ปิดฉาก หัวลำโพง เริ่มทยอยยุติเดินรถ 23 ธ.ค. นี้ ก่อนปรับปรุงเป็น พิพิธภัณฑ์รถไฟ

18 พ.ย. 64

หัวลำโพง หรือสถานีรถไฟกรุงเทพที่เปิดให้บริการอยู่คู่กับคนไทยเป็นเวลายาวนาน 105 ปี สู่การพัฒนาปรับเปลี่ยนบทบาทเป็นศูนย์กลางแหล่งช้อปปิ้งโรงแรม ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคมยืนยันใช้สถานีกลางบางซื่อเป็นสถานีสุดท้ายหรือเป็นสถานีต้นทางและปลายทางแทน หัวลำโพง ภายในสิ้นปี2564หมายความว่าจะต้องไม่มีรถไฟที่วิ่งเข้าหัวลำโพง เพื่อแก้จุดตัดกับถนนแก้ปัญหาจราจร ให้เป็นรูปธรรมและนำพื้นที่ย่านหัวลำโพงทั้งหมดมาพัฒนาปรับโฉมใหม่ภายใต้แนวคิดยังคงความเป็นอาคารอนุรักษ์ผสมผสานมีการจัดสรรพื้นที่ทั้งแนวราบและแนวสูงใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์เพื่อสร้างรายได้ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)อย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ ย้อนอดีตสำหรับสถานีหัวลำโพงถูกออกแบบเป็นรูปโดมสไตล์อิตาเลียนผสมผสานกับศิลปะยุคเรอเนสซองและมีนาฬิกาบอกเวลาที่มีอายุเก่าแก่ติดตั้งไว้ที่กึ่งกลางยอดโดมสถานีซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของสถานีเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองนี้ซึ่งเป็นส่วนที่จะยังคงอนุรักษ์ไว้ส่วนพื้นที่ด้านในโถงสถานีจะมีการปรับปรุงให้เป็นโมเดิร์นมากขึ้น

ส่วนแนวทางรถไฟจะมีการจัดระเบียบใหม่ให้มีความสะอาดสวยงามและทันสมัยเป็นพื้นที่ออกกำลังกายสำหรับประชาชนที่อยู่สองข้างทางจะต้องจัดระเบียบเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาบุกรุกซ้ำซากโดยเน้นย้ำให้จัดสรรพื้นที่ให้ประชาชนสามารถทำมาค้าขายได้ด้วย

นาย ศักดิ์สยาม กล่าวว่า ตามแผนดำเนินงานที่รฟท.นำเสนอจะทยอยลดขบวนที่จะเข้า”หัวลำโพง” เพราะบางขบวนยังมีผู้ใช้บริการมาก จำเป็นต้องทยอยเปลี่ยนผ่านเพื่อลดผลกระทบ ส่วนสายใต้ ยังต้องรอระบบเพื่อให้ขบวนรถวิ่งบนโครงสร้างของรถไฟชานเมืองสายสีแดงได้ซึ่งตนเห็นว่า การหยุดบริการที่หัวลำโพง เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทำให้เกิดความชัดเจน จึงให้รฟท.ทำแผนไทม์ไลน์ให้ชัดเจนและต้องตัดสินใจให้เด็ดขาด ภายในปี2564เพราะไม่ต้องการให้ปิดถนนรอรถไฟวิ่งผ่านเป็นปัญหาจราจรอีกต่อไปพร้อมกันนี้จะได้เดินหน้าการพัฒนาหัวลำโพงได้

“หากยังไม่กล้าทำให้ชัดเจนมัวแต่กังวลคนใช้บริการเยอะไม่หยุดเสียทีทุกอย่างก็เดินต่อไม่ได้ผมกล้ายอมรับถูกวิพากษณ์วิจารณ์เพราะสุดท้ายคนส่วนใหญ่จะได้ประโยชน์มหาศาลดังนั้นต้องกล้าที่จะทำ”

ส่วนการให้บริการสำหรับผู้ที่ต้องการเดินทางมายังหัวลำโพงจะไม่กระทบเพราะจะมีระบบฟีดเดอร์เป็นรถขสมก.วิ่งบริการระหว่างสถานีกลางบางซื่อ-หัวลำโพงใช้ทางด่วนและใช้ระบบตั๋วร่วมผู้โดยสารซื้อตั๋วรถไฟปลายทาง”หัวลำโพง”เมื่อลงรถไฟที่สถานีกลางบางซื่อจะสามารถใช้รถขสมก.ต่อไปยังหัวลำโพงโดยไม่ต้องเสียค่าโดยสารเพิ่มอาจต้องปรับพฤติกรรมการเดินทาง

สำหรับการพัฒนาที่ดินรถไฟคาดหมายในปี2565ไม่เฉพาะหัวลำโพงยังมีทำเลทองที่จะนำมาพัฒนาอีกเช่นสถานีธนบุรี-ศิริราช,พื้นที่แนวพระรามเก้าRCA-คลองตันประมาณ135ไร่ซึ่งล้วนมีศักยภาพมีระบบคมนาคมเชื่อมต่อพื้นที่จะสร้างรายได้เพิ่มให้รฟท.และสามารถนำมาอุดหนุนภาระบริการด้านPSOและคาดหวังว่าจะแก้ปัญหาขาดทุนของรฟท.ได้อย่างยั่งยืนใน5ปีจะเห็นรูปธรรม

647320

23 ธ.ค. ปรับตารางเดินรถไฟใหม่วิ่งเข้าหัวลำโพงเหลือ 22 ขบวน

รถไฟชานเมืองสายสีแดงเส้นทางบางซื่อ-รังสิตและบางซื่อ-ตลิ่งชันกำหนดเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์โดยเก็บค่าโดยสารรวมถึงเป็นการเปิดใช้สถานีกลางบางซื่ออย่างเป็นทางการวันที่ 29พ.ย. 2564 โดยมีบริษัทรถไฟฟ้าร.ฟ.ท.จำกัด(รฟฟท.)เป็นผู้เดินรถ

ส่วนขบวนรถไฟชานเมืองรถไฟทางไกลในปัจจุบันรฟท.ได้วางแผนปรับตารางการเดินรถใหม่จำนวน155ขบวนโดยเริ่มในวันที่ 23 ธ.ค. 2564 เบื้องต้นจะปรับลดการเดินรถเข้าสถานีหัวลำโพงเหลือ 22ขบวน/วัน

โดยขบวนรถไฟสายเหนือและสายอีสานปรับตารางเดินรถใหม่รวมทั้งหมด74ขบวน

1.รถไฟทางไกลเชิงพาณิชย์สายเหนือต้นทางเชียงใหม่สายอีสานต้นทาง”หนองคายและอุบลราชธานี”จะวิ่งบนโครงสร้างสายสีแดงเข้าสถานีกลางบางซื่อรวม42ขบวน/วัน

2.รถไฟชานเมืองสายเหนือ/สายอีสานอีกจำนวน14ขบวน/วันผู้โดยสารเปลี่ยนให้ใช้สถานีรังสิตและสถานีดอนเมืองเป็นจุดเชื่อมต่อกับรถไฟสายสีแดงเพื่อเข้าสู่สถานีกลางบางซื่อ

3.รถไฟชานเมืองสายเหนือจำนวน2ขบวน/วันวิ่งบนโครงสร้างรถไฟชานเมืองสายสีแดงสู่สถานีกลางบางซื่อ

4.รถไฟชานเมืองสายเหนือ/สายอีสานจำนวน6ขบวน/วันวิ่งบนโครงสร้างรถไฟชานเมืองสายสีแดงจากรังสิต-วัดเสมียนนารีจากนั้นจะใช้ทางรถไฟเดิมวิ่งเข้าสถานีบางซื่อเดิมและเข้าสู่สถานีหัวลำโพงเนื่องจากเป็นขบวนที่มีผู้โดยสารจำนวนมากจึงจะทยอยปรับต่อไป

5.ขบวนรถวิ่งLoopเป็นฟีดเดอร์สายสีแดงเส้นทางดอนเมือง-รังสิต-บางปะอิน-อยุธยา
จำนวน10ขบวน/วัน

ความถี่1ชม./ขบวนรองรับการยกเลิกเดินรถไฟบางขบวน

รถไฟสายใต้มีสถานีตลิ่งชันเป็นสถานีเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสารมีจำนวน62ขบวน

• ขบวนรถเร็วรถด่วนรถด่วนพิเศษจำนวน24ขบวน/วันจะใช้เส้นทางรถไฟเดิมวิ่งเข้าสถานีบางซื่อเดิมเนื่องจากอยู่ระหว่างจัดหาระบบห้ามล้ออัตโนมัติโดยหัวรถจักรจะเข้ามากลางปี2565จากนั้นจะทดสอบการเดินรถร่วมระหว่างรถไฟทางไกลกับสายสีแดงต่อไป

• รถไฟชานเมืองจากสุพรรณบุรีและนครปฐมจำนวน2ขบวน/วันวิ่งเข้าสถานีหัวลำโพง

• รถไฟชานเมืองเข้าสถานีธนบุรีสามารถใช้สถานีตลิ่งชันของสายสีแดงเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสารได้มีจำนวน2ขบวน/วันและขบวนรถเดิมอีก10ขบวน

• ขบวนรถวิ่งLoopเส้นทางสถานีธนบุรี-ศาลายา-มหิดล-นครปฐมเป็นฟีดเดอร์สายสีแดงจำนวน24ขบวน/วัน

รถไฟสายตะวันออกมีการยกเลิก7ขบวนที่เดินรถจากสถานีบางซื่อเข้าพื้นที่ชั้นในมีการปรับตารางเดินรถ19ขบวน

• รถไฟธรรมดาชานเมือง14ขบวน/วันเข้าสถานีหัวลำโพงเนื่องจากมีผู้โดยสารจำนวนมาก

• รถไฟธรรมดาชานเมืองจำนวน5ขบวนปรับวิ่งถึงสถานีมักกะสันเป็นจุดเชื่อมต่อกับแอร์พอร์ตเรลลิงก์

มีจุดเปลี่ยนถ่ายสินค้า3จุด

คือ1.สายเหนือ/อีสานที่สถานีเชียงรากน้อยตามผลศึกษาไจก้าเดิมจะมีการทำลานขนส่งและขยายทางใช้เงินลงทุน497.3ล้านบาทและหารือผู้ประกอบการขนส่งในการเข้ามาดำเนินการขนถ่ายสินค้า2.สายใต้ที่สถานีวัดสุวรรณจะปรับปรุงวงเงินค่าก่อสร้าง519.5ล้านบาทและ3.สายตะวันออกที่ICDลาดกระบัง

672942

ปรับโฉมชานชาลา-โรงซ่อม สำนักงานรฟท.120ไร่ผุดแลนด์มาร์กแห่งใหม่

สำหรับสถานีกรุงเทพปัจจุบันมีพื้นที่รวม120ไร่แบ่งเป็น

โซนA -พื้นที่ถนนเข้าออกและลานจอดรถด้านคลองผดุงกรุงเกษม16ไร่

โซนB -อาคารสถานีกรุงเทพ(หัวลำโพง) 13ไร่

โซนC -โรงซ่อมรถดีเซลรางและรถโดยสาร22ไร่

โซนD -ชานชาลาทางรถไฟ12ชานและย่านสับเปลี่ยน49ไร่

โซนE -อาคารสำนักงานการรถไฟตึกคลังพัสดุ20ไร่

อาณาเขตตั้งแต่ด้านติดถนนพระราม4ทอดยาวผ่านพื้นที่ชานชลาอาคารกองบังคับการตำรวจรถไฟสำนักงานรฟท.ตึกแดงจรดถนนพระราม1ติดกับสะพานกษัตริย์ศึกขนาบข้างด้วยคลองผดุงกรุงเกษมและถนนรองเมืองมูลค่าที่ดินกว่า 1.5 หมื่นล้านบาท

บริษัทเอสอาร์ทีแอสเสทจำกัด (เอสอาร์ทีเอ)ในฐานะบริษัทลูกของรฟท.ได้นำเสนอการศึกษา”สถานีกรุงเทพ”ว่ามีแนวคิดการพัฒนา”เน้นเป็นพื้นที่สาธารณะให้กับคนเมืองและเพิ่มศักยภาพพื้นที่เชิงพาณิชย์”และด้วยทำเลที่ตั้งอยู่กลางเมืองใกล้ทางด่วนมีรถไฟสีแดงส่วนต่อขยายและ MRTสีน้ำเงินมีเส้นทางรถท่องเที่ยวรอบเมืองติดคลองผดุงกรุงเกษมสามารถจะพัฒนาเป็น”ศูนย์คมนาคมกลางเมือง”

โดยการจัดสรรพื้นที่เน้นการพัฒนาแนวดิ่งสำหรับเชิงพาณิชย์ที่ทันสมัย(State-of-Art Mixed Use)เป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่เชิงวัฒนธรรมร่วมสมัยแหล่งศูนย์รวมร้านค้าและร้านอาหารที่มีชื่อรอบเกาะรัตนโกสินทร์ผสมผสานสินค้าแบรนด์เนมระดับโลกรวมถึงศูนย์ประชุมนานาชาติและอนุรักษ์อาคารสถาปัตยกรรมเดิมพื้นที่ประวัติศาสตร์เป็นพิพิธภัณฑ์
(Life Museum)เป็นสะพานเชื่อมประวัติศาสตร์สู่อนาคต
ส่วนพื้นที่โดยรอบมีปรับเป็นพื้นที่สีเขียวพื้นที่กิจกรรม(Green Space)

“อนุรักษ์มรดกคงความเป็นอัตลักษณ์เดิมปรับปรุงผสมโมเดิร์นเพื่อให้สอดคล้องกับการดำเนินชีวิตสมัยใหม่ เป็นแลนด์มาร์คแห่งใหม่ ของกรุงเทพฯ”

เปิดพิมพ์เขียว”หัวลำโพง”มิกซ์ยูสระดับเวิลด์คลาสขนาดมหึมา9แสนตารางเมตร

สถานีกรุงเทพมีทำเลที่ตั้งที่โดดเด่นอย่างมากเนื่องจากฝั่งหนึ่งเป็นย่านเมืองเก่าไชน่าทาวน์และอยู่ไม่ห่างจากรอบเกาะรัตนโกสินทร์กับอีกฝั่งเป็นศูนย์กลางธุรกิจหรือCBD แนวคิดการพัฒนาจึงออกมาในรูปแบบการผสมผสานระหว่างอัตลักษณ์เมืองเก่าและความทันสมัยชื่อ“ HualampongHeritage Complex”โดยอาคารโดมสถานีหัวลำโพงด้านหน้าจะอนุรักษ์ไว้เพื่อรำลึกประวัติศาสตร์ของกิจการรถไฟไทยในอดีต

มีพื้นที่พัฒนารวมประมาณ 900,000 ตารางเมตรประกอบด้วยเฟสแรกปรับปรุงอาคารโดมสถานีกรุงเทพพื้นที่ประมาณ 25,000ตารางเมตรซึ่งจะมีการบูรณะโดยคงสถาปัตยกรรมเดิมและพัฒนาโถงด้านในเป็นพื้นที่สำหรับร้านค้าแบรนด์เนมพิพิธภัณฑ์รถไฟ พัฒนาพื้นที่ส่วนถัดไปผุดอาคารสูงเป็นสำนักงานซึ่งการออกแบบตึกนี้ได้แรงบันดาลใจจาก...โลโก้ของรฟท.ที่มีลักษณะเป็นปีกนกโอบรอบตึกโดยมีพื้นที่รวม 130,000 ตารางเมตร

พัฒนาพื้นที่ติดกับคลองผดุงกรุงเกษมเป็น Promenadeประมาณ5 ชั้นพื้นที่ประมาณ 110,000 ตารางเมตรมีร้านค้าและสำนักงานและมีลานกิจกรรมและทางลงท่าเรือด้วยเพื่อใช้สำหรับการท่องเที่ยวทางน้ำรูปแบบใหม่ๆ

และมีอาคารส่วนของศูนย์ประชุมขนาดพื้นที่55,000ตารางเมตรและอาคารเป็นโรงแรมService Residenceพื้นที่60,000ตารางเมตร

ส่วนเฟส2จะเป็นการพัฒนา ส่วนทางรถไฟและย่านสีเปลี่ยน เป็นอาคารสูงอีก4หลังพื้นที่รวม490,000ตารางเมตรพัฒนาสำนักงานหรือโรงแรม

สำหรับที่ทำการสำนักงานของการรถไฟฯและตึกแดงตึกคลังพัสดุในปัจจุบันมีพื้นที่รวมประมาณ30,000ตารางเมตรเป็นอาคารอนุรักษ์คงสถาปัตยกรรมเดิมจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงโดยจะบูรณะเป็นร้านค้าและโรงแรมระดับ6ดาวเหมือนในยุโรป หลังจากนี้จะจ้างที่ปรึกษาเพื่อจัดทำแผนแม่บทและที่ปรึกษาออกแบบเพื่อลงรายละเอียดรูปแบบมูลค่าโครงการที่เกิดประโยชน์สูงสุด

อย่างไรก็ตาม การพัฒนาพื้นที่สถานีกรุงเทพยังมีปัญหาอุปสรรคที่ต้องเร่งแก้ไขในประเด็นผังเมืองกรุงเทพมหานครพ.ศ. 2556ที่ระบุว่าสถานีหัวลำโพงผังที่ดินเป็นสีน้ำเงินเป็นสถานที่ราชการดังนั้นภายใต้นโยบายการจัดประโยชน์ที่ดินต้องสอดคล้องกับการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อก่อประโยชน์สูงสุดเชิงพาณิชย์และการพิจารณาปรับผังเป็นสีแดงตามพื้นที่โดยรอบเป็นสิ่งจำเป็นต่อรูปแบบการพัฒนาและจูงใจเอกชนเข้าร่วมลงทุน

รฟท.ต้องไปดำเนินการเปลี่ยนผังสีเพื่อก่อสร้างตึกสูงรวมถึงการยุติการเดินรถไฟเข้าสถานีหัวลำโพงเพื่อจัดเตรียมพื้นที่ส่งมอบให้เอกชนที่จะเข้ามาพัฒนาขณะที่ยังมีข้อกังวล เรื่องการจัดระเบียบชุมชนสองข้างทางรถไฟ และเมื่อนักลงทุนที่จะเข้ามาแล้วจะมีกรณีรื้อ...ปรับ เปลี่ยนแบบ มีการทุบทำลายสถาปัตยกรรม ที่ควรอนุรักษ์ของสถานีหัวลำโพงหรือไม่

โฉมใหม่หัวลำโพงแบ่งเป็น 5 โซน ปรับแก้ผังเมืองเพื่อใช้ประโยชน์ที่ดิน

ไตรทิพย์ ศิวะกฤษณ์กุล กรรมการบริษัท และรักษาการกรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสอาร์ที เเอสเสท จำกัด กล่าวว่า ที่นี่จะเป็นขุมทองสร้างรายได้มหาศาลให้กับ รฟท. โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็น 5 โซน

โซน A 16 ไร่ เป็นอาคารสถานีหัวลำโพงและพื้นที่สาธารณะ

โซน B 13 ไร่ มีแผนปรับปรุงอาคารให้เป็นไปตามแนวทางอนุรักษ์

โซน C 22 ไร่ พื้นที่โรงซ่อมรถราง กำหนดเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ ร้านค้า ร้านอาหาร พื้นที่กิจกรรม เน้นพื้นที่สีเขียว มีต้นแบบจากเวนิส อิตาลี

โซน D 49 ไร่ พื้นที่ชานชาลา,เส้นทางทางรถไฟ,ย่านสับเปลี่ยนการเดินรถ มีแผนพัฒนาเป็นรูปแบบมิกซ์ยูส โรงแรม อาคารสำนักงาน ที่อยู่อาศัยคอนโดมิเนียม ห้างสรรพสินค้า โดยยึดต้นแบบ โตเกียว มิดทาวน์

โซน E 20 ไร่ อาคารสำนักงาน รฟท. ตึกคลังพัสดุเดิม มีแผนพัฒนาเป็นมิกซ์ยูส โรงแรม อาคารสำนักงาน ศูนย์กิจกรรม โดยยึดต้นแบบโครงการ Suzhou Creek เมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน

อนึ่ง แผนเดิมที่เคยศึกษาไว้เมื่อ ปี 2555-2556 ได้นำมาพิจารณาให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป”

หัวลำโพง มีพื้นที่ทั้งหมด 132 ไร่ เมื่อตัดพื้นที่อนุรักษ์ ที่ต้องขึ้นทะเบียนโบราณสถานออกแล้วจะเหลือ 120 ไร่ ตามผังเมือง พื้นที่อยู่ในเขตสีน้ำเงิน เป็นสถานที่ราชการ สาธารณูปโภค ไม่สามารถพัฒนาเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ได้ บริษัท เอสอาร์ที เเอสเสท จำกัด จึงทำเรื่องขออนุมัติปรับสีผังเมืองให้เป็นสีแดง เพื่อพัฒนาโครงการต่อไป

ในส่วนของ พื้นที่อนุรักษ์ และพื้นที่สาธารณะ จะมีการปรับปรุงอาคารสถาปัตยกรรมเดิมให้คงไว้ตามแนวทางอนุรักษ์ และปรับทัศนียภาพให้สวยงาม เพิ่ม พื้นที่สีเขียว พัฒนาทางจักรยานริมรางรถไฟ

โดยแผนการอยู่ในขั้นตอนปรับแบบให้มีความเหมาะสม คาดว่าจะได้เห็นแบบเสมือนจริงในเดือนธันวาคม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

- รฟท.สยบดราม่า ยืนยัน ไม่ได้ห้ามถ่ายรูปใน สถานีรถไฟหัวลำโพง
- นายกฯ เปิดเรือไฟฟ้าสายแรกของไทย "หัวลำโพง-เทวราช" นั่งฟรี 6 เดือน
- ปรับ 500 ผู้ใจบุญแจกข้าว ริมถนนย่านหัวลำโพง

advertisement

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวทั่วไป เป็นกระแส