Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
เคล็ดลับเลือก "หน้ากากอนามัย" สู้ PM2.5 วิธีดูแลสุขภาพกลางเมืองจมฝุ่น

เคล็ดลับเลือก "หน้ากากอนามัย" สู้ PM2.5 วิธีดูแลสุขภาพกลางเมืองจมฝุ่น

9 ม.ค. 68
14:36 น.
|
430
แชร์

วิธีเลือกไอเทมสู้ฝุ่น "หน้ากากอนามัย" แบบไหนป้องกัน PM 2.5 ได้ แบบไหนป้องกันไม่ได้ วิธีดูแลสุขภาพในภาวะฝุ่น PM2.5 สูง

ค่าฝุ่น PM2.5 วันนี้ กรุงเทพมหานคร ประสบปัญหาฝุ่นละอองเกินค่ามาตรฐานในทุกพื้นที่ โดยเฉพาะในเขตหนองแขมที่มีค่า PM2.5 สูงถึง 94.2 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งอยู่ในระดับสีแดงที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ ขณะที่เขตบางบอนและธนบุรีมีค่า PM2.5 อยู่ที่ 76.8 และ 75.5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรตามลำดับ

นอกจากนี้ เว็บไซต์ IQAir รายงานว่าคุณภาพอากาศของกรุงเทพฯ อยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่า US AQI ที่ 93 และความเข้มข้นของ PM2.5 ที่ 31.9 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

อย่างไรก็ตาม ค่าดังกล่าวยังคงเกินค่าแนวทาง PM2.5 ประจำปีขององค์การอนามัยโลกถึง 6.4 เท่า หลายหน่วยงานของรัฐฯ ได้ออกมาเตือนถึงผลกระทบต่อสุขภาพ รวมถึงคำแนะนำในการป้องกันสุขภาพจากภาวการณ์ฝุ่น PM 2.5 สูง

วิธีเลือกหน้ากากอนามัยป้องกันฝุ่น หน้ากากอนามัยแบบไหนป้องกันฝุ่น PM 2.5 ได้ แบบไหนป้องกันไม่ได้

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ให้คำแนะนำในการเลือกใช้ หน้ากากอนามัย สำหรับป้องกันฝุ่น PM 2.5 ดังนี้

1. หน้ากากกรองอากาศ (Respirator) ชนิด N95 R95 P95 KP95 KN95 FFP1 FFP2 FFP3

แบบไม่มีวาล์วระบายอากาศ และแบบมีวาล์วระบายอากาศ

- ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคผ่ายทางการไอหรือจาม

- สามารถป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็กได้ถึง 0.3 ไมครอน

2. หน้ากากอนามัย (Surgical mask)

แบบผ้า สำหรับบุคคลทั่วไป

- ป้องกันเชื้อโรคและละอองฝอยต่าง ๆ

- หน้ากากชนิดผ้าสามารถใช้ซ้ำได้ ให้ซักด้วยน้ำผสมผงซักฟอกแล้วตากแดดให้แห้ง

แบบธรรมดา ชั้นกรอง 3 ชั้น สำหรับผู้ป่วย หรือประชาชนทั่วไป

- ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคผ่านทางการไอหรือจาม

- สามารถป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็ก ได้ถึง 5 ไมครอน

แบบคาร์บอน ชั้นกรอง 4 ชั้น เสริมประสิทธิภาพการกรองกลิ่น สำหรับผู้ป่วย หรือประชาชนทั่วไป

- ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคผ่านทางการไอหรือจาม

- ป้องกันกลิ่นและควัน

- สามารถป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็ก ได้ถึง 3 ไมครอน

พื้นที่มีค่า PM2.5 สูงมาก ควรใช้หน้ากากอนามัยแบบไหน

โดยปกติแล้วเราจะนิยมใช้หน้ากากแบบธรรมดากันเสียส่วนใหญ่ สามารถใช้ได้ในระดับอากาศปกติ แต่หากอยู่ใน พื้นที่มีค่า PM2.5 สูงมาก จะเหมาะกับ หน้ากากกรองอากาศ เช่น N95 R95 P95 KP95 KN95 FFP1 FFP2 FFP3 จะสามารถป้องกันได้ดีกว่า เพราะ PM2.5 จะมีขนาดที่เล็กกว่า 2.5 ไมครอนลงไปได้

เพื่อสุขภาพที่ดี หายใจได้สะดวก โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง หรือ กลุ่มที่มีปัญหาโรคปอด โรคทางเดินหายใจ ควรเลือกใช้หน้ากากให้เหมาะสมกับสถานการณ์

วิธีดูแลสุขภาพในภาวะค่าฝุ่น PM2.5 สูง

การดูแลสุขภาพในช่วงที่ค่าฝุ่น PM 2.5 สูงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพ มีคำแนะนำให้พิจารณานำไปปฏิบัติดังนี้

1. ป้องกันการสัมผัสฝุ่น

- สวมหน้ากากป้องกันฝุ่น PM 2.5 ใช้หน้ากาก N95 หรือหน้ากากที่มีประสิทธิภาพในการกรองฝุ่นละอองขนาดเล็ก

- หลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ค่าฝุ่นสูง

- ปิดหน้าต่างและประตู เพื่อป้องกันไม่ให้ฝุ่นละอองเข้ามาภายในบ้านหรือที่ทำงาน

- ใช้เครื่องฟอกอากาศ เลือกเครื่องฟอกอากาศที่มีฟิลเตอร์ HEPA ซึ่งสามารถกรองฝุ่น PM 2.5 ได้

2. ดูแลสุขภาพร่างกาย

- ดื่มน้ำมากๆ เพื่อช่วยลดการระคายเคืองระบบทางเดินหายใจ

- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เน้นอาหารที่มีวิตามินซี อี และโอเมก้า-3 เช่น ผลไม้ ผัก และปลาที่มีไขมันดี

- พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย

- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่เพราะจะเพิ่มความเสี่ยงต่อปัญหาระบบทางเดินหายใจ

3. ติดตามข้อมูลคุณภาพอากาศ

- ตรวจสอบค่าฝุ่น PM 2.5 ผ่านแอปพลิเคชันหรือเว็บไซต์ เช่น Air4Thai, IQAir หรือเครื่องวัดคุณภาพอากาศในพื้นที่

4. ระมัดระวังกลุ่มเสี่ยง

- เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ และผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหอบหืด หรือโรคหัวใจ ควรเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ

5. ปรึกษาแพทย์

- หากมีอาการผิดปกติ เช่น หายใจลำบาก เจ็บหน้าอก หรือระคายเคืองตาและผิวหนัง ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับคำปรึกษา

6. ลดกิจกรรมที่เพิ่มฝุ่นในบ้าน

- หลีกเลี่ยงการใช้เตาเผา การจุดธูป การสูบบุหรี่ หรือการใช้อุปกรณ์ที่ก่อให้เกิดควันภายในบ้าน

ฝุ่นPM2.5 พื้นที่กรุงเทพฯ มาจากไหน

นาย พรพรหม ณ.ส. วิกิตเศรษฐ์ ที่ปรึกษา ผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร ให้ข้อมูลผ่านเฟซบุ๊ก พรพรหม วิกิตเศรษฐ์ - Pornphrom Vikitsreth โดยระบุว่า

ฝุ่น PM2.5 ในกรุงเทพฯ มาจากไหน? เพื่อการเข้าใจง่ายๆ ฝุ่นในกรุงเทพฯ มาจาก 3 ปัจจัย (ภาพแรก)

ปัจจัย 1 - ฝุ่นฐานเมือง (ขนส่ง อุตสาหกรรม)

ปัจจัย 2 - สภาพอากาศ/อัตราการระบายอากาศต่ำมาก

(ภาพที่ 2 - ถ้าระบายดี ตัวเลขจะต้องเกิน 4,000 m2/s แต่สังเกตว่า 6-9 ม.ค. นั้นต่ำถึง 500 m2/s)

ปัจจัย 3 - ลมตะวันออก/ออกเฉียงเหนือ พาฝุ่นจากจุดเผาชีวมวลด้านนอกเข้ากรุงเทพฯ

(ภาพที่ 3 - สังเกตจุด hotspot การเผาอยู่ที่ไหน และทิศทางลมพาจากไหนไปไหน)

สถานการณ์

- ถ้ามีแค่ปัจจัย 1 ค่าฝุ่นก็จะประมาณสีฟ้า/เขียว เช่นเดียวกับฤดูอื่นๆของปี

- เดือนที่แล้ว (ธ.ค. 67) ที่เริ่มมีเหลืองๆ ส้มๆ นั้นมาจากปัจจัย 1+2

- ส่วนวันนี้ (ส้มทั่วเมือง) นั้นเพราะว่าครบ 3 ปัจจัย โดยเฉพาะจุดเผานอกกรุงเทพฯที่เกิดขึ้นอย่างมหาศาล และมาลมที่นำเข้ากรุงเทพฯ อย่างชัด

- ระยะถัดไป อัตราการระบายจะดีขึ้นครับ คาดว่าฝุ่นจะลดลงช่วยปลายอาทิตย์ ส่วนเราหวังจริงว่าการเผาชีวมวลจะมีมาตรการลดที่ชัดเจน

Advertisement

แชร์
เคล็ดลับเลือก "หน้ากากอนามัย" สู้ PM2.5 วิธีดูแลสุขภาพกลางเมืองจมฝุ่น