สถานการณ์น้ำในพื้นที่ภาคอีสาน ที่มีลักษณะไหลรวมตัวกันลงสู่แม่น้ำโขงฝั่งของ อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี ประกอบกับก่อนหน้านี้เจอกับพายุโนรู ทำให้มีฝนตกหนักในพื้นที่ภาคอีสานตอนกลางและตอนล่าง ส่งผลให้ปริมาณน้ำไหลมารวมกัน
จนกระทั่งระบายลงสู่แม่น้ำโขงอย่างช้า ส่งผลให้พื้นที่ อ.เมือง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี ติดกับแม่น้ำมูล มีน้ำเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน และยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เนื่องจากยังมีปริมาณน้ำที่ไหลมาจากพื้นที่จังหวัดอื่น โดยเฉพาะ จ.สุรินทร์ และ จ.ยโสธร กำลังไหลมารวมกันที่ จ.อุบลราชธานี
วันที่ 12 ต.ค. 65 ทีมข่าวเดินทางไปสำรวจและเก็บปริมาณน้ำภายในพื้นที่เขต อ.เมือง และวารินชำราบ จ.อุบลราชธานี โดยจุดวัดปริมาณน้ำมูล ช่วงตั้งแต่ 06.0 0น. วัดได้ 11.51 มิลลิเมตร มีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเมื่อวาน
ส่วนเพจ "มีด่าน อุบลราชธานี" ลงคลิปเรือหางยาวล่ม ขณะที่รถบรรทุกขับผ่าน พร้อมกับเล่าว่า "#เบาได้เบา นั่งเรือจากสะพานมูลน้อยมุ่งหน้าเชนทรัล เจอรถบรรทุกขี่ลุยน้ำเกิด คลื่นชัดใส่เรือแบบเต็มๆ #เป็นไงไปดู" นั้น
บริเวณสะพานข้ามแม่น้ำมูลน้อย การไฟฟ้าอุบลราชธานี ก่อนถึงศูนย์การค้าเช็ลทรัลอุบลราชธานี จุดดังกล่าวมีน้ำมูลทะลักเข้ามาท่วมถนน บางจุดสูงถึง 1 เมตร ถนนสาย 231 จากเมืองอุบลไปฝั่งวารินชำราบ ถูกน้ำท่วมรถเล็กสัญจรไม่ได้ มีเพียงรถพวงยกสูง หรือเรือเท่านั้นที่จะวิ่งสัญจร ถนนจึงกลายเป็นทางเดินเรือหางยาว และเรือพายของชาวบ้าน สังเกตว่ามีบางช่วงรถขนาดใหญ่วิ่งผ่าน จึงทำให้ รถกับเรือต้องใช้ทางเดียวกัน และรถมักจะวิ่งจนเกิดเป็นคลื่นสูง ทำให้เรือเกิดเหตุถูกชัดล่มได้ง่าย
นายชาตรี ประดับเพชร อายุ 53 ปี คนขับเรือ เผยว่า เมื่อเช่ามีเรือของเพื่อนมาวิ่งรับส่งพนักงานของศูนย์การค้าเข็ลทรัล แต่ปรากฏว่า จังหวะที่รถพวงวิ่งผ่านน้ำมา เป็นเส้นทางที่เรือใช้ทางร่วมอยู่ ต้านคลื่นไม่ไหว พลิกคว่ำ แต่โชคดีจุดดังกล่าวน้ำไม่ลึก จึงไม่มีใครได้รับอันตราย แต่เครื่องยนต์เรือต้องพลิกคว่ำจมน้ำ เครื่องยนต์เรือตกน้ำ ทำให้ต้องส่งซ่อมและเปลี่ยนน้ำมันเครื่องใหม่ ไม่สามารถใช้งานได้ต่อ ส่วนเรือเพียงแค่พลิกคว่ำไม่ถึงกับกระแทรกหรือแตก
ส่วนตัวในฐานะคนขับเรือ เข้าใจว่ารถใหญ่มีความขำที่ตนวิ่งรับส่งของแล้วใช้ถนนหลัก แต่ในมุมชาวบ้านก็มีความจำเป็นต้องใช้เรือวิ่งบนถนน เพราะมีระยะทางใกล้กว่า และสะดวกกว่า ฉะนั้นจึงอยากให้ทั้งรถใหญ่และเรือ เข้าใจกันทั้ง 2 ฝ่าย ไม่เช่นนั้นก็จะเกิดอุบัติเหตุไม่คาดคิดแบบเช่นวันนี้อีก
สวนสัตว์จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นสวนสัตว์ขนาดใหญ่ มีน้ำเข้าไปท่วมจนทำให้สัตว์ที่ศูนย์จัดแสดงโชว์บางส่วนต้องรีบขนย้ายสัตว์หนีน้ำ การเข้าไปสำรวจความเสียหายนั้นต้องมีการใช้เรือ เนื่องจากจุดวัดระดับน้ำบริเวณด้านหน้าสวนสัตว์วัดได้อยู่ที่ 1.8 เมตร ระดับน้ำค่อนข้างสูง ถนนทางเข้าด้านหน้าของสวนสัตว์มีน้ำเต็มพื้นที่ อกจากพื้นที่ของสวนสัตว์ที่มีน้ำเข้าไปท่วมแล้ว บ้านเรือนชาวบ้านที่อยู่ทางเข้าสวนสัตว์ไม่ต่ำกว่า 100 หลังคาเรือน ต้องอพยพขึ้นที่สูงเช่นกัน
นายดนุเดช จันทน์หอม ผู้ช่วยผู้อำนวยการสวนสัตว์อุบลราชธานี เผยว่า ปีนี้ปริมาณน้ำค่อนข้างสูง ส่งผลกระทบให้ทางเข้าสวนสัตว์และพื้นที่จัดแสดงสัตว์ 3 โซน ได้รับความเสียหายและต้องเร่งอพยพสัตว์ขึ้นที่สูงอย่างปลอดภัย เมื่อเทียบกับปี 2562 ปริมาณน้ำท่วมแต่ไม่สูงเท่าปีนี้ หลังจากที่มีน้ำเข้ามาท่วมในพื้นที่สวนสัตว์จึงต้องเร่งอพยพสัดส่วนที่อยู่พื้นที่ต่ำ กลัวว่าจะได้รับผลกระทบ และที่สำคัญสัตว์ก็อาจแตกตื่น สัตว์ที่มีการขนย้ายขึ้นที่สูง มี 3 โซน คือส่วนจัดเลี้ยงนกคลาสโซวารี, นกอีมู และราฟรีเมอร์ ซึ่งเป็นสัตว์ตระกูลลิง เบื้องต้นพบว่ามีน้ำเข้ามาท่วมจึงต้องมีการย้าย
โดยจะต้องรอให้น้ำลดจึงจะมีการประเมินความเสียหายอีกครั้ง ส่วนในเรื่องของอาหารและยารักษาโรคของสัตว์นั้น เบื้องต้นได้มีการสำรองและกักตุนอาหารเพียงพอตลอดช่วงที่คาดการณ์ว่าน้ำจะท่วมต่อเนื่อง 1 เดือน และยังมีสัตวแพทย์ ประจำอยู่ที่สวนสัตว์ตลอด ที่สำคัญในเรื่องของการเฝ้าระวังเรื่องของระดับน้ำ หากพบว่ามีปริมาณน้ำสูงขึ้นหรือกำลังจะท่วมในสวนจัดเลี้ยงส่วนใด จะมีเจ้าหน้าที่คอยดูแลสัตว์เลี้ยงตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมอพยพขึ้นที่สูงโดยทันที
ช่วงค่ำ ทีมข่าวได้เข้าไปสำรวจความเป็นอยู่อาศัยของชาวบ้าน ต.แจละแม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี ชาวบ้านส่วนใหญ่มีการย้ายและอพยพขึ้นไปอยู่ที่สูง เนื่องจากน้ำท่วมใจอยู่อาศัยไม่ได้ แต่ยังมี 1 ครอบครัว ในบรรดา 70 หลังคาเรือนที่ยังอยู่อาศัยในบ้าน ครอบครัวนางจุฑามาศ อาศัยอยู่กับหลานชายวัย 7 ขวบ เป็นบ้านยกสูง พออยู่อาศัยบริเวณชั้น 2 ได้ อาศัยอยู่ภายใต้แสงเทียน และเสบียงอาหารที่มีการพายเรือไปรับเอาไว้ตั้งแต่ช่วงกลางวัน
นางจุฑามาศ บอกว่า ตนเองไม่ได้ไปอยู่ที่ศูนย์อพยพ เนื่องจากสถานที่ดังกล่าวคับแคบ ประกอบกับตนเองก็ได้พาหลานชายซึ่งเป็นเด็กพิการไปไว้ที่ศูนย์ดังกล่าวแล้ว กลัวว่าถ้าหากไปอยู่กันทั้งครอบครัวครบ 5 คน จะอยู่กินกันไม่เพียงพอ และค่อนข้างลำบาก จึงยอมที่จะอาศัยอยู่ในบ้านที่มีการต่อนั่งร้านยกสูง
นอกจากนี้ การให้บริการรถของหน่วยงานทหารและเรือของหน่วยงานพื้นที่ มีการให้บริการ ช่วงเวลาตั้งแต่ 08.00-18.00 น. ของทุกวัน ชาวบ้านที่จะต้องเข้า-ออกหรือข้ามฝั่งจาก อ.เมืองไปยังฝั่งวารินชำราบ ต้องมีการจัดการหาวิธีด้วยตนเอง จึงทำให้ช่วงค่ำของทุกวัน มีชาวบ้านบางส่วนที่เลิกงานใช้เรือหางยาวมาวิ่งให้บริการทำเป็นอาชีพเสริม วิ่งให้บริการรับส่งชาวบ้านภายหลังที่รถและเรือของเจ้าหน้าที่หยุดให้การช่วยเหลือ คิดค่าน้ำมันคนละ 20-40 บาทต่อเที่ยว ชาวบ้านส่วนใหญ่ก็สมัครใจที่จะจ่าย เนื่องจากมีความจำเป็นที่ต้องเดินทาง
นายมีชัย คนขับเรือ บอกกับทีมข่าวว่า ปกติแล้วตนเองมีอาชีพหาปลา ภายหลังที่เลิกงานเสร็จจากงานประจำ ก็เอาเรือที่เคยหาปลามาวิ่งให้บริการชาวบ้าน อย่างน้อยก็เป็นการสร้างอาชีพเพิ่มในช่วงที่น้ำท่วม แต่อุปสรรคในการเดินเรือและกลางคืน ยอมรับว่าเรื่องของความมืด อาจทำให้เรือเฉี่ยวชนหรือพลิกคว่ำได้ ก็ต้องใช้ไฟฉายหรือไฟส่องกบติดหัวเพื่อที่จะส่องไฟนำทางในการเดินเรือ
Advertisement