Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
งีบกี่นาที ดีต่อสุขภาพ ไขคำตอบชาวออฟฟิศ ควรงีบระหว่างวันที่กี่นาที ?

งีบกี่นาที ดีต่อสุขภาพ ไขคำตอบชาวออฟฟิศ ควรงีบระหว่างวันที่กี่นาที ?

27 ส.ค. 67
18:09 น.
|
933
แชร์

ไขคำตอบชาวออฟฟิศ ทำงานหนักจนนอนไม่พอ เพื่อประสิทธิภาพการทำงาน งีบกี่นาที ดีต่อสุขภาพ ควรงีบระหว่างวันที่กี่นาที ?

นอนไม่พอ นอนไม่เต็มอิ่ม อดนอน อาการหลักของชาวออฟฟิศ ที่เรียกได้ว่าทำงานหนักแล้ว ยังต้องตื่นมาทำงานต่อในวันถัดมา จนเป็นเหตุผลที่นาฬิกาชีวิตสรวน แต่จริงหรือไม่กับคำที่ว่า "การงีบเพียง 10 นาที จะสามารถช่วยให่สมองและร่างกาย สามารถทำงานต่อไปได้ถึง 3 ชั่วโมง" วันนี้ Amarin Online จะพาไปไขคำตอบความลับนี้ แล้วถ้าการงีบช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานจริง ๆ มนุษย์ทำงานต้อง งีบกี่นาที ถึงจะดีต่อสุขภาพ ?

บทความนี้ถูกเผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ thestandard ที่ได้หยิบงานวิจัยเรื่องการงีบมานำเสนอ โดยงานวิจัยชิ้นนี้ได้รับการเผยแพร่ลงวารสารวิชาการ Sleep Health โดยคณะนักวิจัยจาก University College London (UCL) และ University of the Republic ในอุรุกวัย โดยเป็นการรวบรวมข้อมูลจากประชาชนจำนวน 500,000 คนที่มีอายุ 40-69 ปี เพื่อดูว่าการงีบหลับตอนกลางวันที่เป็นนิสัยของกลุ่มทดลอง มีส่วนเชื่อมโยงกับปริมาณเนื้อสมอง ความรู้ ความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ และสุขภาพสมองด้านอื่นๆ ด้วยหรือไม่

สืบเนื่องมาจากงานวิจัยที่เคยเปิดเผยว่า การงีบหลับอาจเป็นจุดเริ่มต้นของโรคอัลไซเมอร์ อ้างอิงข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ The Guardian รายงานว่า การงีบหลับระหว่างวัน ช่วยยกระดับความเรียนรู้ของมนุษย์ได้ โดยพบหลักฐานที่บ่งชี้ว่า "การงีบหลับระหว่างวันอาจช่วยป้องกันการหดตัวของสมอง มีส่วนเชื่อมโยงกับการที่เนื้อสมองของมนุษย์เพิ่มขึ้น ที่อาจบ่งชี้ว่าการงีบหลับเป็นประจำ ช่วยป้องกันการเสื่อมของระบบประสาท เพราะมีส่วนช่วยในการชดเชยการนอนที่ไม่ดีในช่วงกลางคืน"

 

การนอนงีบระหว่างวัน ช่วยส่งผลเรื่องการทำงาน
การงีบ (Take a nap) หรือ การนอนหลับในช่วงสั้น ๆ เพื่อชดเชยการนอนที่ไม่เพียงพอ มีผลต่อสุขภาพทั้งร่างกายและสมอง เพราะเป็นการพักที่ช่วยให้ร่างกายตื่นตัว ลดความตึงเครียดในสมอง ช่วยให้อารมณ์ไม่แปรปรวน และยังมีส่วนช่วยให้ร่างกายมีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิม

Satoru Tsubota แพทย์ด้านการแพทย์สมาคมวิจัยการนอนหลับแห่งประเทศญี่ปุ่น ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับกว่า 20 ปี กล่าวว่า "หากง่วงนอนและไม่มีสมาธิทำงาน ให้งีบหลับสัก 15-20 นาที เพื่อพักสมองและทำให้สมองรีเฟรชมากขึ้น ซึ่งจะไม่ส่งผลต่อการนอนตอนกลางคืน เพียงแค่หลับตาและปิดกั้นข้อมูล จะช่วยพักสมองและช่วยให้ทำงานให้สำเร็จลุล่วง"

การงีบแสดงถึงการบรรเทาความเมื่อยล้าของสมอง ที่มีส่วนช่วยเพิ่มความจำ เพิ่มความคิดสร้างสรรค์รวมถึงความสามารถทางการคิดและสมาธิ ความง่วงนอนตอนกลางวันเป็นสัญญาณของความล้า เนื่องจากการทำงานที่ลดลง จึงเป็นเรื่องยากที่จะสร้างความคิดใหม่ ๆ นอกจากนี้ยังช่วยให้เด็กนักเรียนที่เรียนตลอดทั้งวัน ช่วยมีสมาธิในการเรียนอีกด้วย

 

ไขคำตอบ งีบกี่นาที ดีต่อสุขภาพ

  • นอนหลับ 10 – 20 นาที : ช่วยเพิ่มพลังงานและคืนความสดชื่น กระปรี้กระเปร่า สมองโปร่ง
  • นอนหลับ 30 นาที : ถือเป็นเวลานอนที่ไม่เป็นผลดีกับร่างกาย เพราะจะยังคงรู้สึกง่วง มึนงง เหมือนกับนอนไม่พอ และยังคงไม่พร้อมที่จะทำงาน และต้องใช้เวลาอีก 30 นาที อาการนี้จึงจะหายไป
  • นอนหลับ 60 นาที : เป็นช่วงที่ดีต่อความจำ เป็นการหลับลึกที่ยังคงความง่วง แต่สมองสามารถเพิ่มความจำได้
  • นอนหลับ 90 นาที : เป็นการนอนที่ครบรอบที่ช่วยให้อารมณ์ดี มีความคิดสร้างสรรค์ และไม่งัวเงียเหมือนช่วง 30 หรือ 60 นาที

 

ข้อดีของการงีบ การพักสายตาระหว่างวัน

  • เกิดการตื่นตัวด้านสมองและร่างกายในการทำงาน
  • ลดความเครียดหรือความหงุดหงิด ช่วยผ่อนคลายสมอง
  • ทำให้สมองมีประสิทธิภาพในการจำเพิ่มขึ้น
  • ช่วยให้การเรียนรู้ และการคิดสร้างสรรค์ มีประสิทธิภาพขึ้น

นอกจากนี้แล้ว การงีบยังช่วยให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้น เพราะช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนในร่างกาย การงีบเพียง 10 นาที จะสามารถตื่นตัวพร้อมที่จะทำงานต่อไปได้อีก 3 ชั่วโมง อีกทั้งยังมีข้อมูลที่บอกอีกว่า การใช้เวลางีบระหว่างวันเกินกว่า 30-45 นาที และการงีบในช่วง 11.00 น. นอกจากจะไม่ส่งผลดีกับร่างกายแล้ว ยังก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพตามมา จนทำให้เกิดเป็นวัฏจักรนอนไม่หลับอีกด้วย

 

ที่มา : สสส. (thaihealth.or.th) / thestandard (thestandard.co) / SUIMI (suimisleep.com)

Advertisement

แชร์
งีบกี่นาที ดีต่อสุขภาพ ไขคำตอบชาวออฟฟิศ ควรงีบระหว่างวันที่กี่นาที ?