เปิดตำรากฎหมาย "ยักยอกทรัพย์" คืออะไร พฤติกรรมแบบไหนถึงเป็นการยักยอก ถึงแม้จะเป็นคดีอาญา โทษหนักถึงติดคุก แต่สามารถยอมความได้
ยักยอกทรัพย์ = แอบเอา
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 ระบุว่า ผู้ใดครอบครองทรัพย์ของผู้อื่น หรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานยักยอก ต้องโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
แบบไหนถึงเป็นการยักยอก
ตัวอย่างคดี ลูกจ้างร้านทอง ทำทองคำน้ำหนัก 40 บาท ตกที่ถนน ตรงข้ามโลตัสปิ่นเกล้า เมื่อตรวจสอบวงจรปิดพบ มีผู้ "แอบเอาไป" ซึ่งมีความผิด ตามกฎหมายอาญา เข้าข่าย ยักยอกทรัพย์สินหาย และ ลักทรัพย์ผู้อื่น โทษสูงสุดของทั้ง 2 ข้อหา คือ ต้องระวางโทษจำคุก หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
ยักยอกทรัพย์ แม้เป็นคดีอาญาแต่ยอมความได้
คดียักยอกทรัพย์เป็นความผิดอาญาต่อส่วนตัว หรือ ความผิดอันยอมความได้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 356
ทางออกคดียักยอกทรัพย์ ก่อนที่จะไปถึงคำพิพากษา หากโจทก์และจำเลย พูดคุย ไกล่เกลี่ย มีการทำสัญญาในการตกลง การบรรเทา หรือการดำเนินชดใช้ค่าเสียหายต่างๆ อย่างชัดเจน เป็นที่พอใจแล้ว สุดท้ายข้อพิพาทต่างๆ ก็อาจจบลงด้วยดี
ข้อมูล : กระทรวงยุติธรรม
Advertisement