หมอยง ชี้คุม โอไมครอน ต้องตรวจให้เร็ว เผยข่าวดี จุฬาฯ เร่งพัฒนาตัวตรวจจับสายพันธุ์ใหม่

2 ธ.ค. 64

หมอยง ชี้ปัจจัยสำคัญคุม โอไมครอน ต้องตรวจหาเชื้อให้เร็ว เผยข่าวดี จุฬาฯ กำลังพัฒนาตัวตรวจจับสายพันธุ์ใหม่ ใช้เวลา 4 ชั่วโมง

วันที่ 2 ธ.ค. 2564 นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุถึงกรณีการควบคุมการระบาดสายพันธุ์โอไมครอน (Omicron) ว่าต้องตรวจหาให้รวดเร็ว ระบุ

ปัจจัยสำคัญในการควบคุมโรค covid-19 สายพันธุ์โอไมครอน ในบ้านเราจะต้องทำได้อย่างรวดเร็ว การตรวจวินิจฉัยจึงมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาให้ได้อย่างรวดเร็ว

ในต่างประเทศ ชุดตรวจที่มีการตรวจยีน S หรือยีนหนามแหลมสไปท์ ร่วมกับการตรวจยีนอื่นและถ้าให้ผลบวกต่อยีนอื่น โดยให้ผลลบต่อยีนหนามแหลมสไปท์ ที่มีการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมค่อนข้างมาก จะเข้าข่ายสงสัยไว้ก่อนทันที แต่สำหรับประเทศไทยชุดตรวจส่วนใหญ่ RT-PCR จะเป็นชุดตรวจ หายีน N ยีน E และยีน orf1ab หรือ RdRp ดังนั้น จึงใช้วิธีที่กล่าวไม่ได้

ขณะนี้ทางศูนย์ได้พัฒนา probe ตัวจับจำเพาะต่อสายพันธุ์โอไมครอน เพื่อการวินิจฉัยให้ได้รวดเร็วที่สุด ที่ผ่านมาก็มีตัวจับจำเพาะ (probe) ต่อสายพันธุ์อัลฟา สายพันธุ์เดลตาอยู่แล้ว สามารถทำพร้อมกันได้เป็นจำนวนมากและใช้เวลาเท่ากับการทำ RT-PCR ธรรมดา คือประมาณ 4 ชั่วโมงก็สามารถที่จะบอกหรือคาดว่าเป็นสายพันธุ์ โอไมครอน ได้

การตรวจยืนยันจำเป็นที่จะต้องใช้วิธีถอดรหัสพันธุกรรม โดยเฉพาะในรายที่สงสัยจากการตรวจกรองดังกล่าว ให้ได้อย่างรวดเร็ว
กลุ่มผู้ป่วยที่ต้องสงสัยและจำเป็นต้องตรวจหาสายพันธุ์โอไมครอน คือกลุ่มผู้ป่วยที่เดินทางมาจากต่างประเทศทุกคน ผู้ฉีดวัคซีนครบแล้วติดเชื้อ ผู้ที่เคยป่วยแล้วติดเชื้อซ้ำ ผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง หรือการระบาดใน cluster ควรสุ่มตัวอย่างในคลัสเตอร์มาตรวจทุกคลัสเตอร์

การถอดรหัสพันธุกรรมสำหรับประเทศไทยจะต้องทำเพิ่มขึ้น และมีการสุ่มหลากหลายในประชากร งบประมาณในส่วนนี้จำเป็นจะต้องใช้เพิ่มขึ้น เพื่อการเฝ้าระวังและควบคุมการระบาดในประเทศไทย และมีความจำเป็นที่ต้องทำอย่างรวดเร็วด้วย 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

หมอยง ชี้ โอไมครอน มีโอกาสแทนที่ เดลตา เหตุแพร่ได้เร็ว-มีอาการน้อย
หมอยง ตอบ 10 คำถามเกี่ยวกับ โควิดโอไมครอน เผย แพร่กระจายง่ายกว่าเดลตา
หยุดเฟคนิวส์! หมอยง ยัน ฉีดวัคซีนโควิดแล้วบริจาคโลหิตได้ ไม่ทำให้เลือดเป็นสีดำ

advertisement

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวทั่วไป เป็นกระแส