ภาวะ Overwhelmed ความท่วมท้นภายในใจ ส่งผลเสียต่อการทำงาน

19 ก.ย. 67

ภาวะ Overwhelmed ภาวะความเครียดและความกดดัน ที่เกิดจากการทำงาน จนกลายเป็นความท่วมท้นภายในใจ สุดท้ายส่งผลเสียต่อการทำงาน

มนุษย์ทุกคนล้วนมีเรื่องราวที่เหมือนและแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับว่าบุคคลนั้นที่กำลังเผชิญปัญหา จะสามารถรับมือหรือจัดการกับมันได้หรือไม่ ซึ่งหากคุณรู้ตัวว่าไม่สามารถจัดการหรือควบคุมให้มันเป็นได้ดั่งที่ใจต้องการแล้ว นั่นอาจแปลว่าคุณกำลังรับมือไม่ไหว ความท่วมท้นเยอะเกินไป จนเกิดเป็น ภาวะ Overwhelmed ที่สุดท้ายจะส่งผลเสียต่อการทำงาน

ซาบรีนา โรมานอฟ นักจิตวิทยาคลินิก และศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยเยชิวา ได้กล่าวไว้ว่า "เป็นเรื่องธรรมดาที่มนุษย์จะต้องได้พบเจอกับความเครียดในชีวิตประจำวัน อาจเป็นประโยชน์ในทางที่ดี เพราะบางครั้งความเครียดช่วยประตุ้นร่างกาย ทำให้ทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันหากเปลี่ยนเป็นความเครียดเรื้อรัง หรือการเครียดอยู่ตลอดเวลา อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตและสุขภาพร่างกาย"

 

ภาวะ Overwhelmed คืออะไร ? 
ภาวะ Overwhelmed หรือออกเสียง (โอ'เวอะเวล์ม) คือ การมีความเครียด ความกดดันที่เกิดขึ้นจากการทำงานหนัก ความกดดันจากงานอาจทำให้เปลี่ยนไป เป็นคนที่รู้สึกเครียดได้ หากความรู้สึกไม่สบายใจเกิดขึ้นอยู่บ่อย ๆ โดยที่ไม่สามารถจัดการ หรือรับมือได้อย่างทันท่วงที ท้ายที่สุดจะสะสมเป็นความคิดหรืออารมณ์เชิงลบ และลุกลามเป็นปัญหาทางความรู้สึก ที่คอยสั่นคลอนใจให้อ่อนล้าและอ่อนแอได้ 

ในทางจิตวิทยา Overwhelmed จึงเป็นคำที่ใช้สื่อสภาวะไม่มั่นคงของใจ เพราะถูกบางสิ่งบางอย่างถาโถมเข้ามาในปริมาณที่เยอะเกิดคาด เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ใจพัง ผลกระทบที่ตามมาหลังจากนั้น จึงลงเอยด้วยความโกรธ โมโหร้าย วิตกกังวล หงุดหงิดง่าย หรืออาจเป็นไปในทางตรงกันข้าม คือ รู้สึกซึมเศร้า และสิ้นหวังต่อตัวเอง

 

pic11

 

เหตุผลการเกิดภาวะ Overwhelmed
เมื่อพูดถึงวัยทำงานที่เกิดภาวะ Overwhelmed โดยส่วนใหญ่แล้วมักมีความรู้สึกกดดันในเนื้อหางานโดยไม่ทันได้รู้ตัว ซึ่งสามารถจำแนกการกระทำทั้งทางตรงและทางแฝงที่อาจเกิดภาวะ Overwhelmed ได้ดังนี้

  • มีงานทำจนล้นมือ และเวลาในการทำงานไม่เพียงพอ
  • มีกำหนด Deadline ส่งงานพร้อมกันหลายชุด หลาย Project
  • ใครไหว้วานให้ทำอะไรก็ Say yes หมด จนสุดท้ายต้องแบกภาระคนเดียว
  • ไม่มีทักษะหรือเครื่องมือที่จำเป็นในการทำงาน
  • รู้สึกโดดเดี่ยวเหมือนทำงานอยู่คนเดียว ไม่ได้รับแรงซัพพอร์ตจากรอบข้าง
  • บทบาทหน้าที่ในการทำงานไม่ชัดเจน รู้สึกได้ทำงานจับฉ่าย
  • รู้สึกกังวลเกี่ยวกับงานตลอดเวลา ไม่อยากเข้าประชุม
  • คิดเรื่องงานตลอดเวลา ทั้งหลังเลิกงานและวันหยุดพักผ่อน
  • แค่คิดว่าต้องตื่นหรือเดินทางไปทำงาน ก็หมดไฟและกังวล
  • รู้สึกเหนื่อยล้าทางร่างกาย จิตใจ และอารมณ์

 

นอกจากนี้แล้วภาวะ Overwhelmed ยังเกิดได้จากปัจจัยเร้าอื่น ที่มีผลกระทบต่อการทำงานได้เช่นกัน ความเครียดอันเกิดอย่างไม่ตั้งตัว หรือสุขภาพจิตที่เริ่มไม่ดีขึ้น อาจเป็นต้นเหตุที่รู้สึกไม่ดีจนพาลไม่อยากจะทำงาน อาจประกอบไปด้วย การสูญเสียคนที่รัก, ความขัดแย้งในความสัมพันธ์ส่วนตัว, ความสัมพันธ์ที่ยากลำบากหรือการเลิกรา, ปัญหาทางการเงิน, ความกังวลเรื่องสุขภาพ, ประสบการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจ หรือ การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในชีวิต

จะเห็นได้ว่าการมีภาวะสุขภาพจิต หรือสุขภาพใจไม่ปลอดโปร่ง เช่น ภาวะซึมเศร้า, ความวิตกกังวล, โรคเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนขวัญ (PTSD) หรือ โรคย้ำคิดย้ำทำ (OCD) อาจทำให้บุคคลนั้นมีแนวโน้มที่จะรู้สึกควบคุมตัวเองไม่ได้ จนพัฒนาไปสู่ภาวะ Overwhelmed

 

วิธีรับมือกับภาวะ Overwhelmed
ข้อที่สำคัญที่สุดสำหรับผู้ที่ตกอยู่ในภาวะนี้คือ ห้ามเพิกเฉย เพราะความรู้สึกกดดันนี้หากเกิดขึ้นกับการทำงาน จะเป็นขั้นตอนที่ทำให้ตัวเองและงานไม่สามารถเดินหน้าไปได้พร้อม ๆ กัน กล่าวคือ การเกิดภาวะดังกล่าวและเพิกเฉย อาจทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลงโดยไม่รู้ตัว

ดังนั้นแล้วการทำความเข้าใจกับตัวเองถึงปัญหา ว่าเกิดขึ้นจากอะไร คือขั้นตอนที่สำคัญที่สุดสำหรับการรับมือ หากปล่อยไว้และปล่อยให้มันเป็นไป ปัญหาจะไม่ถูกแก้ไข บ้างอาจจะทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น หรืออาจส่งผลกระทบต่อการทำงานในระยะยาว และเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตที่จะตามมาด้วย

 

pic10

 

เช็กลิสต์ความเสี่ยงเข้าข่าย ภาวะ Overwhelmed จากการทำงาน

  • สิ่งเลวร้ายที่สุดที่จะเกิดขึ้นได้คืออะไร? จะเกิดขึ้นแล้วจะรับมืออย่างไร : เช่น ตกงานกะทันหัน จะหางานใหม่ได้เร็วแค่ไหน หรือมีเงินสำรองชีพเพียงพอในระยะเวลาเท่าใด
  • คุณจะมีวิธีจัดการแก้ไขปัญหานี้อย่างไร : วางแผนแนวทางแก้ปัญหา
  • หากเพื่อนสนิทตกอยู่ในสถานการณ์เดียวกัน จะแนะนำวิธีแก้ปัญหาให้กับเพื่อนอย่างไร : หลังจากได้คำตอบแล้ว ให้นำคำตอบนี้มาใช้กับตัวเอง

 

วิธีแก้ไขภาระท่วมท้นภายในใจ
การแก้ไขที่ดีที่สุดคือการเอาตัวเองออกจากความรู้สึกแย่ดังกล่าว อาจจะไม่ต้องทำมาก แต่เพียงมองปัญหาให้ไกลตัวมากกว่าเดิม 1 ก้าว ก่อนที่จะเริ่มยอมรับกับตัวว่า "ตอนนี้รู้สึกอย่างไร" ก่อนที่จะตอบตัวเองว่าสถานการณ์ที่เจออยู่เลวร้ายในระดับไหน ก่อนที่จะพักด้วยการสงบจิตใจ เดินเล่นปรับสภาพแวดล้อม เพื่อให้สมาธิเริ่มกลับมา ความตึงเครียดลดลง

หลังจากที่หลาย ๆ อย่างเบาบางลง มุมมองของปัญหาที่เจออยู่ก็จะกว้างขึ้น หลังจากพ้นความเครียดเหล่านี้มาได้ อย่าลืมตอบคำถามของตัวเองให้ได้ว่า ต้นเหตุที่แท้จริงของความรู้สึกเหล่านี้เกิดขึ้นจากอะไร

 

นอกจากนี้แล้ว หลังจากการแก้ไขปัญหาได้ สิ่งที่สำคัญที่จะไม่ทำให้เกิดเรื่องแบบนี้ขึ้นเป็นครั้งที่สอง คือการขีดเส้นให้ชัดเจน ว่าเวลางานกับเวลาส่วนตัว รวมไปถึงรอบเขตการรับผิดชอบการทำงานของตัวเอง ซึ่งการทำแบบนี้ไม่ใช่เรื่องที่ผิด การตั้งใจทำงานให้ครบชั่วโมง การเลิกงานให้ตรงเวลา อาจเป็นเรื่องที่ทำได้ยากในสังคมนี้ แต่ถ้าทำได้จะทำให้สุขภาพจิตดีขึ้น ได้รับการพักผ่อนอย่างเต็มที่ พร้อมมีแรงในการทำงานในวันถัดไป

อีกทั้งการปกป้องตัวเองด้วยการฝึกปฏิเสธ เมื่อมีคนมาขอให้ทำงานเกินหน้าที่ก็จำเป็นเช่นกัน หากตอบตกลงกับทุกอย่างที่ถูกโยนมาให้ ผลกระทบที่ตามมาจะทำให้แย่เอาได้ พึงระลึกไว้เสมอว่า การเป็นคนที่มีสปิริตในการทำงานเป็นเรื่องที่ดี แต่ถ้าหากนานวันเข้ากลายเป็นวัฏจักรที่ไม่ได้ดีต่อใคร โดยเฉพาะตัวเอง

 

ที่มา : verywellmind (verywellmind.com)

advertisement

สุขภาพและความงาม คุณอาจสนใจ

ข่าวยอดนิยม

ไลฟ์สไตล์ ล่าสุด