ประเทศไทยไม่ได้เป็นประเทศเดียว ที่กำลังเจอปัญหา ซึ่งทำให้ต้องการประกาศผลการเลือกตั้งออกไป โดยมีหลายประเทศที่เคยเจอปัญหาในลักษณะนี้เช่นกัน
ที่
เมียนมา ซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านของไทยเคยเจอกับปัญหาการประกาศผลการเลือกตั้งมาแล้ว โดยในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อปีวันที่ 8 พ.ย. 2015 ซึ่งถือเป็นการเลือกตั้งครั้งแรกในรอบกว่า 20 ปีของเมียนมา พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย หรือเอ็นแอลดีของนางออง ซาน ซูจี เป็นฝ่ายที่คว้าชัยชนะได้อย่างถล่มทลาย แต่คณะกรรมการการเลือกตั้งของเมียนมากลับนับคะแนนและประกาศผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการอย่างช้า ท่ามกลางความกังวลว่ากกต.ของเมียนมากำลังช่วยให้พรรคสหสามัคคีและการพัฒนา ซึ่งเป็นพรรคที่สนับสนุนรัฐบาลทหารชนะการเลือกตั้ง นอกจากนี้ การเลือกตั้งของเมียนมายังมีปัญหาเรื่องรายชื่อผู้ใช้สิทธิตกหล่นในบางหน่วยเลือกตั้ง และการยกเลิกการลงคะแนนในบางพื้นที่ซึ่งเกิดเหตุความรุนแรง
คณะกรรมการการเลือกตั้งของเมียนมาใช้เวลานับคะแนนนานกว่า 1 สัปดาห์ หลังวันเลือกตั้ง และประกาศผลอย่างเป็นทางการในวันที่ 23 พฤศจิกายน โดยพรรคเอ็นแอลดีของนาซูจีนกวาดที่ไปถึง 77 เปอร์เซ็นต์ในที่นั่งรัฐสภา ขณะที่พรรคสหสามัคคีและการพัฒนาก็ได้ประกาศยอมรับความพ่ายแพ้ในเวลาต่อมา
ขณะที่
ปากีสถาน ก็ประสบกับปัญหาประกาศผลการเลือกตั้งล่าช้าเช่นกัน โดยในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 25 ก.ค. 2018 คณะกรรมการการเลือกตั้งปากีสถานออกมายอมรับว่าผลการนับคะแนนเลือกตั้งเป็นไปด้วยความล่าช้า ซึ่งเดิมจะประกาศผลเลือกตั้งภายใน 24 ชั่วโมงหลังปิดหีบ เนื่องจากเจอปัญหาเครื่องนับคะแนนขัดข้อง จนทำให้ต้องนับคะแนนด้วยมือแทน ท่ามกลางข้อครหาว่ามีการทุจริต รวมทั้งมีการตั้งคำถามถึงความชอบธรรมของการเลือกตั้งด้วย ซึ่งในเวลาต่อมาคณะกรรมการการเลือกตั้งก็ได้ประกาศผลการผลเลือกตั้งอย่างเป็นทางการในวันที่ 30 กรกฎาคม 5 วันหลังการเลือกตั้ง
ขณะที่ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีใน
ไนจีเรีย เมื่อวันที่ 23 ก.พ. 2019 ที่ผ่านมาก็มีความล่าช้า หลังมีการยุติการนับคะแนนชั่วคราว เนื่องจากยังไม่ได้รับผลการลงคะแนนจากทุกเขต ท่ามกระแสข่าวลือว่าจะมีการทุจริตเลือกตั้งเพื่อช่วยผู้สมัครบางราย แต่ในที่สุดกกต.ไนจีเรียก็ประกาศผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการในอีก 3 วันต่อมา
ข่าวสารเรื่องราวที่น่าสนใจอื่น ๆ ได้ที่
อมรินทร์ทีวี เอชดี ช่อง 34