เสียงที่ดังเกินไปอาจทำให้ ทารกเป็นอันตรายเพราะเสียงดัง พัฒนาการการได้ยินเป็นเรื่องสำคัญ แล้วระดับเดซิเบลไหน ที่เป็นอันตรายต่อทารก ?
เสียง เป็นหนึ่งในสิ่งที่เราได้ยินทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นช่วงวัยไหน เพศใด ล้วนเป็นหนึ่งในการพัฒนาการสื่อสาร และถือเป็นหนึ่งในการรับรู้ที่สำคัญของทารก โดยเฉพาะในช่วง 3 เดือนแรกหลังจากคลอด เด็กจะมีพัฒนาการเรียนรู้ ที่ได้รับการได้ยินครั้งแรกจากพ่อแม่ ซึ่งบางครั้งพ่อแม่มือใหม่ อาจไม่เข้าใจต้องข้อจำกัดนี้จนกลายเป็นว่า ทารกเป็นอันตรายเพราะเสียงดัง แล้วระดับเดซิเบลไหน ที่เป็นอันตรายต่อทารก ?
ทารกได้ยินตั้งแต่ตอนไหน
พัฒนาการการได้ยินของทารก เริ่มต้นตั้งแต่ตอนที่ยังอยู่ในครรภ์มารดา โดยร่างกายพัฒนาและเริ่มได้ยินเสียงตั้งแต่ช่วงสัปดาห์ที่ 18 ของการตั้งครรภ์ โดยเสียงส่วนใหญ่ที่ได้ยิน มักจะเป็นเสียงพูดคุยของแม่ท้องหรือคุณพ่อที่คอยพูดคุย ตั้งแต่ช่วงที่มีการพัฒนาเป็นทารกที่มีร่างกายสมบูรณ์ในครรภ์ ส่วนใหญ่ที่ได้ยินหรือรับรู้ มักจะเป็นเสียงภายในร่างกายของแม่ท้อง เช่น เสียงหัวใจของคุณแม่, เสียงอากาศที่เข้า-ออกจากปอด, เสียงท้องร้องของแม่ท้อง หรือแม้แต่เสียงเลือดไหลเวียนผ่านสายรก
เมื่อเข้าสู่ช่วงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ ทารกจะเริ่มได้ยินเสียงรอบนอกเพิ่มขึ้น แต่ยังไม่ชัดเจนมากนัก เนื่องจากถูกล้อมไปด้วยน้ำคร่ำและชั้นร่างกาย แต่เมื่อหลังจากคลอดไปจนถึง 1 เดือน พัฒนาการการได้ยินของทารก จะยิ่งมีการพัฒนาอย่างสมบูรณ์เพิ่มขึ้น
แม้ว่าจะมีการพัฒนาทางร่างกาย จนทารกสามารถได้ยินเสียงอย่างครบถ้วนแล้ว แต่ก็ยังไม่สามารถตอบสนองต่อเสียง หรือยังหาต้นตอและทิศทางของเสียงไม่ได้ จนกระทั่ง 9 เดือน ถึงจะสามารถหันหาต้นตอของเสียงได้ทุกทิศ หรือบางรายอาจไวกว่านั้น
ระดับเสียงต่อทารก
ระดับเสียงหรือความอ่อนไหวต่อเสียงที่มีต่อทารก โดยส่วนใหญ่แล้ว มักแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับเสียงปลอดภัย, ระดับเสียงเริ่มอ่อนไหว และ ระดับเสียงที่อ่อนไหว โดยสามารถจำแนกได้ดังนี้
1. ระดับเสียงปลอดภัย
เป็นระดับเสียงที่ถือว่ายังเป็นเกณฑ์ปลอดภัยต่อลูกน้อย โดยอยู่ในช่วงระดับที่น้อยกว่า 80-90 เดซิเบิล เช่น 30 เดซิเบล – เสียงกระซิบ, 50 เดซิเบล – เสียงฝนตก, 70 เดซิเบล – เสียงเครื่องปั่นผลไม้, 80 เดซิเบล – เสียงเครื่องซักผ้า นาฬิกาปลุก เสียงไดร์เป่าผม
ส่วนระดับเสียงที่ 90 เดซิเบลขึ้นไป จำพวกเสียงเครื่องตัดหญ้า เสียงรถมอเตอร์ไซค์ ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ทารกสามารถรับฟังได้ ไม่มีอันตราย แต่เสียงบางอย่างก็ไม่แนะนำให้เด็กได้ยินเป็นเวลาต่อเนื่อง
2. ระดับเสียงเริ่มอ่อนไหว
เป็นระดับเสียงที่ถือว่า เข้าเกณฑ์เริ่มเป็นอันตรายต่อการได้ยินของทารก โดยระดับเดซิเบลจะอยู่ระหว่าง 91-119 เดซิเบล โดยประมาณ เช่น 100 เดซิเบล – เสียงเพลงดังๆ เสียงในโรงภาพยนตร์, 110 เดซิเบล – เสียงแตรรถ เสียงเด็กร้องไห้ เสียงตะโกนใส่หู ซึ่งเสียงจำพวกนี้อาจเป็นต้นเหตุที่ทำให้พัฒนาการการได้ยิน หรือพัฒนาการร่วมอื่น ๆ เป็นไปได้อย่างล่าช้า
3. ระดับเสียงที่อ่อนไหว
ระดับเสียงขั้นสุดท้าย ถือเป็นระดับที่อันตรายต่อทารก อาจเกิดเป็นอาการที่แสดงออกภายนอกด้วยการร้องไห้ หรือตะเบ็งคอออกเสียง โดยระดับเดซิเบลที่เป็นอันตรายจะอยู่ระหว่าง 120-140 เดิซิเบลเป็นต้นไป ได้แก่ 120 เดซิเบล – เสียงฟ้าผ่า เสียงจากงานอีเวนต์หรือคอนเสิร์ต, 130 เดซิเบล – เสียงเครื่องมือช่างต่างๆ เช่นที่ตัดเหล็ก เครื่องเจาะถนน หรือบริเวณสิ่งก่อสร้าง และ 140 เดซิเบลขึ้นไป – เสียงประทัด เสียงยิงปืน เสียงเครื่องบินกำลังจะบินขึ้น
คำแนะนำเมื่อทารกต้องอยู่ในที่เสียงดัง
พฤติกรรมเสียงที่ทารกอาจบกพร่องทางการได้ยิน
นอกจากนี้แล้วเพื่อการปกป้องและดูแลลูกน้อยให้ครบถ้วน พ่อแม่ควรพาทารกเข้ารับการตรวจการได้ยินในเด็กแรกเกิด และระหว่างที่ยังเด็ก เพราะหากมีปัญหาการได้ยินจริง ๆ จะเป็นหนึ่งในผลกระทบต่อการพัฒนาของลูก ทั้งในด้านการพูดและการเรียนรู้ เพื่อเป็นการรักษาและฟื้นฟูอย่างเหมาะสม พ่อแม่ไม่ควรละเลยการตรวจนี้
ที่มา : โรงพยาบาลไทยนครินทร์ (thainakarin.co.th) / parentsone (parentsone.com)
Advertisement