Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
แสงเหนือ คืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร ทำไมสีถึงต่างกัน อยากล่าแสงเหนือต้องไปช่วงไหน
โดย : เทรนดี้

แสงเหนือ คืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร ทำไมสีถึงต่างกัน อยากล่าแสงเหนือต้องไปช่วงไหน

13 พ.ค. 67
14:38 น.
|
1.5K
แชร์

แสงเหนือ-แสงใต้ หรือ ออโรรา (Aurora) คืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร ทำไมสีถึงต่างกัน อยากล่าแสงเหนือต้องไปช่วงไหน ที่นี่มีคำตอบ

จากกรณีเมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาเกิด "พายุสุริยะ" ระดับ G5 เนื่องจากจุดดับบนดวงอาทิตย์ที่มีขนาดใหญ่กว่าโลก 17 เท่า นับว่ารุนแรงที่สุดในรอบ 20 ปี ทำให้หลายประเทศทางซีกโลกเหนือที่อยู่ต่ำลงมา เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา สกอตแลนด์ และอังกฤษ สามารถมองเห็นแสงเหนือได้ชัดเจน ซึ่งปรากฏการณ์นี้ส่วนใหญ่จะเกิดในบริเวณแถบขั้วโลก ผู้คนต่างแชร์ภาพความสวยงามของแสงสีอันน่าตื่นตาตื่นใจ แต่หลายคนก็หวั่นเกรงว่า การที่ปรากฏการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นในที่ที่ไม่น่าจะได้เห็นกันง่ายๆ อาจหมายถึงภาวะอันตรายที่โลกอาจจะต้องเผชิญหรือไม่

แสงเหนือ-แสงใต้ หรือ ออโรรา (Aurora) คืออะไร

แสงเหนือ หรือ ออโรรา (Aurora) เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ที่มีแสงเรืองสีต่างๆ บนท้องฟ้ายามค่ำคืน แสงออโรราเกิดขึ้นที่ความสูงจากพื้นโลกประมาณ 100-300 กิโลเมตร บริเวณบรรยากาศชั้นบนที่อยู่ใกล้กับอวกาศ มักเกิดขึ้นในแถบประเทศที่ตั้งอยู่ในเขตละติจูดสูง ซึ่งก็คือ บริเวณขั้วโลกที่มีอุณหภูมิต่ำ อากาศหนาวเย็น ซึ่งหากเกิดบริเวณใกล้ขั้วโลกเหนือ จะเรียกว่า แสงเหนือ (Aurora borealis) และบริเวณใกล้ขั้วโลกใต้ เรียกว่า แสงใต้ (Aurora australis)

afp__20240513__34rf3bu__v1__h_1
แสงเหนือ ออนแทริโอ แคนาดา วันที่ 12 พ.ค.2024

 

แสงเหนือ-แสงใต้ หรือ ออโรรา (Aurora) เกิดขึ้นได้อย่างไร

แสงเหนือ-แสงใต้ เกิดจากอนุภาคอิเล็กตรอน โปรตอน หรือไอออนอื่นๆ ที่มีพลังงานสูงถูกปล่อยออกมาจากดวงอาทิตย์ขณะกำลังโคจร ซึ่งอนุภาคเหล่านี้จะเคลื่อนที่มากับลมสุริยะและเข้าสู่ชั้นบรรยากาศโลก เมื่ออนุภาคเคลื่อนที่ผ่านชั้นบรรยากาศในระดับความสูงประมาณ 80 – 1,000 กิโลเมตร จากพื้นดินจะชนเข้ากับโมเลกุลของก๊าซที่อยู่ในชั้นบรรยากาศ และปลดปล่อยพลังงานออกมาในรูปของแสงที่เรามองเห็นเป็นสีต่างๆ

afp__20240511__34re4jx__v3__h_1
แสงเหนือ ประเทศชิลี วันที่ 10 พ.ค.2024

 

ทำไมเห็น แสงเหนือ-แสงใต้ หรือ ออโรรา (Aurora) เป็นสีแตกต่างกัน

แสงขั้วโลกจะปรากฏเป็นสีและรูปร่างที่แตกต่างกัน โดยที่รูปร่างของแสงขั้วโลกนั้น ขึ้นอยู่กับลักษณะของสนามแม่เหล็กบนผิวโลก รูปร่างที่พบเห็นบ่อย คือเป็นแสงเรืองรองกระจายอยู่บนท้องฟ้า หรือมีลักษณะเป็นลำแสงชัดเจน หรือมีหน้าตาเหมือนม่านหมอกของละอองแสง

โลกของเรามีเกราะอยู่ 2 ชั้น คือ ชั้นนอกเป็นสนามแม่เหล็ก ชั้นถัดไปเป็นชั้นบรรยากาศ (Lonosphere) สีที่เราเห็นต่างกันจึงขึ้นอยู่กับชนิดของก๊าซที่มาชนด้วย ก๊าซต่างกันก็ให้สีที่ต่างกัน ทำให้เราเห็นเป็นแสงหลายๆ สี ซึ่งสีของแสงที่ปรากฏให้เห็นบนท้องฟ้าจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับว่าอนุภาคดังกล่าวชนกับโมเลกุลของก๊าซในช่วงระดับความสูงใด รวมถึงชนิดของก๊าซที่พบในชั้นบรรยากาศนั้นๆ ด้วย โดยก๊าซออกซิเจนจะให้แสงสีเขียวหรือสีแดง ไนโตรเจนให้แสงสีน้ำเงินหรือสีม่วง ส่วนฮีเลียมให้แสงสีฟ้าหรือสีชมพู

afp__20240511__34rd9up__v3__h_1
แสงเหนือ ซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา วันที่ 11 พ.ค.2024

 

แสงเหนือ-แสงใต้ หรือ ออโรรา (Aurora) พบได้ช่วงใด

แสงเหนือ-แสงใต้ เกิดขึ้นได้ตลอดทั้งปี ซึ่งบริเวณขั้วโลกมีช่วงเวลากลางวันกลางคืนที่สั้น-ยาว ไม่เท่ากัน ดังนั้นหากต้องการจะเห็นแสงเหนือ หรือที่หลายคนชอบพูดว่า "ไปล่าแสงเหนือ" ช่วงปลายเดือนตุลาคม-ต้นเดือนเมษายน หรือในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ จึงเป็นช่วงที่มีโอกาสเห็นมากที่สุด เพราะเป็นช่วงที่มีระยะเวลากลางคืนยาวนานกว่ากลางวัน ทำให้มีเวลาในการออกตามล่าหาเเสงเหนือ

นอกจากนี้ ช่วงเวลาและสภาพอากาศก็มีส่วนสำคัญ ต้องเป็นวันที่ท้องฟ้าปลอดโปร่ง ไร้เมฆ บรรยากาศมืดสนิท และช่วงเวลาประมาณ 22.00-24.00 น. จะยิ่งเพิ่มโอกาสในการเห็นแสงเหนือ-แสงใต้ ได้มากขึ้นด้วย

อย่างไรก็ตาม สภาพอากาศในแถบขั้วโลกมักมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วแบบที่คาดการณ์ไม่ได้อยู่บ่อยครั้ง การเปลี่ยนแปลงของชั้นบรรยากาศด้านล่างดวงอาทิตย์ ซึ่งใน 1 รอบของวัฏจักรสุริยะจะมีระยะเวลาเฉลี่ยถึง 11 ปี (วัฏจักรสุริยะ คือ รอบของการเปลี่ยนแปลงจำนวนจุดดับหรือจุดมืดบนดวงอาทิตย์) และในทุกครั้งของการเกิดวัฏจักรใหม่ ขั้วแม่เหล็กของดวงอาทิตย์จะมีการสลับขั้วเหนือ-ใต้ระหว่างกัน ทำให้เกิดปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ รวมถึงการเกิดพายุสุริยะ (Solar storm) และเปลวสุริยะ (Solar flare) ที่ส่งผลต่อการเกิดแสงเหนือ-แสงใต้

afp__20240511__34rd9tc__v2__h_1
แสงเหนือ นิวซีแลนด์ วันที่ 11 พ.ค.2024

 

แสงเหนือ-แสงใต้ หรือ ออโรรา (Aurora) พบได้ที่ประเทศใดบ้าง

• สวีเดน
• นอร์เวย์
• กรีนแลนด์
• ไอซ์แลนด์
• ฟินแลนด์
• รัสเซีย
• สหรัฐอเมริกา (รัฐอะแลสกา)
• แคนาดา

afp__20240511__34ra897__v3__h_1
แสงเหนือ สกอตแลนด์ วันที่ 11 พ.ค.2024

 

แสงเหนือ-แสงใต้ หรือ ออโรรา (Aurora) มีผลกระทบต่อโลกหรือไม่

ปรากฏการณ์การณ์แสงเหนือครั้งล่าสุด เกิดจาก พายุสุริยะ ระดับ G 5 ถือว่าเป็นระดับรุนแรงที่สุด จะส่งผลกระทบต่อ ระบบควบคุมแรงดันไฟฟ้าและระบบป้องกันเสียหายทั่ว ระบบสายส่งไฟฟ้าอาจล่มหรือดับถาวร หม้อแปลงไฟฟ้าอาจเสียหาย ยานอวกาศมีปัญหาจากประจุเข้มข้นที่สะสมที่ผิวยาน มีปัญหาด้านการสื่อสารและการควบคุมทิศ กระแสไฟฟ้าในท่อส่งน้ำอาจสูงหลายร้อยแอมแปร์ การกระจายสัญญาณความถี่สูงล้มเหลว เกิดแสงเหนือแสงใต้ลามไปถึงระดับละติจูดแม่เหล็ก 40 องศา

Advertisement

แชร์
แสงเหนือ คืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร ทำไมสีถึงต่างกัน อยากล่าแสงเหนือต้องไปช่วงไหน