Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
มาดูกัน! บุหรี่ไฟฟ้าคืออะไร? ทำไมหลายคนจึงนิยม เหตุใดจึงผิดกฎหมาย

มาดูกัน! บุหรี่ไฟฟ้าคืออะไร? ทำไมหลายคนจึงนิยม เหตุใดจึงผิดกฎหมาย

31 ม.ค. 66
11:08 น.
|
4.7K
แชร์

บุหรี่ไฟฟ้าคืออะไร? ทำไมหลายคนนิยม ส่วนผสม ลักษณะเป็นอย่างไร และเหตุใดจึงผิดกฎหมายในประเทศไทย อันตรายน้อยกว่าบุหรี่ทั่วไปจริงหรือไม่

บุหรี่ไฟฟ้า คือยาสูบอิเล็กทรอนิกส์ ภาษาอังกฤษเรียกว่า electronic cigarette หรือ บุหรี่ไอน้ำ เป็นอุปกรณ์สูบบุหรี่ชนิดหนึ่ง ซึ่งใช้กลไกไฟฟ้าทำให้เกิดความร้อนและไอน้ำที่ประกอบไปด้วยสารเคมีต่างๆ

เป็นผลิตภัณฑ์ยาสูบจำพวกบุหรี่ บุหรี่ซิการ์ และบุหรี่แบบกล้องสูบ ทำขึ้นจากอุปกรณ์ประจุแบตเตอรีที่จะส่งผ่านนิโคตินไปยังผู้สูบ โดยมีลักษณะคล้ายคลึงกับยาสูบจริง โดยทั่วไปจะมีอยู่ 2 แบบคือ แบบที่คล้ายกับบุหรี่จริง กับแบบที่เรียกว่าแบบปากกา

มีลักษณะเหมือนบุหรี่ที่มีปลายด้านก้นกรองเสียบอยู่กับตัวต่อก้นกรองอีกชั้นหนึ่ง แต่ในปัจจุบันเริ่มมีลักษณะที่ถูกผลิตให้ไม่มีลักษณะคล้ายบุหรี่ แต่มีลักษณะคล้ายรีโมตรถยนต์ และยังมีรูปแบบที่ผู้ใช้ปรับปรุงเองด้วย

ทั้งนี้ “บุหรี่ไฟฟ้า” ถูกคิดค้นขึ้นในประเทศจีน สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลักคือ บุหรี่ไฟฟ้าแบบเติมน้ำยา และบุหรี่ไฟฟ้าแบบใช้แล้วทิ้ง

บุหรี่ไฟฟ้า 

ส่วนประกอบของ “บุหรี่ไฟฟ้า” โดยทั่วไปสามารถถอดแยกชิ้นส่วนได้เป็น 3 ส่วนคือ 

  • ส่วนแบตเตอรี่  คือส่วนที่มีลักษณะคล้ายกับตัวบุหรี่ มีความยาวราว 55–80 มิลลิเมตร ส่วนปลายมักมีหลอดไฟแอลอีดีแสดงสถานะการทำงาน และแจ้งเตือนระดับแบตเตอรี่ มีทั้งแบบอัตโนมัติและแบบตรวจด้วยมือ 
  • ส่วนตัวสร้างควัน และความร้อน คือส่วนกลาง จะมีไมโครชิพควบคุมการทำงาน และขดลวดอีเล็กทรอนเพื่อเปลี่ยนน้ำยาให้กลายเป็นละอองไอน้ำ และสร้างกลิ่นเสมือนบุหรี่จริง 
  • ส่วนเก็บน้ำยา หรือส่วนปากดูด จะรูปร่างคล้ายปากเป็ด หรือทรงกระบอก และอีกด้านหนึ่งจะเป็นกระเปาะใส่วัสดุซับน้ำยาไว้ 

ยาสูบอิเล็กทรอนิกส์มีอันตรายน้อยกว่าบุหรี่ทั่วไป โดยเหตุผลสำคัญคือยาสูบอิเล็กทรอนิกส์ไม่ปล่อยควันยาสูบที่เป็นอันตราย แต่อาจมีสารตกค้าง และความเสี่ยงในการรับนิโคตินมากเกินไป ในด้านผลกระทบของการที่นิโคตินได้รับความร้อนก่อนที่จะถูกสูดเข้าไป ไม่มีผลต่อความแตกต่างของนิโคตินที่มีในบุหรี่จริง เพียงแต่จากนิโคตินที่ได้รับจากยาสูบอิเล็กทรอนิกส์ไม่มีสารเคมีหลายพันชนิดรวมอยู่ในนั้น ซึ่งสารเคมีหลายชนิดในบุหรี่จริงนั้นเป็นผลจากการเผาไหม้ยาสูบ

บุหรี่ไฟฟ้า

ในประเทศไทยกระทรวงสาธารณสุขได้มีมาตรการห้ามนำ “บุหรี่ไฟฟ้า” เข้ามาจำหน่ายในประเทศโดยใช้กฎหมาย 3 ฉบับ ได้แก่

  • พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2535 มาตรา 10 เรื่องห้ามผลิต นำเข้า เพื่อขายหรือเพื่อจ่ายแจกเป็นการทั่วไปหรือโฆษณาสินค้าอื่นใดที่มีรูปลักษณะ ที่ทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นสิ่งเลียนแบบผลิตภัณฑ์ยาสูบประเภทบุหรี่ซิการ์แรต หรือบุหรี่ซิการ์ มีโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท
  • พ.ร.บ.ยา พ.ศ. 2510 มาตรา 12 ห้ามมิให้ผู้ใดผลิต ขายหรือนำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่งยาแผนปัจจุบัน เว้นได้แต่ได้รับอนุญาตฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปีและปรับไม่เกิน 10,000 บาท และมาตรา 72 ห้ามมิให้ผู้ใดผลิตขาย หรือนำเข้าหรือสั่งนำเข้ายาที่มิได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา มาในราชอาณาจักร ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปีและปรับไม่เกิน 20,000 บาท
  • พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ผู้ใดนำหรือพาของที่ยังมิได้เสียค่าภาษีหรือของต้องจำกัดหรือของต้องห้าม หรือที่ยังมิได้ผ่านศุลกากรโดยถูกต้องเข้ามาในราชอาณาจักรสยามความผิดครั้ง หนึ่งจะมีโทษปรับเป็นเงิน 4 เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรขาเข้าด้วยแล้ว หรือจำคุกไม่เกิน 10 ปีหรือทั้งปรับทั้งจำ 

กระทรวงสาธารณสุขอ้างว่า พบปริมาณนิโคตินสูงกว่าบุหรี่ทั่วไปหลายเท่า และมีผลเสียต่อผู้ที่สูบ หากสูบบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ 1 มวน จะเท่ากับสูบบุหรี่ทั่วไปถึง 15 มวนหากนำไปใช้โดยปราศจากการดูแลของแพทย์จะเป็น อันตรายต่อหัวใจและหลอดเลือดได้ และยังอ้างอีกว่ายาสูบอิเล็กทรอนิกส์มีฤทธิ์เทียบเท่าเฮโรอีน 

ปัจจุบันในสังคมไทย “บุหรี่ไฟฟ้า” ยังไม่ได้รับอนุญาตให้นำเข้า และไม่ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

  

ขอบคุณข้อมูลจาก : https://th.wikipedia.org

Advertisement

แชร์
มาดูกัน! บุหรี่ไฟฟ้าคืออะไร? ทำไมหลายคนจึงนิยม เหตุใดจึงผิดกฎหมาย