จากกรณีมีข้อมูลพบเด็กป่วยด้วยภาวะเมทฮีโมโกลบิน หลังกินไส้กรอกไม่มียี่ห้อ ไม่มีเอกสารกำกับ อย. รุดตรวจสอบจับมือตำรวจสืบหาต้นตอไส้กรอกอันตรายและเก็บตัวอย่างส่งตรวจวิเคราะห์ เผยมีการเฝ้าระวังมาโดยตลอด พบไส้กรอกมีวัตถุกันเสียเกินปริมาณกำหนดบางส่วน และได้ดำเนินคดีแล้ว
นพ.วิทิต สฤษฎีชัยกุล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวว่า จากกรณีที่ศูนย์พิษวิทยารามาธิบดี เปิดเผยว่า มีเด็กป่วยด้วยภาวะเมทฮีโมโกลบิน จำนวน 6 ราย โดยมีประวัติกินไส้กรอกซึ่งไม่มียี่ห้อ ไม่มีเอกสารกำกับนั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้ร่วมกับตำรวจ บก.ปคบ. เพื่อสืบหาแหล่งที่มาของไส้กรอก และเก็บตัวอย่างเพื่อส่งตรวจวิเคราะห์ พร้อมประสานกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดที่พบปัญหาเพื่อดำเนินการอย่างเร่งด่วนแล้ว
ที่ผ่านมา อย. ได้มีการเฝ้าระวังสถานที่ผลิตผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ เช่น ไส้กรอก ลูกชิ้น โดยได้สุ่มเก็บตัวอย่าง ณ สถานที่จำหน่ายเพื่อวิเคราะห์หาปริมาณวัตถุกันเสีย ไนเตรท ไนไตรท์ ชนิดและปริมาณสีสังเคราะห์ ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 2561-2564 อย. ได้สุ่มเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ส่งตรวจวิเคราะห์ 392 ตัวอย่าง ผ่านมาตรฐาน 334 ตัวอย่าง ไม่ผ่าน 58 ตัวอย่าง คิดเป็น 14.80 % โดยไม่ผ่านเรื่องไนเตรท ไนไตรท์ 1.79 % ซึ่ง อย. ได้ดำเนินการตามกฎหมายกับผลิตภัณฑ์ที่ผิดมาตรฐานแล้ว
รองเลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า ไนเตรทและไนไตรท์ใช้เป็นวัตถุกันเสียเพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียในกลุ่มคลอสทริเดียม โบทูลินั่ม ซึ่งสามารถสร้างสารพิษที่เป็นอันตรายต่อระบบประสาทของผู้บริโภคและอาจทำให้เสียชีวิตได้ ปริมาณการใช้วัตถุกันเสียทุกชนิดต้องเป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้ว
ด้าน นางนฤมล ขันตีกุล เภสัชกรเชี่ยวชาญ หัวหน้ากลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า เด็กสองคนที่พบเกิดอาการดังกล่าวที่จังหวัดเชียงใหม่เด็กอายุ 5 และ 7 ปี มีอาการเวียนศีรษะและหายใจเร็ว เด็กทั้งสองเป็นครอบครัวเดียวกันและถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งเมื่อวันที่ 25 มกราคม ที่ผ่านมา ซึ่งทีมแพทย์ได้ให้การรักษาพร้อมกับขอคำปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์พิษวิทยารามาธิบดี ก่อนที่จะนำตัวส่งรักษาต่อที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ล่าสุดอาการปลอดภัยแล้ว
ทั้งนี้ ทราบว่าทั้งสองมีประวัติรับประทานไส้กรอกฟุตลองรสไก่รมควัน ไม่มียี่ห้อและไม่มีเครื่องหมาย อย. คาดว่าจะมีส่วนผสมของสารไนไตรท์ในปริมาณมาก ทำให้ ภาวะเมทฮีโมโกลบิน (Methemoglobin) ซึ่งสารไนไตรท์ที่มากเกินไปจะไปทำให้เม็ดเลือดแดงจับออกซิเจนได้น้อยลง จนเกิดภาวะขาดอากาศจนหายใจไม่ออกและตัวเขียวม่วง หากรุนแรงมีโอกาสเสียชีวิต
ในส่วนของ สารไนไตรท์ เป็นวัตถุเจือปนในอาหารที่ใส่เป็นวัตถุกันเสียและทำให้อาหารมีสีสันไม่จืดชืด ซึ่งสารชนิดนี้กฎหมายอนุญาตให้ใช้ได้ในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ไม่เกิน 80 มิลลิกรัมต่อหนึ่งกิโลกรัม และจนถึงขณะนี้ยังไม่ทราบว่าไส้กรอกที่เด็กรับประทานไปจนเกิดอาการมีสารชนิดนี้มากเกินที่กฎหมายกำหนดหรือไม่
อย่างไรก็ตาม จากการสอบถามทราบว่าไส้กรอกที่เด็กทั้งสองรับประทาน ไม่มียี่ห้อ ไม่มี อย. และ ไม่ระบุแหล่งผลิต แต่ทราบว่าผู้ปกครองได้สั่งซื้อทางออนไลน์ มีต้นทางจากตลาดมหาชัย จ.สมุทรสาคร ซึ่งตัวอย่างไส้กรอกดังกล่าวได้ถูกเก็บส่งตรวจที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ภาคเหนือเพื่อดูว่ามีปริมาณมากเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดหรือไม่
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- กิน ไส้กรอก ไม่มียี่ห้อ รามาฯเตือน เด็กป่วยเมทฮีโมโกลบินแล้ว 6 ราย
- สาวช็อก! อวสาน ไส้กรอก แดงเจอ แมลงสาบ ทั้งตัว เกือบลงกระทะทอดแล้ว
- มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เตือน ไส้กรอกแดง พบสารไนไตรท์เกินมาตรฐาน
Advertisement