กรมการแพทย์ ปรับแนวทางการรักษาโควิด 19 ลดระบบการกักตัวจาก 14 วัน และ 21 วัน เหลือ 10 วัน และ 20 วัน ตามลําดับ
วันที่ 3 พ.ย.64 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรมการแพทย์ ได้มีการจัดทำแนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) ฉบับปรับปรุง ประจำวันที่ 2 พฤศจิกายน 2564 สำปรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข ซึ่งการปรับปรุงดังกล่าวเป็นการหารือร่วมกันระหว่าง คณาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานต่างๆ และผู้แทนทีมแพทย์ที่ปฏิบัติหน้างานในการดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด ที่ได้มีการทบทวนแนวทางการดูแลตามข้อมูลวิชาการที่ได้รับจากทั้งในและต่างประเทศ โดยมีประเด็นต่างๆ ดังนี้
- เพิ่มรายละเอียด คำแนะนำเกี่ยวกับการตรวจวินิฉัยด้วย Antgen test kit (ATK)
- ตัด lopinavir/ritonavir ออกจากรายการยาที่แนะนำให้ใช้
- ปรับข้อบ่งชี้การใช้ remdesivir ให้ใกล้เคียงกับคำแนะนำของ the United States National Institute of Health (NIH) และ Infectious Disease Society of America (IDSA)
- เพิ่มรายละเอียดคำแนะนำการใช้ยาต้านไวรัสในหญิงตั้งครรภ์
- เพิ่มการให้ IVIG ในผู้ป่วย กรณี MIS-C
- ลดระยะเวลาการกักตัว (isolation) ลงจาก 14 วัน และ 21 วัน สําหรับผู้ป่วยทั่วไป และผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำหรือเป็นผู้ป่วยโควดิ-19 ที่มีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง ลงเหลือ 10 วัน และ 20 วัน ตามลําดับ รวมทั้งเน้นเรื่องการไม่ตรวจหาเชื้อด้วยวิธีการใด ๆ ซ้ำอีกในระยะเวลาสามเดือน หลังจากได้รับการวินิจฉัย
- แนะนําให้ทําการวิจัยโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยที่ได้มาตรฐาน สําหรับยาที่ยังไม่มีผลการวิจัยสนับสนุน ว่ามีประสิทธิภาพในการรักษาโควิด-19
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- ด่วน! เพิ่มเป็น 63 ประเทศ-พื้นที่ เดินทางเข้าไทยไม่ต้องกักตัว รับเปิดประเทศ 1 พ.ย.นี้
-โฆษกรัฐบาล กักตัวด่วน! หลังทีมงานติดโควิด งดบินไปสกอตแลนด์กับ นายกฯ
- เปิดรายชื่อ 46 ประเทศ เดินทางเข้าไทย ไม่ต้องกักตัว