พิธีกรรมสำหรับเจ้าของรถคันใหม่ บทสวดบูชาแม่ย่านาง ความเชื่อแต่โบราณสำหรับบูชารถ ขอพรให้แคล้วคลาด ช่วยให้อุ่นใจระหว่างขับรถ
เพราะคนไทยกับความเชื่อ ยังเป็นเรื่องที่ถูกพูดถึงควบคู่กันไป แม้ว่าตอนนี้จะดำเนินมาถึงปี 2567 แล้วก็ตาม แต่เพื่อความสบายอกสบายใจ และเป็นหนึ่งในที่พึ่งพาทางใจแล้ว การกราบไหว้บูชา หรือเชื่อในเวลางามฤกษ์ดี ก็ยังเป็นเรื่องที่ทำกันอยู่เป็นระยะ รวมไปถึง บทสวดบูชาแม่ย่านาง อีกหนึ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ช่วยคุ้มครองผู้ขับขี่ยานพาหนะ
แม่ย่านาง คืออะไร
แม่ย่านาง เป็นหนึ่งในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คนไทยเคารพนับถือ โดยเชื่อกันว่าการบูชาแม่ย่านาง จะช่วยคุ้มครองป้องกันอันตรายต่าง ๆ ให้แก่ผู้ขับขี่ยานพาหนะ ไม่ว่าจะเป็นรถ เรือ หรือแม้กระทั่งเครื่องบิน ความเชื่อนี้อยู่คู่กับคนไทยมาอย่างยาวนาน ทำให้เมื่อมีการออกรถใหม่ หรือเมื่อถึงช่วงเวลาพิเศษ จะมีการทำพิธีไหว้แม่ย่านาง เพื่อช่วยเสริมสิริมงคลและเรียกขวัญกำลังใจอยู่บ่อยครั้ง
ไหว้แม่ย่านาง ช่วงไหนบ้าง
โดยส่วนใหญ่มักทำพิธีไหว้แม่ย่านางช่วงเช้า ของเทศกาลประจำปีใหญ่ เช่น วันปีใหม่ วันตรุษจีน วันสงกรานต์ หรือทุกวันพระ ขึ้น 15 ค่ำ โดยเชื่อกันว่าการทำพิธีมงคลในช่วงเวลาดังกล่าว ถือเป็นการยึดการเสริมความดีในช่วงเดียวกันกับฤกษ์มงคล
การไหว้แม่ย่านาง ส่วนใหญ่นิยมทำเมื่อออกรถใหม่ แต่ไม่จำเป็นเสมอไป หลังจากการใช้งานไปสักพักแล้ว ก็สามารถกราบไหว้เป็นประจำได้ทุกปี เพื่อเสริมสิริมงคล ช่วงเพิ่มความสบายใจให้กับเจ้าของยานพาหนะได้เช่นกัน
ของไหว้แม่ย่านางรถ
ทั้งนี้ หากใครไม่สะดวกหาผลไม้ไหว้แม่ย่านางรถ ได้ตามที่ยกตัวอย่างข้างต้น สามารถใช้ผลไม้ที่หาได้ตามสะดวก หรือจัดเตรียมขนม น้ำ เทียน พวงมาลัย หรือดอกไม้ร่วมด้วย ขึ้นอยู่กับแต่ละความเชื่อของบุคคล
ขั้นตอนการไหว้แม่ย่านางรถ
คาถาบูชาแม่ย่านางรถ
ตั้งนะโม 3 จบ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
บทสวดบูชาแม่ย่านาง
อิติ สุคะโต อาระหังพุธโท นโมพุทธายะ
ปัตถวีคงคา ภุมมะเทวา ขมามิหัง สุจิโต
พุทธัง แคล้วคลาด ธรรมมัง แคล้วคลาด สังฆัง แคล้วคลาด
คำถวายของไหว้แม่ย่านางรถ
ตั้งนะโม 3 จบ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
คำกล่าวถวายของไหว้
สุทินนัง วัตถุทานัง อาสะวะ ขะยะวะหัง โหตุ
ทุติยัมปิ สุทินนัง วัตถุทานัง อาสะวะ ขะยาวะหัง โหตุ
ตะติยัม สุทินนัง วัตถุทานัง อาสะวะ ขะยาวะหัง โหตุ
ขอลูกถวายสิ่งของเหล่านี้แก่แม่ย่านางรถ ขอท่านจงรับซึ่งสิ่งของเหล่านี้ เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ลูกหลานทั้งหลายเทอญ สาธุ
คำลาของไหว้แม่ย่านางรถ
ตั้งนะโม 3 จบ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
คำกล่าวลาของไหว้
พุทธังลส ธัมมังลา สังฆังลา
ข้าพเจ้าขอลาสิ่งของเหล่านี้ เพื่อให้เป็นทานต่อไป เป็นยารักษาโรค อย่าให้เกิดโทษเลย เสสัง มังคะลา ยาจามะ
อย่างไรก็ตาม ความเชื่อของแต่ละคนในการกราบไหว้แม่ย่านางรถก็ต่างกันออกไป บางคนอาจใช้วิธีกราบไหว้ทุกครั้งก่อนเดินทางไกล หรือบางคนอาจใช้วิธีไหว้ตั้งแต่ครั้งแรกที่ออกรถ ก็ย่อมทำได้ตามความเชื่อและสะดวกของคนนั้น ความเชื่อถือเป็นเรื่องสิทธิส่วนบุคคลของคนนั้น ๆ ทำแล้วเจ้าตัวสบายใจ ไม่ละเมิดผู้ใด ย่อมเป็นเรื่องที่ไม่มีผิดถูก อีกทั้งยังเป็นการเสริมสร้างกำลังใจให้กับเจ้าของรถ
Advertisement