One Bangkok Public Art Collection คอลเลคชันศิลปะสาธารณะจากศิลปินระดับโลกและศิลปินชาวไทย
One Bangkok Public Art Collection คอลเลคชันศิลปะสาธารณะจากศิลปินระดับโลกและศิลปินชาวไทย ที่ถูกออกแบบและคัดสรรมาให้เข้ากับบริบทของ
พื้นที่ วัน แบงค็อก โดยเฉพาะ ทั้งผลงานประติมากรรม จิตรกรรม ศิลปะดิจิทัล เฟอร์นิเจอร์สาธารณะ และอีกมากมาย เพื่อให้ศิลปะเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจําวัน และเป็นแรงบันดาลใจที่ยิ่งใหญ่ของทุกคนในทุกวัน คอลเลคชันศิลปะสาธารณะของโครงการ วัน แบงค็อก นั้นตั้งอยู่ทั่วทั้งโครงการ ในบริเวณที่ทุกคนเข้าถึงได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่ง One Bangkok Public Art Collection คือส่วนหนึ่งของ Art Loop เส้นทางที่เชื่อมต่อทุกโปรแกรมทางศิลปะและวัฒนธรรมทั่วทั้งโครงการ ที่มีหลากหลายเส้นทางและทางเดินให้เลือกสรร อีกหนึ่งประสบการณ์สําคัญในการรับชมงานศิลปะ ที่ วัน แบงค็อก
ศิลปินเล่นกับสิ่งที่พบได้ในชีวิตประจําวันอย่าง สระว่ายนํ้า เพื่อท้าทายมุมมองเดิมที่ผู้คนมีต่อประติมากรรมสาธารณะ ลดทอนรายละเอียดเหลือเพียงองค์ประกอบที่จําเป็นเพื่อให้ผู้ชมได้ลองมองสิ่งรอบตัวในมุมใหม่ ไปพร้อมๆ กับเติมความหมายของตนเองลงไปในช่องว่างใจกลาง Zero ที่ตั้งอยู่เบื้องหน้า
Zero ตั้งอยู่บริเวณ Parade Park ทําหน้าที่ต้อนรับทั้งผู้สัญจรบนถนนพระราม 4 และผู้ที่มาเยือน วัน แบงค็อก คือผลงานของ เอล์มกรีน แอนด์ แดรกเซท (Elmgreen & Dragset) ศิลปินคู่หูชาวนอร์เวย์ ที่โดดเด่นในเรื่องศิลปะจัดวางที่ผสมผสานศิลปะเข้ากับสถาปัตยกรรม และการดีไซน์ที่ชวนท้าทายความคิด โดยผลงานชิ้นนี้จัดแสดงครั้งแรกในเทศกาลศิลปะนานาชาติ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2018
ประติมากรรมบรอนซ์ที่สูงที่สุดของ Alex Face สตรีทอาร์ตติสชื่อดังของไทย แรงบันดาลใจของผลงานมาจากการก้าวข้ามอุปสรรคของมนุษย์ รวมถึงการเติบโตขึ้นของลูกสาว โดยพัฒนาต่อมาจากภาพสเก็ตช์ในกระดาษ ที่ศิลปินจัดแสดงในงานครบรอบ 20 ปี ของการทํางาน และความท้าทายของงานชิ้นนี้คือการสร้างสรูปทรงของ ‘ควัน’ ที่เมื่อผลิตจากวัสดุที่มีความแข็งแรงให้ความรู้สึกหนักหน่วงอย่างบรอนซ์แล้ว ยังคงความบางเบาอยู่ได้ ในขณะเดียวกับก็ต้องรับนํ้าหนักทั้งหมดได้ด้วย
Alex Face ยังเป็นศิลปินที่มีความผูกพันกับพื้นที่บริเวณนี้โดยเคยขายของอยู่ในร้านของรุ่นพี่ที่สวนลุมไนท์บาซาร์ ซึ่งปัจจุบันคือโครงการ วัน แบงค็อก รวมถึงการเป็นศิลปินของ Bangkok City City Gallery ซึ่งตั้งอยู่ที่ซอยสาทร 1 ตรงข้ามกับโครงการ วัน แบงค็อก นั่นเอง
เมื่อเก้าอี้ไม่ใช่แค่ที่นั่ง แต่สร้างปฏิสัมพันธ์ให้กับเมือง Ribbon Flow คือเฟอร์นิเจอร์สาธารณะผลงานประกวดจากนักศึกษาที่ได้แรงบันดาลใจมาจาก ‘ริบบิ้น’ ที่เชื่อว่าริบบิ้นเป็นเส้นสายที่ใช้ผูกรัดสิ่งต่างๆ เข้าหากัน เหมือนกับการสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ต้องการสื่อกลางในการเชื่อมโยงผู้คนให้เข้ามาพบปะพูดคุย จึงนํารูปฟอร์มของริบบิ้นมาบิดโค้งไปมารอบพื้นที่ สร้างการใช้งานที่หลากหลาย โดดเด่นขึ้นมาด้วยสีสันสะดุดตาและรูปทรงของงานดีไซน์ที่ใช้ลักษณะเส้นสายของริบบิ้นมาบิดปรับให้เป็นที่นั่ง เติมเต็มพื้นที่ส่วน Planter Boxes ของโครงการวัน แบงค็อก
ผลงานการออกแบบเฟอร์นิเจอร์จากทีม RIBBON FLOW ทีมนักศึกษาจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ในโครงการประกวดการออกแบบเฟอร์นิเจอร์สาธารณะสําหรับคนเมือง One Bangkok Urban Furniture Competition 2022 Seatscape & Beyond เปิดพื้นที่พร้อมเป็นแพลตฟอร์มสําหรับนิสิต นักศึกษา ว่าที่นักออกแบบรุ่นใหม่ได้มีพื้นที่ทดลองและนําเสนอแนวคิดการออกแบบพื้นที่นั่งสาธารณะผ่านการตีความภายใต้โจทย์ที่แตกต่างกันตามการใช้งาน พร้อมโอกาสในการเรียนรู้เชิงลึกกับผู้เชี่ยวชาญ รับคําปรึกษา และพัฒนาผลงานร่วมกับนักออกแบบมืออาชีพอย่างใกล้ชิด จนผลงานออกแบบนั้นได้ถูกผลิต ติดตั้ง และใช้งานจริงภายในโครงการ One Bangkok
ประติมากรรมสเตนเลสรูปทรงโค้งเว้าที่พื้นผิวถูกขัดเงาจนดูคล้ายกระจก สะท้อนภาพที่ถูกบิดเปลี่ยน ย่อ ขยาย หมุนวนเข้าหากัน เมื่อสภาพแวดล้อมโดยรอบถูกซึมซับเข้าไปอีกโลกหนึ่ง ที่ผู้คน เมือง และธรรมชาติ ผสมผสานกันอย่างพัลวันจนเป็นเอกภาพ พร้อมมอบมุมมองใหม่ให้ทุกคนได้สัมผัส
ประติมากรรมชิ้นดังกล่าวตั้งอยู่บริเวณ วัน แบงค็อก ปาร์ค เป็นผลงานของ Anish Kapoor หนึ่งในประติมากรที่เลื่องชื่อที่สุดแห่งยุคสมัย ผู้โดดเด่นทั้งชั้นเชิงในงานศิลป์ และความท้าทายทางวิศวกรรม และมีผลงานศิลปะสาธารณะที่โด่งดังมากมาย สําหรับ S-Curve หลังจัดแสดง สะท้อนและดูกลืนสภาพแวดล้อมทั่วโลกมาตั้งแต่ปี 2006 ในที่สุดผลงานชิ้นแรกจาก 3 อิดิชันของศิลปินชิ้นนี้ก็ได้เจอที่ตั้งถาวรนั่นคือ วัน แบงค็อก
ประติมากรรมสเตนเลสที่ตั้งตระหง่านด้วยความสูง 7.8 เมตร ที่ศิลปินใช้รูปร่างมนุษย์เป็นแรงบันดาลใจในการสร้างประติมากรรมรูปทรงนามธรรมที่สามารถรับชมได้จากหลากหลายมุมมอง แต่ละองศาล้วนแตกต่างทั้งรูปทรง แสงเงาหรือการสะท้อน ยิ่งท้าทายให้ตั้งคําถามว่าใช่หรือไม่ใช่สิ่งใด ชั้นเส้นโค้งที่ดูแวววาวและลื่นไหล ทําให้วัสดุอุตสาหกรรมอย่างสเตนเลสผสานเข้ากับบริบทโดยรอบอย่างลงตัว It Is, It Isn't ตั้งตระหง่านท่ามกลางการสัญจรไปมาของผู้คนจนกลายเป็นแลนด์มาร์กของ วัน แบงค็อก ปาร์ค ตอกยํ้าถึงการอยู่ร่วมกันระหว่างธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น
ประติมากรรมชิ้นนี้ที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นมาเพื่อ วัน แบงค็อก โดยเฉพาะ เป็นผลงานของ Tony Cragg ศิลปินชาวอังกฤษ ผู้ถูกยอมรับในฐานะประติมากรแถวหน้าของโลก ซึ่งมักจะผลักดันการค้นหาปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้คนและวัสดุ เผยให้เห็นถึงจินตนาการอันไร้ขอบเขตของวัสดุและรูปทรงในงานศิลปะ
‘Happy Happy Project’ ว่าด้วยเรื่องของโลกแห่งความสุขฉาบฉวยและขัดแย้งในตัวเองที่พวกเราอยู่อาศัยกัน ผลงานศิลปะจากพลาสติกว่าด้วยความสนุกสนานแต่กลับซ่อนความอันตราย สื่อถึงโลกอันฉาบฉวยและความขัดแย้งในตัวเอง ปืน ซึ่งปกติเป็นสัญลักษณ์ของความรุงแรงในที่นี้ จึงกลับกลายเป็นสีสันสดใส เป็นวัตถุที่ทั้งล้อเลียนและยั่วยวนสายตาเชิญชวนให้เราถ่ายภาพกับมัน
ผลงานจาก ชเว จอง ฮวา (Choi Jeong Hwa) ศิลปินและนักออกแบบชาวเกาหลีใต้ ผู้ทํางานด้วยแรงบันดาลใจจากวัตถุในชีวิตประจําวันและวัสดุรีไซเคิล สําหรับเขา ตลาดและร้านขายเศษขยะเป็นเหมือนสนามเด็กเล่นที่ความคิดสร้างสรรค์ของเขาถูกจุดประกาย เขาชอบเดินเที่ยวย่านเยาวราชในกรุงเทพฯ และมักซื้อพลาสติกและเครื่องประดับต่างๆ มาใช้ในการทํางานศิลปะ ซึ่งงานชิ้นนี้ถูกจัดแสดงขึ้นครั้งแรกใน บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ ครั้งที่ 1 ในปี พ.ศ. 2561
จิตรกรรมฝาผนังโดยศิลปินสตรีทอาร์ตไทย 2 เจเนอเรชัน BIGDEL ผู้บุกเบิกงานกราฟิตี้ในไทย โอลด์สคูลสตรีทอาร์ตทิสผู้ครํ่าหวอดในวงการที่โดดเด่นด้วยลายเส้นสุดคลาสสิค โดยได้อิทธิพลจากดนตรี ภาพยนตร์ ผสมผสานกับคาแรคเตอร์ที่ขี้เล่น ที่มักจะปลุกชีพให้สารพันสิ่งของมีชีวิตชีวาบนฝาผนัง และ MR.KREME เจ้าของคาแรคเตอร์ครอบครัวสัตว์ประหลาดสีสันสดใส กับแรงบันดาลใจจากยุค 90 และบุคลิกที่เป็นเอกลักษณ์
ทั้งสองต่อยอดการทํางานจากเทศการออกแบบกรุงเทพฯ 2567 มาบอกเล่าเรื่องราวอันสนุกสนานและจังหวะที่ไม่เคยหลับไหลของกรุงเทพมหานคร สะท้อนตัวตนของศูนย์การค้า เดอะ สตอรีส์พร้อมผสมผสานคาแรคเตอร์สองสไตล์เข้าหากัน เกิดเป็นจังหวะใหม่ที่ลงตัว
Advertisement