ช่างประจำบ้าน จะพาไปทำความรู้จักกับ "ปูนสำเร็จรูป" ในอดีตจะใช้ "ปูนเค็ม" ในการก่อสร้าง ซึ่งจะต้องนำมาผสมกับหิน และทรายอีกครั้งก่อนจะใช้งาน ซึ่งสัดส่วนในการผสมก็แตกต่างกันไปตามการใช้งาน
แต่ปัจจุบันมีการคิดค้นปูนสำเร็จรูปขึ้นมา เพื่อรองรับการทำงานที่สะดวกสบายมากขึ้น สามาถรฉีกถุงผสมน้ำ ก็สามารถใช้งานได้เลย ซึ่งมีหลากหลายประเภทเหมาะกับทุกการใช้งาน
-อยากปูกระเบื้องใหม่ต้องรู้!! แนะนำการเลือกซื้อกระเบื้องที่นิยมใช้ในปัจจุบัน
- มีคำตอบ!! เปิดประตูห้องน้ำ ควรเปิดเข้า หรือเปิดออก?
- มีคำตอบ!! ห้องน้ำจำเป็นต้องแยกโซนเปียก กับโซนแห้งหรือไม่
1. ปูนสำเร็จรูปสำหรับงานก่อ ก่อผนังอิฐมอญ อิฐบล็อค หรือคอนกรีตบล็อคก็ได้ ปูนประเภทนี้สามารถรองรับน้ำหนักได้ดี มีความแข็งแรง
2. ปูนสำเร็จรูปสำหรับงานฉาบ ซึ่งแบ่งออกเป็นงานฉาบหยาบ และงานฉาบละเอียด ซึ่งจะมีปูนสำเร็จรูปเฉพาะเช่นกัน
- ปูนสำเร็จรูปสำหรับงานฉาบหยาบ นิยมใช้ฉาบงานที่ไม่ต้องการความเรียบร้อยมาก หรือมักใช้ฉาบในชั้นแรกของงาน
- ปูนสำเร็จรูปสำหรับงานฉาบละเอียด งานฉาบนิยมฉาบ 2 ชั้น จึงมักใช้ปูนสำเร็จรูปสำหรับงานฉาบละเอียด (สกิมโค้ท) เพื่อให้พื้นผิวนั้นเรียบร้อยเสมอกัน มีราคาสูง
3. ปูนสำเร็จรูปสำหรับงานเทพื้นปรับระดับ จะทำให้พื้นมีผิวหน้าที่เรียบเสมอกัน ใช้ปรับพื้นภายในบ้าน หรือโรงรถ ก่อนจะปูกระเบื้อง
4. ปูนสำเร็จรูปสำหรับงานซ่อมแซมโครงสร้าง มีการผสมเส้นใยไฟเบอร์ ช่วยในการยึดเกาะที่ดี มีการรับแรงอัดที่สูงกว่าปูนทั่วไป
และ 5. ปูนสำเร็จรูปสำหรับงานฉาบอิฐมวลเบา เนื่องจากคุณสมบัติการซึมน้ำของอิฐมวลเบาไม่ได้ดีเท่าอิฐมอญ มีการยึดเกาะที่น้อยกว่าอิฐมอญด้วย หากใช้ปูนสำเร็จรูปสำหรับงานฉาบละเอียด (สกิมโค้ท) ในการทำงาน จะทำให้เกิดรอยร้าวแน่นอน ต้องใช้ปูนฉาบ และก่อเฉพาะอิฐมวลเบาเท่านั้น เพราะว่าจะมีส่วนผสมของกาวเพื่อการยึกเกาะที่ดีกว่า
ปูนสำเร็จรูปมีจำหน่ายตั้งแต่ 1-10 กิโลกรัม เลือกใช้ให้เหมาะสมกับพื้นที่ที่ต้องการใช้งาน.
Advertisement