"ศิริกัญญา" เชื่อ 'กสทช.' ปัดความผิดพ้นตัว โยนกฤษฎีกาตีความ จ่อฟ้อง กสทช. ขัดม.157 ฮึ่ม "มีชัย" อย่าตีความอำนาจควบรวม สร้างบรรทัดฐานใหม่
วันที่ 13 ก.ย. น.ส. ศิริกัญญา ตันสกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล และประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ สภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงกรณีที่ประชุมคณะกรรมการกฤษฎีกา คณะที่1 ทีมีนายมีชัย ฤชุพันธุ์เป็นประธานหารือในวันนี้ได้พิจารณาขอบข่าย
อำนาจของ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ต่อการควบรวมธุรกิจ ทรู -ดีแทค ที่มี นายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธานกรรมการ โดยมีมติว่า กสทช.ไม่มีอำนาจสั่งการ ว่า ส่วนตัวถือได้ว่าเกินความคาดหมาย แต่การที่ กสทช.พยายามหาหลังพิงจากการตีความของกฤษฎีกา เชื่อว่าไม่เพียงพอที่จะสามารถหลุดรอดการใช้อำนาจของตัวเองไปได้ ซึ่งอยากให้ กสทช.คิดใหม่ เพราะความเห็นของกฤษฎีกาไม่มีอำนาจผูกพันในองค์กรอิสระ การที่มีมติ 3 ต่อ 2 เพื่อยื่นไปยังนายกรัฐมนตรีขอให้กฤษฎีการตีความก็ใช้ได้เพียงแค่กรณีเป็นการภายใน ไม่มีผลผูกพัน ไม่สามารถเป็นที่พิงหลังให้กับกสทชได้. ขณะเดียวกันเรื่องที่มีการฟ้องร้องในชั้นศาลปกครองก็เป็นเพียงความเห็นเบื้องต้น ยังไม่เป็นที่สิ้นสุด ซึ่งการที่กสทช.จะมีอำนาจพิจารณาอนุญาตไม่ใช่ความผิดปกติ กสทช.อาจใช้อำนาจของตัวเองอนุมัติอนุญาตการควบรวมครั้งนี้ก็ทำได้ แต่การถอยร่นไปจนถึงว่าตัวเองไม่มีอำนาจหรือว่าพยายามที่จะ ตัดอำนาจให้พ้นตัว หากมองอีกมุมก็เป็นคนไม่หวงอำนาจ หรือไม่ใช้อำนาจของตัวเองอย่างเต็มความสามารถเพื่อทำหน้าที่ตามพรบ.กสทช.และตามรัฐธรรมนูญเพื่อปกป้องคุ้มครองผลประโยชน์ของประชาชน
ส่วนกรณีที่ว่า กสทช.จะเข้าข่ายละเว้นการปฏิบัติหน้าที่หรือไม่นั้น พรรคก็อยู่ระหว่างการพิจารณาว่าขัดต่อมาตรา 157 หรือไม่แต่เนื่องจากยังมีกระบวนการเตะถ่วงยื้อเวลาไปเรื่อย ทำให้พรรคยังไม่สามารถยื่นฟ้องความผิดฐานขัดมาตรา157 ได้ในเวลานี้ แต่เมื่อไหร่ที่รับคำวินิจฉัยการตีความทางกฎหมายของกฤษฎีกาก็จะเริ่มกระบวนการยื่นฟ้องทันทีส่วนการพยายามยืมมือ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รักษาการนายกรัฐมนตรี ให้ออกกคำสั่ง ขึ้นอยู่กับองค์กรที่ตีความแต่เชื่อว่ากฤษฎีกาที่ตีความทั้งๆที่รู้ว่าไม่มีผลผูกพันทางกฎหมายก็จะรอด แต่คนที่คิดว่าจะไม่รอดก็น่าจะเป็น กสทช.
น.ส.ศิริกัญญา ยังกล่าวถึงกรณีที่สำนักงาน กสทช.ขอข้อมูลเพิ่มเติมในวันพรุ่งนี้ (14เม.ย.) และคาดว่าจะปิดดีลปัญหาควบรวมได้ภายในปีนี้ เชื่อว่าคงเป็นภาวะกดดันจากเอกชนในเรื่องระยะเวลาการให้คำตอบภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ยื่นรายงาน ซึ่งมองว่าระยะเวลา 90 วันเป็นระยะเวลาของเลขาธิการสำนักงาน แต่ในส่วนของคณะกรรมการยังมีระยะเวลาพิจารณา ซึ่งในต่างประเทศใช้เวลาถึง 2 ปี จึงอยากขอให้ทางสำนักงานใจเย็น อย่าไปอยู่ภายใต้แรงกดดัน ของเอกชนมากจนเกินไป กฎหมายไม่ได้เขียนหละหลวม และให้อำนาจอย่างเต็มที่ พร้อมขอให้ตีความกฎหมายเข้าข้างตัวเอง และทั้งที่มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการที่ปรึกษาด้านกฎหมายของ กสทช. เพื่อทำหน้าที่เสนอความเห็นเกี่ยวกับข้อกฎหมาย โดยมีศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานอนุกรรมการ แต่กลับโยนให้กฤษฎีกาตีความ
น.ส.ศิริกัญญา กล่าวว่า อาจเป็นประวัติศาสตร์ซ้ำรอยในปี 59 ในการที่นายมีชัยมานั่งเป็นประธานกฤษฎีกาชุดนี้ เราเคยมีร่างรัฐธรรมนูญ 1 ฉบับ แต่ก็ยังยังไม่เป็นที่น่าพอใจกับผู้ที่มีอำนาจ และเมื่อมีฉบับที่สร้างปัญหาทำให้ประเทศยุ่งเหยิงจนถึงทุกวันนี้คือรัฐธรรมนูญ 60 และวาระ 8 ปีของนายกรัฐมนตรี รวมถึง การที่นายมีชัยมานั่งเป็นประธานคณะกรรมการกฤษฎีการับเผือกร้อนตีความทางกฎหมาย ทำให้ผูกพันยุ่งเหยิง สังคมต้องมาตีความเรื่องนี้ในอนาคตอีก ขอเรียกร้องอย่าให้ต้องคอยมาตีความใหม่เหมือนที่ทำไว้ในรัฐธรรมนูญ 60 อีก