Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
แนะ 6 วิธีหนีช้าง เมื่อเจอช้างป่าขณะเดินป่า หรือไม่มีพาหนะให้หลบหนี

แนะ 6 วิธีหนีช้าง เมื่อเจอช้างป่าขณะเดินป่า หรือไม่มีพาหนะให้หลบหนี

11 ธ.ค. 67
16:41 น.
|
133
แชร์

6 ข้อควรปฏิบัติ เมื่อเจอช้างป่าขณะเดินป่า หรือกำลังเก็บผลผลิตทางเกษตร หรือในกรณีไม่มีพาหนะให้หลบหนี

1. เวลาเจอช้างระยะกระชั้นชิด อย่ารีบส่งเสียงดังไล่ เพราะช้างบางตัวอาจจะตกใจหรือรำคาญเสียงของเราแล้วชาร์จเข้ามาทันที ควรหาตันไม่ใหญ่เพื่อหลบซ่อน รวมทั้งการสังเกตภูมิประเทศรอบตัว กรณีที่ต้องหนี บางครั้งช้างบางตัวเมื่อพบเห็นคนแล้วมักเดินตรงเข้ามา กรณีนี้ ต้องไล่โดยการใช้เสียงดังพร้อมทั้งแสดงท่าทางไล่ด้วย เช่น ชูมือขึ้นสูง ๆ โบกไปโบกมา

2. กรณีที่ช้างวิ่งเข้าหา หากมีสัมภาระต่าง ๆ ให้ทิ้งสัมภาระทำให้ตัวเบาและคล่องตัวที่สุด และให้ส่งเสียงดัง กรีดร้อง เสียงโห่ร้อง รวมถึงแสดงอาการต่าง ๆ เช่น ชูแขน ชูมือ พร้อมทั้งเคลื่อนที่ออกจากจุดที่พบช้าง

3. ถ้าเจอช้างในระยะไกล ๆ อย่าเพิ่งวิ่งหนี ให้ดูท่าทีก่อน หากสังเกตเห็นว่าช้างหูกาง งวงนิ่ง และจ้องเขม็ง ให้รีบหนีออกจากบริเวณนั้นทันที

4. กรณีที่ต้องหลบหลีก การหนีลงที่ลาดชันเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ดี เนื่องจากช้างมักไม่กล้าวิ่งลงทางชันอย่างรวดเร็วมากนัก เพราะโดยมากจะทำให้ช้างหกล้ม และเสียหลักได้โดยง่าย

5. หากต้องวิ่งพึงระลึกไว้ว่าวิ่งหนีช้างให้วิ่งหลบออกในทิศทางแนวเฉียง 45 องศาฯ หลบไปตามแนวต้นไม้ใหญ่ เนื่องจากช้างมีขนาดตัวใหญ่จะทำให้การเลี้ยว หรือกลับตัวค่อนข้างข้าหากอยู่บนด่านช้าง ช้างจะวิ่งไล่ตามทางด่าน ดังนั้น การจะหลบหลีกช้างให้วิ่งออกนอกทางด่านหรือหลบหลังต้นไม้ หรือหลบเข้าไปในกอไผ่ หรือร่องดิน ร่องหินลึก ช้างสามารถทำร้ายศัตรู ด้วยการใช้เท้าเตะ เหยียบ ใช้งวงรัด

6. หากวิงหนีแล้วหกล้ม ช้างวิ่งมาถึงตัวเข้าทำร้าย ให้พยายามตั้งสติ กลิ้งหลบให้พันรัศมีช้าง แล้วรีบลุกวิ่งต่อทันที ส่วนกรณีที่หลบไม่ทัน และหากมีโอกาส จุดอ่อนของช้างจะอยู่บริเวณเบ้าตา และบริเวณที่โคนเล็บ ให้ใช้มือ ไม้ หรือมีดทิ่มกระทบบริเวณดังกล่าวหลาย ๆ ครั้ง เพื่อให้ช้างหยุดชะงัก แล้วรีบลุกวิ่งหลบหนีต่อไป

การประเมินสถานการณ์เมื่อต้องเผชิญหน้ากับช้างป่า

ขั้นที่ 1 : สังเกตอารมณ์ของช้างอย่างง่าย

1.1 เมื่อช้างอารมณ์ดีหูจะสะบัดไปมา หางจะแกว่งและใช้งวงสะบัดไปมาหรือเกี่ยวดึงต้นไม้กิน ไม่ค่อยสนใจเรา

1.2 เมื่อช้างอารมณ์ไม่ดีหูจะตั้งกาง งวงและหางจะหยุดแกว่งพร้อมจ้องมองมาทางเรา บางครั้งช้างจะชูงวงขึ้นพร้อมกับยืด โน้มตัวให้สูงขึ้นไปด้านหน้าการแสดงออกดังกล่าวยิ่งทให้ช้างดูเหมือนตัวใหญ่ขึ้น ซึ่งโดยปกติแล้วช้างมีพฤติกรรมที่แสดงออกได้ทั้งการจู่โจมจริง ๆ หรือการขู่เฉย ๆ โดยเราสามารถจแนกและสังเกตอากัปกิริยาเหล่านี้จากภายนอก

- เมื่อสังเกตเห็นว่าช้างเดินหรือวิ่งเข้าหาโดยลักษณะหูของช้างมีการโบกไปมาหรือแม้กระทั่งมีการแกว่งงวงและขา ไปมา มักเป็นลักษณะของการส่งสัญญาณถึงการขู่หรือเพียงแค่ต้องการทดสอบเราเท่านั้น

-หากสังเกตเห็นว่าหูของช้างกางออกและงวงนิ่ง โดยมากมักจะเป็นการจู่โจมจริง ๆ ซึ่งบางครั้งอาจพบว่ามีลักษณะของการม้วนงวงร่วมด้วย

ขั้นที่ 2 : ถอยให้ห่างบริเวณที่พบช้าง

2.1 หากพบช้างป่าโดยบังเอิญและต้องถอยออกจากพื้นที่บริเวณนั้น พึงระลึกไว้ว่าอย่ากลับหลังหันวิ่งหรือหันหลังให้กับช้าง หากพบว่าช้างป่าจู่โจม ข้อพึงระลึกและปฏิบัติ

- กรณีที่ต้องวิ่งหนีให้จำไว้อย่างหนึ่งว่าช้างป่าสามารถวิ่งได้เร็วมาก ซึ่งเร็วกว่ามนุษย์โดยทั่ว ๆ ไป ดังนั้นการวิ่งหนีช้างนั้น ห้ามวิ่งเป็นเส้นตรงเด็ดขาด ควรวิ่งตัดเฉียง 45 องศาฯ ไปในทิศทางข้างหน้า เนื่องจากช้างเป็นสัตว์ใหญ่ การกลับตัวทำได้ค่อนข้างช้ามาก ไม่ควรวิ่งหักฉาก 90 องศาฯ เนื่องจากจะทำให้เหนื่อย และระยะห่างจากช้างป่าไม่ได้น้อยลงเลย ตรงกันข้ามกลับทำให้ช้างป่าเข้าใกล้ได้มากยิ่งขึ้น

- การหลบหลีกขึ้นที่สูง เช่น การปีนต้นไม้ที่มีความแข็งแรง และมีความสูงเพียงพอเกินระยะที่ช้างป่าจะใช้งวงจับยึดได้ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการหลบหลีกอันตรายจากช้างป่าได้

- กรณีที่ไปเป็นกลุ่ม แน่นอนว่าคนที่ช้าที่สุดมักมีความเสี่ยงต่อการได้รับอันตรายมากที่สุด ดังนั้น กรณีที่ไปเป็นกลุ่มการส่งเสียงดัง เพื่อขับไล่ช้างนั้นจะเป็นทางเลือกที่ดีอีกทางหนึ่ง ในการช่วยเหลือสมาชิกในกลุ่มให้ปลอดภัยทุกคน

2.2 ให้สังเกตสิ่งรอบข้างว่ามีสิ่งกำบังใดบ้างที่จะสามารถเป็นที่หลบซ่อนตัวได้อย่างเงียบ ๆ เช่น ต้นไม้ใหญ่ ก้อนหิน กองดิน ฯลฯ นอกจากนี้ การหลบในหลุมที่ลึกหรือคู ก็สามารถกระทำได้ อย่างไรก็ตาม ต้องแน่ใจว่าหลุมหรือคูต่าง ๆ นั้นมีความลึกมากพอและมีขนาดไม่กว้างขวางมากนัก

ขั้นที่ 3 : หากอยู่ในระยะกระชั้นชิดหรือช้างจู่โจมเข้ามาในระยะใกล้มาก

3.1 ให้ทิ้งสิ่งของที่ไม่จำเป็น รวมทั้งสิ่งของต่าง ๆ เช่น กระเป๋าเป้ กระเป๋าสะพาย ฯลฯ การทิ้งสิ่งของเหล่านี้ไปในยามคับขัน นอกจาก จะทำให้เราสามารถเคลื่อนที่ได้สะดวก รวดเร็ว และคล่องตัวมากขึ้นแล้ว สิ่งของต่าง ๆ ที่ทิ้งไปยังสามารถดึงดูดความสนใจจากช้างได้อีกทางหนึ่งด้วย

ขอบคุณข้อมูล : คู่มือความรู้เรื่องช้าง และข้อควรปฏิบัติเมื่อพบช้างป่า กลุ่มงานวิจัยสัตว์ป่า สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

Advertisement

แชร์
แนะ 6 วิธีหนีช้าง เมื่อเจอช้างป่าขณะเดินป่า หรือไม่มีพาหนะให้หลบหนี