ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว หนีออกมาแล้วยังโดนกระทำ จะต้องใช้กฎหมายข้อไหนเอาผิด ถอดบทเรียน เมื่อแจ้งความอดีตคนรักทำร้ายร่างกาย ต้องทำอย่างไร
เพราะปัญหาความรุนแรงในครอบครัว เป็นหนึ่งในเรื่องที่เห็นได้บ่อยครั้งตามหน้าข่าวสาร ไม่ว่าจะเป็นประชาชนทั่วไป คนดัง นักร้อง นักแสดง รวมไปถึงเธอคนนี้ เชอรีน ณัฐจารี หรเวชกุล นักแสดงและศิลปิน ผู้เป็นน้องสาวของ นิชคุณ หรเวชกุล หรือ นิชคุณ 2PM ที่ล่าสุดเธอได้เดินทางเข้าแจ้งความดำเนินคดี อดีตสามีที่ทำร้ายร่างกายและคุกคาม ทั้งเมื่อตอนอดีตและปัจจุบัน
ก่อนหน้านี้ เชอรีน ได้ออกมาเปิดเผยถึงความสัมพันธ์ที่จบไม่สวยของทั้งคู่ ด้วยการแสดงจุดยืนเมื่อช่วงเดือนพ.ค.ที่ผ่านมาว่า เธอและสามีได้เลิกรากันตั้งแต่ช่วงเดือนตุลาคม ของปี 2566 แล้วจึงได้ประกาศเรื่องนี้ลงโซเชียลมีเดีย โดยในครั้งนี้เธอได้เปิดเผยถึงปัญหาที่เกิดขึ้น หลังเข้าแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจแล้ว
เชอรีน เปิดเผยสาเหตุของการทำร้ายร่างกาย มักเกิดหลังจากการที่อดีตสามีดื่มสุรา จากนั้นขาดสติ ด้วยความอารมณ์ร้อนจึงได้เจ้ามาทำร้ายร่างกาย รวมทั้งหมด 4 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อเดือนพฤษภาคม 2565 / ครั้งที่ 2 เดือนกรกฎาคม 2565 / ครั้งที่ 3 เดือนเมษายน 2566 / และครั้งที่ 4 เดือนกันยายน 66
ทุกครั้งที่เกิดการทำร้ายร่างกาย เชอรีนเป็นฝ่ายอดทน เพราะไม่อยากให้ครอบครัวแตกแยกให้ลูกเห็น แต่ครั้งสุดท้ายที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดความกลัวว่าเรื่องจะร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต ซึ่งหลังจากเลิกรากันไป ยังถูกก่อกวนและติดตามจากอดีตสามีโดยตลอด หลังจากเรื่องที่เกิดขึ้น ที่ปล่อยให้เกิดเป็นข่าว เพราะกลัวว่าหากวันใดเกิดเรื่องขึ้นกับเชอรีนเอง เรื่องจะได้ไม่เงียบ
เบื้องต้นการกระทำของอดีตสามีเชอรีน เข้าข่ายความผิด มาตรา 295 ผู้ใดทำร้ายผู้อื่น จนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้อื่นนั้น , ความรุนแรงในครอบรัว , ข่มขู่คุกคาม ทำให้ปราศจากเสรีภาพ คาดว่า 1-2 สัปดาห์จากนี้จะมีการออกหมายเรียก ส่วนกระบวนการไกล่เกลี่ยสามารถทำได้ควบคู่กันไปได้ เพราะเป็นเรื่องปัญหาในครอบครัว
ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว คืออะไร
ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ไม่ว่าจะเกิดจากบุคคลใด อาทิ สามีทำร้ายภรรยา พ่อแม่ทำร้ายร่างกายลูก หรือลูกทำร้ายร่างกายพ่อแม่วัยชรา ล้วนเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นตามข่าวอยู่บ่อยครั้งในสังคม มีทั้งกรณีที่ทำรุนแรง จนเกิดเป็นการพิการหรือบาดเจ็บสาหัญ หรือแม้กระทั่งเป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดการสูญเสีย นับวันยิ่งทวีความรุนแรงมาขึ้น โดยส่วนหใญ่แล้วผู้ที่ถูกกระทำหรือตกเป็นเหยื่อ มักเป็นเด็กและผู้หญิง
จากสถิติการช่วยเหลือเหยื่อจากความรุนแรงในครอบครัว ในรอบ 6 เดือน ของปี 2567 พบว่ามีจำ
นวนสูงถึง 1,296 ราย โดยส่วนใกญ่มักเกิดจากผู้เป็นสามีกว่า 41.63% โดยส่วนใหญ่เหยื่อเป็นเพศหญิงวัยกลางคนตั้งแต่อายุ 36-59 ปี สูงเป็นอันดับที่ 1 จำนวนกว่า 260 เคสจากที่สอบสวนแล้ว 956 ราย
นอกเหนือจากนี้ สถิติปัญหาความรุนแรงประจำเดือนเมษายน - พฤษภาคม 2567 ในระยะเวลาเพียง 2 เดือน กลับมีจำนวนสูงถึง 373 กรณี นับเป็น 410 ราย โดยเป็นความรุนแรงที่เกิดในครอยครัวถึง 281 ราย คิดเป็นร้อยละ 68.53
ปัจจัยของการกระทำความรุนแรง
ทั้งนี้หากปัญหาความรุนแรงภายในครอบครัว เกิดจากการที่สามีหรือภรรยาทำร้ายร่างกายกันเอง มีความผิดตามกฎหาย เพียงแต่สามารถยอมความได้ ซึ่งมีความผิดฐานจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และความผิดฐานทำร้ายร่างกายจนเกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
วิธีรับมือเมื่อเกิดปัญหาความรุนแรงภายในครอบครัว
ตั้งสติให้ดีหลังจากเกิดเหตุ อันดับแรกคือการขอความช่วยเหลือจากคนในครอบครัว หากตั้งสติได้เรียบร้อยแล้ว สามารถโทรขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือได้เร่งด่วน อาทิ
วิธีช่วยเหลือ หากพบปัญหาความรุนแรง
สำหรับผู้ที่พบเห็นความรุนแรงภายในครอบครัว สามารถแจ้งแต่เจ้าหน้าที่ได้ พร้อมได้รับความคุ้มครอง โดยการช่วยเหลือนั้น ไม่ต้องรับความผิดทางใด แต่ถ้าหากเมินเฉยทั้งที่สามารถช่วยได้ ผู้ที่พบเห็นอาจมีความผิดในโทษ จำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ทั้งนี้หากผู้ที่พบเห็นเหตุการณ์ที่ผิดปกติ หรือความรุนแรงดังกล่าว เป็นเหตุการณ์ที่ผู้ก่อเหตุมีอาวุธ, ผู้ก่อเหตุขู่ว่ามีอาวุธ หรือจะทำร้าย รวมถึงผู้ก่อเหตุเป็นผู้ชาย แต่ผู้เห็นเหตุการณ์เป็นผู้หญิง เหตุการณ์เหล่านี้ สามารถลดความสูญเสียได้ การไม่เข้าไปช่วยไม่มีความผิด
ที่มา : กรมประชาสัมพันธ์ (prd.go.th) / ฐานข้อมูลเปิดภาครัฐ (opendata.nesdc.go.th)
Advertisement