่าง 9 – 18 กก. ควรนั่งในเบาะที่นั่งเด็กที่ติดตั้งอยู่ที่เบาะหลังโดยหันไปทางด้านท้ายรถ จนกว่าเด็กจะโตพอที่จะนั่งในเบาะที่นั่งที่หันไปด้านหน้ารถ

เด็กที่มีอายุตั้งแต่ 4 ปี และมีน้ำหนักตัว 18 กก. ขึ้นไป จนถึงอายุ 8 ปี และมีส่วนสูง 145 ซม. ควรนั่ง ในเบาะที่นั่งเด็กที่ติดตั้งบริเวณแถวหลัง เด็กที่มีอายุ 8 ปีขึ้นไปสามารถนั่งที่เบาะหลังของรถยนต์ได้ตามปกติจนถึงอายุ 12 ปี ทั้งนี้ผู้โดยสารทุกที่นั่งควรคาดเข็มขัดนิรภัยอยู่เสมอ

การติดตั้งเบาะที่นั่งเด็กที่ถูกต้อง ยังสามารถตรวจสอบในคู่มือประจำรถได้อีกด้วย

กันเด็กเปิดประตู

เมื่อจัดให้เด็กนั่งอยู่ในเบาะที่นั่ง Car Seat เรียบร้อยแล้ว ควรใช้ตัวล็อกนิรภัยสำหรับเด็กที่เป็นอุปกรณ์อีกตัวหนึ่ง รถยนต์บางรุ่นอาจจะติดตั้งมาให้ เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กเปิดประตูออกจากภายในรถด้วยตนเอง

เก็บของเข้าที่

สิ่งของขนาดเล็กต่างๆ เช่น ของเล่นพลาสติก หรือสิ่งของขนาดใหญ่ เช่น เครื่องใช้ในบ้าน ควรเก็บให้พ้นมือเด็ก เนื่องจากเด็กอาจนำเข้าปากและอาจเป็นอันตรายได้เมื่อเกิดอุบัติเหตุ สิ่งของเหล่านั้นควรเก็บไว้ท้ายรถหรือถ้ามีขนาดเล็กสามารถเก็บไว้ที่คอนโซลกลางหรือลิ้นชักหน้ารถ

เก็บกุญแจให้พ้นมือเด็ก ไม่ทิ้งเด็กไว้ในรถ

ควรเก็บกุญแจและรีโมทประตูให้พ้นมือเด็ก เนื่องจากเด็กอาจนำเข้าปากและถือเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญ ขณะเดียวกันไม่ควรปล่อยให้เด็กอยู่ในรถตามลำพัง ควรตรวจสอบเบาะหลังก่อนออกจากรถทุกครั้งเพื่อให้แน่ใจว่าไม่ทิ้งเด็กไว้ภายในรถ

ของเล่นระหว่างการเดินทาง

ถ้าเด็กที่นั่งอยู่เบาะหลังมีของเล่นที่ทำจากผ้า หนังสือปกอ่อน เพลงหรือวีดีโอ เด็กจะมีแนวโน้มที่จะรบกวนสมาธิผู้ขับขี่น้อยลง ถ้ามีเด็กมากกว่าหนึ่งคนภายในรถ ขอให้แน่ใจว่าเด็กมีของเล่นของตัวเอง ซึ่งจะทำให้เด็กเล่นซนด้วยกันน้อยลง ขณะที่ผู้ขับขี่ก็จะมีสมาธิมากขึ้น

ไม่ใช้โทรศัพท์ขณะขับรถ

การคุยโทรศัพท์หรือส่งข้อความขณะขับรถอาจทำให้เกิดอันตรายได้ ผู้ขับขี่ควรมีสมาธิในการขับรถ ถ้าจำเป็นต้องใช้โทรศัพท์ ส่งข้อความหรือช่วยเหลือเด็กขณะขับรถ ควรรอจนกว่าจะสามารถจอดรถอย่างปลอดภัยหรือเดินทางถึงจุดหมาย ในกรณีที่มีความจำเป็น ระบบอินโฟเทนเมนท์ หรือระบบช่วยเหลือที่ติดตั้งในรถ จะช่วยให้ผู้ขับขี่สามารถใช้โทรศัพท์แบบแฮนด์ฟรีได้

ระวังเด็กวิ่งลงถนน

ควรระมัดระวังคนเดินวิ่ง หรือเดินบนถนนอยู่เสมอ โดยเฉพาะเมื่อขับขี่อยู่ในเขตโรงเรียนหรือบนถนนที่มีรถจอดอยู่สองข้างทางซึ่งเด็กอาจวิ่งออกมาบนถนนอย่างไม่คาดคิดหรือบริเวณที่จอดรถของห้างสรรพสินค้าซึ่งเด็กอาจเดินอยู่ด้านหน้าหรือหลังรถ ควรถอยรถออกจากช่องจอดช้าๆ พร้อมมองกระจก และกล้องถอยหลังอยู่เสมอ

แชร์
สำหรับคุณแม่หรือว่าที่คุณแม่ที่ต้องขับรถยนต์ ขับขี่อย่างไรให้ปลอดภัย