สร้างเกษตรกรรุ่นใหม่ พัฒนาท่องเที่ยวเชิงเกษตร มุ่งให้เศรษฐกิจก้าวหน้า
สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) จัดโครงการสร้างเกษตรกรรุ่นใหม่หรือ Young Smart Farmer ซึ่งเป็นโครงการที่กรมส่งเสริมการเกษตรและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ริเริ่มโครงการขึ้นมา มีเป้าหมายที่จะพัฒนาคนรุ่นใหม่ที่มีใจรักการเกษตรมีความสามารถมีแนวคิดและให้รู้จักบริหารจัดการการเกษตรด้วย นวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยมีนายสรศักดิ์ ไวจันทึก ผู้เป็นต้นแบบเกษตรกรรุ่นใหม่ในเขตปฏิรูปที่ดิน
นายสรศักดิ์ ไวจันทึก เกษตรกรเจ้าของสวนผักอินทรีย์ “ฟาร์มสุข ฟาร์มออร์แกนิก” ศูนย์การเรียนรู้เครือข่ายพิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา ได้เข้าร่วมโครงการสร้างและพัฒนาผู้นำเกษตรรุ่นใหม่ ปี 2557 (รุ่นที่10) ซึ่งเป็นโครงการของ ส.ป.ก. ที่ต้องการส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่หันมาทำเกษตรเพื่อทดแทนเกษตรกรผู้สูงอายุ โดยการต่อยอดสู่การเป็นต้นแบบทางธุรกิจให้กับชุมชนอำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา และการสร้างแรงผลักดันให้คนรุ่นใหม่หันมาทำการเกษตรในยุคดิจิตอลมากยิ่งขึ้น
ปัจจุบันนายสรศักดิ์ปฏิบัติงานที่ศูนย์การเรียนรู้เครือข่ายพิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯจังหวัดนครราชสีมา ทางศูนย์การเรียนรู้มีแปลงปลูกผักอินทรีย์ที่เป็นพืชผักเมืองหนาว ซึ่งการปลูกผักอินทรีย์ ผักปลอดภัย ผักไฮโดรโปนิกส์ คือการผลิตแบบองค์รวมไม่ใช้สารเคมีและเมล็ดพันธุ์เอ็มจีโอ การปลูกผักอินทรีย์ส่งผลดีต่อคน สัตว์ แมลง หรือสิ่งมีชีวิตเล็กๆ รวมถึงสิ่งแวดล้อม ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชทางตรงมีสามประการ
ปัจจัยเหล่านี้คือหลักทางพันธุศาสตร์ไม่สามารถขาดปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งไปได้ การเกษตรอินทรีย์เป็นการปลูกพืชที่ต้องลงดินเพราะฉะนั้นหัวใจหลักคือดินและค่าความกรดด่าง (PH) ของดินจะอยู่ที่ 5.5-6.5 ไม่สูงหรือต่ำกว่านี้ ทางศูนย์การเรียนรู้เครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรฯได้ปลูกผักสลัดต่าง ๆ เช่น สลัดแก้ว มินิคอส กรีนโอ๊ค เรคโอ๊ค ฟิลเลย์ไอซ์เบิร์ก และผักชนิดอื่น เช่น เบบี้แครอท บีทรูท การเกษตรแบบอินทรีย์นายสรศักดิ์ได้นำนวัตกรรมชีวภาพใช้ทรัพยากรหมุนเวียน เช่น น้ำหมักปลา ซึ่งในตัวปลามีโปรตีนสูงเมื่อโปรตีนเปลี่ยนสภาพไปเป็นอาหารพืชจะกลายเป็นไนโตรเจนสำหรับพืชผักหรือต้นไม้ที่ต้อง การบำรุงใบจะส่งผลได้ดีและเห็นผลเร็ว โดยการฉีดน้ำหมักตอนเช้าเหมาะแก่บำรุงใบและช่วงเย็นเหมาะแก่การกำจัดศัตรูพืช
อีกหนึ่งปัญหามักพบในการเกษตรแบบอินทรีย์คือโรคใบจุดตากบเกิดจากเชื้อรา Cercospora spp. พบในอากาศร้อนชื้น มีลักษณะต่างกันแล้วแต่ชนิดของผักที่เห็นได้ชัดคือตรงกลางแผลมีสีเทาอ่อน-ขาว รอบแผลมีสีน้ำตาลหรือน้ำตาลแดงคล้ายตากบ ป้องกันโดยการเตรียมแปลงและฉีดเชื้อไตรโคเดอร์มาฉีดพ่นหรือหว่านลงแปลงตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมแปลงหรือขั้นตอนก่อนปลูกพืช นายสรศักดิ์ได้ร่วมกับสมาชิกในนิคมเศรษฐกิจพอเพียง สร้างและพัฒนาสินค้าให้มีคุณภาพมาตรฐานที่คัดสรรตั้งแต่เมล็ดพันธุ์จนกลับมาเป็นเมล็ดพันธุ์อีกครั้ง เพื่อเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคและสร้างความเชื่อมั่นในสินค้าของอำเภอวังน้ำเขียว
นอกจากการใช้นวัตกรรมใหม่เข้ามาช่วยบริหารจัดการการเกษตร ทางศูนย์เครือข่ายพิพิธภัณฑ์การเกษตรฯมีการวางแผนพัฒนาเกษตรอินทรีย์สู่การท่องเที่ยวชุมชนเกษตรอินทรีย์ดึงดูดนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบในกิจกรรมเกี่ยวกับการเกษตรหรือผู้คนที่สนใจในการทำเกษตรมาทดลองเพื่อประกอบอาชีพเกษตรกรในอนาคตเป็นการสร้างรายได้แก่ชุมชน
Advertisement