ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ข้อกำหนดตามพ.ร.ก.สถานการณ์ฉุกเฉิน ปรับมาตรการเข้าไทย

30 ม.ค. 65

ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศ คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ที่ 4/2565 เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 22) ปรับมาตรการเข้าไทย สกัดโอมิครอน

วันที่ 28 มกราคม 2565 เว็บไซต์ ราชกิจจานุเษกษา เผยแพร่คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ 4/2565 เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2558 (ฉบับที่ 22)

ประกาศฉบับดังกล่าว ระบุว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติในการประชุมเมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2565 ให้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรออกไปตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 จนถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2565

นายกรัฐมนตรีได้ออกข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548(ฉบับที่ 40) ลงวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2564 กำหนดประเภทของผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรให้สอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และสอดรับกับนโยบายการเปิดประเทศ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจของรัฐบาล และออกคำสั่งเพื่อกำหนดแนวปฏิบัติให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินและพนักงานเจ้าหน้าที่นำไปดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันโรคโดยเคร่งครัด

โดยมีคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ 24/2564 เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 19) ลงวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2564 คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ 25/2564

เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 20) ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ.2564 และคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ 2/2565 เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 21) ลงวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2564 นั้น

โดยที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ยังคงแพร่ระบาดในหลายประเทศทั่วโลกเนื่องจากปรากฏกรณีไวรัสโคโรนา 2019 กลายพันธุ์ สายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) ที่สามารถแพร่กระจายและมีโอกาสติดเชื้อได้ง่ายกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ อย่างไรก็ดี ด้วยพบว่า ไวรัสโคโรนากลายพันธุ์สายพันธุ์โอมิครอน ไม่ทำให้ผู้ติดเชื้อเกิดอาการป่วยที่รุนแรง และจำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 มีจำนวนลดลงตามลำดับ

จึงเห็นควรปรับมาตรการป้องกันโรคเพื่อประโยชน์ด้านเศรษฐกิจควบคู่กับความมั่นคงด้านสาธารณสุข เพื่อให้การดำเนินการตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าว

และตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 5/2563 เรื่อง การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ลงวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2563 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นไปอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์

อาศัยอำนาจตามความในข้อ 4 (2) ของคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 4/2463 เรื่องแต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบและพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินลงวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ.2563 และที่แก้ไขเพิ่มเติม นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้อำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 จึงมีคำสั่งให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินและพนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันโรค ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ให้คำสั่งระงับการรับลงทะเบียนการเดินทางเข้าราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว สำหรับผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรประเภท (2) ของข้อ 1 ของคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ 23/2564 เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 19) ลงวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ.2564

ตามคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ 25 /2564 เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 20) ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2564 และคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่2 /2564 เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 21) ลงวันที่ 8 มกราคม พ.ศ.2565

ยกเว้นกรณีการเดินทางเข้ามา ในราชอาณาจักรของผู้ซึ่งได้รับอนุญาตประเภท (2) ที่เดินทางเข้ามาในพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยวได้แก่ จังหวัดกระบี่ จังหวัดภูเก็ต จังหวัดพังงา จังหวัดสุราษฎร์ธานี (เฉพาะเกาะเต่า เกาะพะงันและเกาะสมุย) ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น

ข้อ 2 ให้รับการลงทะเบียนการเดินทางเข้าราชอาณาจักรของผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรประเภท (1) และ (2) ของข้อ 1 ของคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ 24/2564 เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548(ฉบับที่ 19) ลงวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2564

โดยผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรประเภท (2)ให้รับการลงทะเบียนการเดินทางเข้าราชอาณาจักรเฉพาะผู้ที่เดินทางเข้ามาในพื้นที่จังหวัดชลบุรี (เฉพาะอำเภอบางละมุง เมืองพัทยา อำเภอศรีราชา อำเภอสัตหีบ (เฉพาะตำบลนาจอมเทียน และตำบลบางเสร่)และจังหวัดตราด (เฉพาะอำเภอเกาะช้าง) ซึ่งได้กำหนดให้เป็นพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยว ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 1กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป

ข้อ 3 ให้ปรับมาตรการป้องกันโรคสำหรับผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรประเภท (1) ของข้อ 1 ของคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(โควิด-19) ที่ 24/2564 เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 19) ลงวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ.2564

โดยให้มีหลักฐานที่ใช้ในการเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร และการตรวจหาเชื้อโรคโควิด-19 โดยวิธีRT-PCR ภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังนี้

(1) กรณีผู้เดินทางพำนักอยู่ในราชอาณาจักรเป็นเวลาน้อยกว่า 5 วัน ให้มีหลักฐานการชำระค่าที่พักหรือสถานที่กักกันที่ทางราชการกำหนดในวันแรกที่ผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร และหลักฐานการชำระค่าตรวจหาเชื้อโดยวิธี RT- PCR จำนวน 1 ครั้ง ทั้งนี้ ต้องเป็นโรงแรมหรือสถานที่พักหรือสถานที่กักกันที่ทางราชการกำหนดที่มีโรงพยาบาลคู่ปฏิบัติการตามหลักเกณฑ์ที่ทางราชการกำหนดและได้รับการขึ้นทะเบียนตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาและการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยกำหนด หรือสถานที่ซึ่งผู้เดินทางต้องเข้ารับการกักกันตามที่ทางราชการกำหนด

ได้แก่ สถานที่ที่ผู้เดินทางต้องเข้ารับการกักกันซึ่งได้ขึ้นทะเบียนต่อกระทรวงสาธารณสุขหรือสถานที่ซึ่งผู้เดินทางต้องเข้ารับการกักกันตามที่คณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานครหรือคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดแล้วแต่กรณี อนุมัติและตรวจสอบ สำหรับในกรณีการเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรทางอากาศให้มีบัตรโดยสารของสายการบินที่ระบุหัวงระยะเวลาในการเดินทางออกจากราชอาณาจักรด้วย

(2) กรณีผู้เดินทางพำนักอยู่ในราชอาณาจักรเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 วัน ให้มีหลักฐาน การชำระค่าที่พักหรือสถานที่กักกันที่ทางราชการกำหนดในวันแรกที่ผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรและในวันที่ 5 ของระยะเวลาที่พำนักอยู่ในราชอาณาจักร และหลักฐานค่าตรวจหาเชื้อโดยวิธี RT- PCR จำนวน 2 ครั้ง

ทั้งนี้ ต้องเป็นโรงแรมหรือสถานที่พักหรือสถานที่กักกันที่ทางราชการกำหนด ที่มีโรงพยาบาลคู่ปฏิบัติการตามหลักเกณฑ์ที่ทางราชการกำหนด และได้รับการขึ้นทะเบียนตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาและการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยกำหนด หรือสถานที่ซึ่งผู้เดินทางต้องเข้ารับการกักกันตามที่ทางราชการกำหนด

ได้แก่ สถานที่ที่ผู้เดินทางต้องเข้ารับการกักกันซึ่งได้ขึ้นทะเบียนต่อกระทรวงสาธารณสุขหรือสถานที่ซึ่งผู้เดินทางต้องเข้ารับการกักกันตามที่คณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานครหรือคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด แล้วแต่กรณี อนุมัติและตรวจสอบโดยให้โรงพยาบาลคู่ปฏิบัติการของโรงแรมหรือสถานที่พักหรือสถานที่ซึ่งผู้เดินทางต้องเข้ารับการกักกันตามที่ทางราชการกำหนด แล้วแต่กรณี

ดำเนินการตรวจหาเชื้อโรคโควิด-19 โดยวิธี RT-PCR ครั้งที่ 1 ในวันแรก และครั้งที่ 2 ในวันที่ 5 ของระยะเวลาที่ผู้เดินทางพำนักอยู่ในราชอาณาจักรหรือเมื่อมีอาการของโรคระบบทางเดินหายใจ หรือตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด

ข้อ 4 ให้ปรับมาตรการป้องกันโรคสำหรับผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรประเภท (2) ของข้อ 1 ของคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่24 /2564 เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 19) ลงวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2564 เฉพาะที่เดินทางเข้ามาในพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยว ได้แก่ จังหวัดกระบี่ จังหวัดภูเก็ต จังหวัดพังงา จังหวัดสุราษฎร์ธานี (เฉพาะเกาะเต่า เกาะพะงัน และเกาะสมุย) จังหวัดชลบุรี (เฉพาะอำเภอบางละมุง เมืองพัทยา อำเภอศรีราชา อำเภอสัตหีบ (เฉพาะตำบลนาจอมเทียน และตำบลบางเสร่) และจังหวัดตราด (เฉพาะอำเภอเกาะช้าง)

โดยให้มีหลักฐานที่ใช้ในการเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร การตรวจหาเชื้อโรคโควิด 19 โดยวิธี RT-PCR จำนวน 2 ครั้ง และการเดินทางในระหว่างที่พำนักอยู่ในพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยว ภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังนี้

(1) ให้มีหลักฐานการชำระค่าที่พักหรือสถานที่กักกันที่ทางราชการกำหนดเมื่อผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร ไม่น้อยกว่า 7 วัน และหลักฐานค่าตรวจหาเชื้อโดยวิธี RT-PCR จำนวน 2 ครั้ง ทั้งนี้ต้องเป็นโรงแรมหรือสถานที่พักหรือสถานที่กักกันที่ทางราชการกำหนดที่มีโรงพยาบาลคู่ปฏิบัติการตามหลักเกณฑ์ที่ทางราชการกำหนด และได้รับการขึ้นทะเบียนตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาและการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยกำหนด หรือสถานที่ซึ่งผู้เดินทางต้องเข้ารับการกักกันตามที่ทางราชการกำหนด

ได้แก่ สถานที่ที่ผู้เดินทางต้องเข้ารับการกักกันซึ่งได้ขึ้นทะเบียนต่อกระทรวงสาธารณสุขหรือสถานที่ซึ่งผู้เดินทางต้องเข้ารับการกักกันตามที่คณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานครหรือคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด แล้วแต่กรณี อนุมัติและตรวจสอบ และให้บังคับใช้เงื่อนไขนี้กับผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรที่แม้จะมีสถานที่พำนักอยู่ในพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยวด้วย

เว้นแต่กรณีที่ผู้เดินทางพำนักอยู่ในพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยวเป็นเวลาน้อยกว่า 5 วัน ให้มีหลักฐานการชำระค่าตรวจหาเชื้อโดยวิธี RT-PCR จำนวน 1 ครั้ง และกรณีที่ผู้เดินทางพำนักอยู่ในพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยวเป็นเวลาน้อยกว่า 7 วัน ให้มีหลักฐานการชำระค่าที่พักหรือสถานที่กักกันที่ทางราชการกำหนดตามระยะเวลาที่ผู้เดินทางพำนักอยู่ในพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยว

สำหรับในกรณีการเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรทางอากาศ ให้มีบัตรโดยสารของสายการบินที่ระบุหัวงระยะเวลาในการเดินทางออกจากราชอาณาจักรด้วย

(2)ให้โรงพยาบาลคู่ปฏิบัติการของโรงแรมหรือสถานที่พักหรือสถานที่ซึ่งผู้เดินทางต้องเข้ารับการกักกันตามที่ทางราชการกำหนด แล้วแต่กรณี ดำเนินการตรวจหาเชื้อโรคโควิด-19 โดยวิธี RT-PCR ครั้งที่ 2 ให้แก่ผู้เดินทาง ระหว่างวันที่ 5-6 ของระยะเวลาที่พำนักอยู่ในพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยว หรือเมื่อมีอาการของโรคระบบทางเดินหายใจ หรือตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด

(3) กรณีผู้เดินทางในพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยวในกลุ่มจังหวัดกระบี่ จังหวัดภูเก็ตจังหวัดพังงา และจังหวัดสุราษฎร์ธานี (เฉพาะเกาะเต่า เกาะพะงัน และเกาะสมุย) หากผลการตรวจเชื้อโรคโควิด-19 โดยวิธี RT-PCR ในครั้งแรกยืนยันว่าผู้เดินทางไม่มีเชื้อโรคโควิด-19 ให้ผู้เดินทางสามารถเดินทางในกลุ่มจังหวัดดังกล่าวได้ โดยให้ผู้เดินทางสามารถเปลี่ยนโรงแรมหรือสถานที่ พักหรือสถานที่ซึ่งผู้เดินทางต้องเข้ารับการกักกันตามที่ทางราชการกำหนดได้ไม่เกิน 3 แห่ง

ทั้งนี้ ต้องเป็นโรงแรมหรือสถานที่พักหรือสถานที่ซึ่งผู้เดินทางต้องเข้ารับการกักกันตามที่ทางราชการกำหนดที่อยู่ในพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยวเท่านั้น

ข้อ 5 ให้ผู้เดินทางซึ่งต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคตามข้อ 3 และข้อ 4 ข้างต้นยังคงปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคอื่น 1 ตามคำสั่งที่ได้ประกาศไว้ก่อนหน้านี้โดยเคร่งครัดและให้โรงแรมหรือสถานที่พักหรือสถานที่ซึ่งผู้เดินทางต้องเข้ารับการกักกันตามที่ทางราชการกำหนดแล้วแต่กรณี ดำเนินการกำกับ ติดตาม และตรวจสอบการเข้าพักหรือการเข้าออกของผู้เดินทาง ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์หรือแนวทางที่ทางราชการกำหนด

ข้อ 6 สำหรับผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรประเภท (3) (4) (5) และ (6) ของข้อ 1 ของคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ 24/2564 เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ฉบับที่ 19) ลงวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ให้ปฏิบัติตามคำสั่งที่ได้ประกาศไว้ก่อนหน้านี้โดยเคร่งครัด

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น

 01_3

02_3

03_1

04

05

advertisement

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวทั่วไป เป็นกระแส