ทำความรู้จัก โรคไข้โอโรพุช (Oropouche fever) อาการป่วยรุนแรงคล้าย ไข้เลือดออก แต่มีริ้นเป็นพาหะนำโรค เช็กอาการด่วน หลังบราซิลพบคนเสียชีวิต!
โรติดต่ออันตราย กลายเป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์ป่วยที่ต้องจับตาเฝ้าระวัง รวมไปถึง ไข้โอโรพุช (Oropouche fever) อีกหนึ่งการป่วยอันตรายที่ สธ. จับตามอง หลังจากมีการประกาศข่าวการเสียชีวิตภายในประเทศบราซิล โรคนี้ไม่ใช่โรคอุบัติใหม่ ไม่ใช่โรคที่รับมือไม่ได้ เพียงแต่เป็นโรคที่ห่างไกลประเทศไทย แต่ถึงแม้จะเป็นการติดต่อที่ห่างไกล แต่ก็ยังต้องเฝ้าระวังอยู่ดี
สถานการณ์โรคติดต่อ กลายเป็นอีกหนึ่งการจับตามองที่ กรมควบคุมโรค พยายามอย่างหนัก หลังจากมีประสบการณ์จากโลกอุบัติใหม่อย่าง โคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (โควิด-19) ที่ได้ทำให้ทั่วทั้งโลกเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตใหม่เป็นระยะเวลานาน จากนั้นก็ต่อด้วยการเฝ้าระวัง ฝีดาษลิง ที่ล่าสุดได้มีผู้เชี่ยวชาญประกาศให้ประเทศไทยเตรียมตัวรับมือสายพันธุ์ใหม่
บราซิลมีผู้ป่วยเสียชีวิตเพราะไข้โอโรพุช 2 ราย
ข้อมูลจากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ประเทศไทยได้เปิดเผยว่า "ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขประเทศบราซิล ได้มีการระบุว่ามีผู้เสียชีวิต 2 ราย จากการป่วยโรคไข้โอโรพุช (Oropouche fever) เป็นครั้งแรกของโลก ในอดีตที่ผ่านมาไม่เคยมีการรายงานการเสียชีวิตด้วยโรคดังกล่าว โดยได้ระบุว่าผู้เสียชีวิตทั้งสองราย มีอาการป่วยคล้ายกับโรคไข้เลือดออกเดงกีที่มีอาการรุนแรง และไม่เคยมีประวัติโรคประจำตัว
ในอดีตได้มีการพบผู้ป่วยโรคโอโรพุชมาแล้ว ตั้งแต่ปี พ.ศ.2498 ที่สาธารณรัฐตรินิแดดและโตเบโก ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการพบการระบาดในบางประเทศของทวีปอเมริกากลางและอเมริกาใต้ โดยพบมากที่สุดที่ประเทศบราซิล, โบลิเวีย, เปรู, คิวบา และโคลอมเบีย แต่จนถึงปัจจุบันยังไม่มีรายงานการระบาดของโรคนี้ในทวีปอื่น รวมทั้งทวีปเอเชีย
รู้จัก โรคไข้โอโรพุช
ไข้โอโรพุช (Oropouche fever) ไม่ใช่โรคอุบัติใหม่ เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชนิดที่ชื่อว่า Oropouche virus (OROV) ไวรัสชนิดนี้เป็นเชื้อประจำถิ่น ในพื้นที่ "ลุ่มแม่น้ำอเมซอน" มีระยะฟักตัวเชื้อโดยทั่วไป คือ 4-8 วัน หรืออยู่ในช่วงแสดงอาการ 3-12 วัน มีแมลงเป็นพาหะ โดยพาหะนำโรคหลัก คือ ตัวริ้น (Culicoides paraensis) ซึ่งพบมากในทวีปอเมริกา และยุงบางชนิดสามารถเป็นพาหะของไวรัส OROV ได้ เช่น Culex quinquefasciatus, Coquillettidia venezuelensis, Mansonia venezuelensis และ Aedes serratus
อาการ โรคไข้โอโรพุช
สำหรับผู้ป่วยโรคไข้โอโรพุช หลังจากการติดเชื้อแล้ว เชื้อมีระยะฟักตัวโดยทั่วไป คือ 4-8 วัน อยู่ในช่วง 3-12 วัน โดยประมาณร้อยละ 16 มีอาการเลือดออก เช่น จุดเลือดออกที่ผิวหนัง เลือดกำเดา และเลือดออกตามไรฟัน และมีรายงานเยื่อหุ้มสมองอักเสบในผู้ป่วยบางราย แต่เป็นอาการที่พบได้น้อย โดยมีอาการของโรคดังนี้
วิธีป้องกันโรคไข้โอโรพุช เมื่อเดินทางไปหรือกลับจากต่างประเทศ
หากเดินทางกลับประเทศไทยแล้วมีอาการไข้เฉียบพลัน หนาวสั่น ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ ปวดกระบอกตา และผื่น ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ และรีบไปพบแพทย์ แจ้งประวัติการเดินทาง เพื่อดำเนินการสอบสวนและควบคุมโรคต่อไป
ปัจจุบันยังไม่มีรายงานการพบตัวริ้นที่เป็นพาหะหลักในประเทศไทย รวมถึงยังไม่มีรายงานในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และยังไม่พบหลักฐานการแพร่ระบาดระหว่างคนสู่คน ความเสี่ยงหลักของการพบผู้ติดเชื้อในประเทศ อาจมาจากนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปพื้นที่ที่มีการระบาด ซึ่งความเป็นไปได้ยังคงต่ำมาก ทั้งนี้เพื่อดำเนินการสอบสวนและควบคุมโรคต่อไป สอบถามเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน กรมควบคุมโรค โทร. 1422
ที่มา : สสส. (thaihealth.or.th)
Advertisement