Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
ก.เกษตรฯ ขอความร่วมมือ 13 จังหวัด งดทำนาปรังรอบสอง ลดเสี่ยงขาดแคลนน้ำ

ก.เกษตรฯ ขอความร่วมมือ 13 จังหวัด งดทำนาปรังรอบสอง ลดเสี่ยงขาดแคลนน้ำ

23 มี.ค. 66
15:16 น.
|
1.7K
แชร์

กระทรวงเกษตรฯ ขอความร่วมมือชาวนาใน 13 จังหวัดพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยา งดทำนาปรังรอบ 2 ลดความเสี่ยงที่จะขาดแคลนน้ำ

นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีนโยบายส่งเสริมการปลูกข้าวปีละไม่เกิน 2 รอบ คือ การปลูกข้าวนาปี (ช่วง 1 พฤษภาคม – 31 ตุลาคม) การปลูกข้าวนาปรัง (ช่วง 1 พฤศจิกายน – 30 เมษายน) และหากมีการปลูกข้าวอีกจะเป็นนาปรังรอบที่ 2 (ช่วง 1 มีนาคม – 30 เมษายน) ซึ่งจะเป็นการปลูกข้าวเป็นรอบที่ 3 ของปี จากสถานการณ์การเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ในส่วนของการเพาะปลูกข้าวรอบที่ 2 พบว่า มีการเพาะปลูกข้าวรอบที่ 2 โดยเฉพาะพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยา หากเกษตรกรเพาะปลูกข้าวนาปรังรอบที่ 2 ทันที จะส่งผลกระทบต่อการใช้น้ำของข้าวที่อยู่ระหว่างการเพาะปลูก และกระทบต่อปริมาณน้ำต้นทุนของลุ่มเจ้าพระยา

กรมส่งเสริมการเกษตร จึงขอความร่วมมือจากเกษตรกร 13 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดระยอง ชลบุรี นครสวรรค์ พิจิตร ชัยนาท นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี ฉะเชิงเทรา นครปฐม สมุทรสาคร และจังหวัดสุพรรณบุรี งดทำนาปรังรอบ 2 เพื่อรักษาระดับน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยาและระบบชลประทาน ลดความเสี่ยงที่จะขาดแคลนน้ำ เนื่องจากไม่มีน้ำต้นทุนเพียงพอ ทั้งจะส่งผลเสียต่อระบบนิเวศจากภาวะน้ำเค็มรุกท้ายลุ่มเจ้าพระยา เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำเป็นไปตามแผนที่กำหนด รวมทั้งขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วนร่วมรณรงค์การใช้น้ำอย่างประหยัด เพื่อให้ปริมาณน้ำที่มีอยู่เพียงพอใช้ตลอดฤดูกาล

อีกทั้ง การพักนาไม่ปลูกข้าวอย่างต่อเนื่อง เป็นการพักดินเพื่อลดปัญหาการสะสมของโรค และแมลงศัตรูข้าว โดยเกษตรกรสามารถปลูกพืชปุ๋ยสดแทน เพื่อปรับปรุงดินให้ดีขึ้น ซึ่งสามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตด้านการใช้ปุ๋ยในฤดูกาลผลิตถัดไปได้

Advertisement

แชร์
ก.เกษตรฯ ขอความร่วมมือ 13 จังหวัด งดทำนาปรังรอบสอง ลดเสี่ยงขาดแคลนน้ำ