แม่ช็อกลูกซดชาเขียวกลายเป็นน้ำยาฆ่าเชื้อ ร้านแจงรับจากยี่ปั๊วคาดปนขวดเก่า (คลิป)

31 ธ.ค. 64

กรณีคุณแม่รายหนึ่ง โพสต์เฟซบุ๊กเล่าประสบการณ์ หลังจากลูกสาวซื้อชามาดื่ม แต่ไม่สังเกตว่าฝานั้นเปิดอยู่ก่อนแล้ว คาดว่าร้านค้าน่าจะพลาดเติมน้ำยาฆ่าเชื้อลงไป ทำให้ลูกสาววัย 9 ขวบ เกิดอาการแสบร้อนในช่องปากและลำคอ จนต้องหามตัวส่งโรงพยาบาล ซึ่งขณะนี้อาการของเด็กปลอดภัยแล้ว

242077

กระทั่ง คุณแม่โพสต์ความคืบหน้าว่า "ขณะนี้ลูกสาวปลอดภัยดี โดยแพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้ ทางครอบครัวได้ติดตามไปพูดคุยกับร้านค้าแล้ว ซึ่งทางร้านค้าชี้แจงว่า ร้านไม่เคยใส่น้ำยาฆ่าเชื้อลงไปในขวดชา คาดว่าน่าจะเป็นความผิดพลาดของแหล่งสินค้า (ร้านค้าส่ง) ซึ่งแพ็กสินค้าแยกส่งมาอีกทอดจากยี่ปั๊ว ครอบครัวไม่ติดใจเอาความกับร้านค้า เนื่องจากเชื่อว่าไม่มีใครอยากให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ และร้านยังยินดีที่จะช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่เกินมาจากเงินประกันด้วย โดยขอให้เหตุการณ์นี้เป็นอุทาหรณ์ สำหรับร้านค้าและคนที่มีลูกเล็กให้ระวังภัยใกล้ตัว"

295454

ล่าสุดวันที่ 31 ธ.ค.64 ทีมข่าวอมรินทร์ ทีวี จึงได้สอบถามไปยัง น.ส.อรวรรณ (สงวนนามสกุล) แม่ของเด็กที่ประสบเหตุ เปิดเผยว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ตนเจรจากับร้านค้าแล้ว และไม่อยากให้เป็นเรื่องใหญ่โต แต่ส่วนตัวอยากแชร์เรื่องนี้ให้เป็นอุทาหรณ์ เนื่องจากสิ่งนี้อาจเกิดขึ้นกับเด็กในครอบครัวอื่น ๆ ได้

cg_6

โดยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น ตนซื้อน้ำให้ลูกเสร็จก็กลับไปถึงที่บ้าน แต่ลูกสาวเข้าใจว่าตนเป็นคนเปิดขวดให้ ลูกสาวจึงดื่มไปโดยไม่ได้คิดอะไร และเพิ่งจะมาบอกตนภายหลังว่าขวดเปิดอยู่แล้ว เรื่องที่เกิดขึ้นตอนนี้ลูกตนปลอดภัยแล้ว ทราบว่าน้ำยาที่ดื่มเข้าไปน่าจะเป็นยาฆ่าเชื้อ ทำให้มีอาการปวดแสบปวดร้อน

466537

ทีมข่าวอมรินทร์ ทีวี จึงได้สอบถามไปยัง รศ.นพ.วีระศักดิ์ จรัสชัยศรี ผู้เชี่ยวชาญด้านนิติเวชศาสตร์ มศว กล่าวว่า น้ำยาฆ่าเชื้อจะแบ่งออกเป็นฆ่าเชื้อพื้นผิวกับผิวหนัง แต่ทั้ง 2 ประเภทจะมีสารไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์ ซึ่งส่งผลระคายเคืองต่อผิวหนัง ดวงตา และระบบทางเดินหายใจ ซึ่งการกินสารไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์ในเด็กและผู้ใหญ่จะส่งผลต่อระบบร่างกายไม่ต่างกัน แต่จะขึ้นอยู่กับปริมาณสารและน้ำหนักตัว ได้แก่ การระคายเคืองอวัยวะภายใน

754562

สำหรับการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ผู้ปฐมพยาบาลควรให้ผู้ป่วยดื่มน้ำ เพื่อเจือจางสารในร่างกาย และห้ามทำให้ผู้ป่วยอาเจียนออกมา เนื่องจากจะทำให้อวัยวะภายในระคายเคืองมากกว่าเดิม จากนั้นให้เร่งนำตัวผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล

106849

ส่วนการรักษาของแพทย์ ไม่มีการใช้ยาที่รักษาแบบเฉพาะเจาะจง แต่แพทย์จะดูแลระบบทางเดินหายใจของผู้ป่วย เนื่องจากสารไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์ จะไปกดระบบการหายใจ และรักษาความดันโลหิต ซึ่งหากในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงอาจจะต้องฟอกเลือดเพื่อกำจัดสารพิษร่วมด้วย 

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม