เกียรติ สิทธีอมร ยกกฎหมาย ส.ป.ก. 2518 ยุติข้อพิพาท ส.ป.ก. – อุทยานฯเขาใหญ่

1 มี.ค. 67

 

เกียรติ สิทธีอมร ยกกฎหมาย ส.ป.ก. 2518 ยุติข้อพิพาท ส.ป.ก. – อุทยานฯเขาใหญ่  อย่าอ้างว่ารักป่า แต่ทำไมพวกนายทุน ยังอยู่ลอยนวล 

วันที่ 1 มี.ค. 67 นาย เกียรติ สิทธีอมร สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะ อดีตคณะกรรมการที่ดินแห่งชาติ กล่าวถึงกรณีข้อพิพาทการออก ส.ป.ก.ทับซ้อนพื้นที่ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ว่า 

ความขัดแย้งที่เกิดขึ้น จนถึงวินาทีนี้ไม่มีใครพูดถึง พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 เลย คนลืมไปแล้วว่าจริงๆ เมื่อก่อนไม่มีอุทยาน ในกฏหมายของ ส.ป.ก.ระบุไว้ชัดเจนว่า พื้นที่ใดหากมีการตราพระราชกฤษฎีกาให้พื้นที่ใดเป็นพื้นที่ ส.ป.ก. แล้ว สิทธิของเจ้าของในพื้นที่เดิมต้องถูกเพิกถอนเจ้าของเดิม ไม่ต้องไปผ่านกระบวนการเพิกถอน 

ปัญหาที่เกิดขึ้น คือ ส.ป.ก.ก็ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ในบางพื้นที่ไปตามที่มีการอนุมัติโดย ครม.แต่ปรากฎว่าหน่วยงานอื่นไม่เคยไปแก้แผนที่ของตัวเอง แล้วก็อ้างว่า แผนที่ตัวเองตรามาถูกต้อง แต่ลืมไปว่าหน่วยงานของเขาก็ผูกพันกับ พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 ด้วย เพราะฉะนั้นถ้าคุณเอาแผนที่เก่าไม่มีการปรับปรุงให้เป็นปัจจุบัน ตามการตราพระราชกฤษฎีกาของ ส.ป.ก.ถือว่าคุณมีความผิด 

นายเกียรติ กล่าวต่อว่า เราก็พบว่าหลายพื้นที่กลายเป็นพื้นที่ขัดแย้งกันไปหมด จุดเริ่มต้นตั้งแต่ปี 2543 สมัยนายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี ตอนนั้นมีมติ ครม.ให้สำรวจร่วมไปแล้วที่เขาเรียกว่า แนวเขตปี 43 ทุกคนร่วมสำรวจหมดทั้งป่าไม้ ส.ป.ก. และอุทยานที่เป็นส่วนหนึ่งของป่าไม้ในขณะนั้น ต่อมาไม่ยอมไปตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ทั้งที่ได้แนวเขตที่เห็นตรงกันหมด ถ้าพูดถึงอุทยานแห่งชาติเขาทับลาน ปี 43 ตอบโจทย์ชัดเจนมาก ของเขาใหญ่เป็นกรณีพิเศษ จุดเริ่มต้นที่ต้องตอบให้ได้ก็คือ เคยมีการตราพระราชกฤษฎีกา เป็นที่ ส.ป.ก.หรือไม่ 

ไม่ใช่ปล่อยให้กรมอุทยานออกมาพูดว่า แผนที่ข้าพเจ้ามีมาตั้งแต่ปี 2500 กว่าแล้วมันถูกต้อง เพราะหากเคยตราเป็นพื้นที่ ส.ป.ก.แล้ว ต้องถือว่า เพิกถอนเจ้าของเดิม ถ้าเป็นอุทยานก็ต้องเพิกถอนไปแล้ว และถ้าอุทยานเอาแผนที่เก่าแล้วไม่ปรับปรุงตามการตราเป็นพระราชกฤษฎีกาไปใช้ถือว่า ผิด 

”การที่หน่วยงานรัฐ ซึ่งมีหน้าที่ไปพูดคุยกันเองก่อนที่จะไปจับชาวบ้าน เขาไม่ทำอย่างนั้น ที่ผ่านมาเราเห็นชัดเจนมีหลายกรณี ทั่วประเทศที่ร้องเรียนมาที่สภาฯในสมัยที่แล้ว และนี่คือเหตุผลว่าทำไมถึงมีการตั้งคณะกรรมการที่ดินแห่งชาติขึ้นมาออกเป็น พ.ร.บ.เลย แล้วผมก็นั่งอยู่ในกรรมาธิการวิสามัญที่ออก พ.ร.บ. นี้ ซึ่งได้มีการดำเนินการอย่างชัดเจนว่า เอาแผนแนวปี 43 มาก่อน เพราะสำรวจร่วมกันมาแล้ว ส่วนพื้นที่อื่นก็ไปสำรวจเพิ่มเติม ปัญหาที่ผมเห็นตลอด 2-3 วันนี้คือ ไม่เห็นใครซักถามอุทยานเลยว่า คุณมีการปรับปรุงแผนที่ของคุณตามกฏหมาย ส.ป.ก.ซึ่งผูกพันหน่วยงานคุณด้วย และมักจะบอกว่า พวกนี้เป็นนายทุนไปแย่งพื้นที่ป่า แล้วทำไมพวกนายทุนที่คุยกับอุทยานรู้เรื่อง ยังอยู่ได้ไม่รู้กี่ที่“ นายเกียรติ กล่าว 

นายเกียรติ กล่าวต่อว่า คำถามที่ต้องตอบให้ได้ก่อนว่า พื้นที่ที่พิพาทกันอยู่ใครเป็นผู้บริหารจัดการตามกฎหมาย ถ้าเป็นพื้นที่ที่ตราเป็นพระราชกฤษฎีกาไปแล้ว ต้องถือว่าไม่ใช่ของอุทยานอีกต่อไป สิ่งที่ตนกังวลก็คือ อยู่ดีๆ ตีฆ้อง ร้องป่าวอยู่เจ้าเดียวและบอกว่าข้าพเจ้ารักป่า แล้วคนอื่นที่ทำผิดหมด ไม่น่าจะใช่วิธีที่ถูกต้อง 

ทั้งนี้ พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มีสาระสำคัญเกี่ยวกับการนำที่ดินของรัฐมาปฏิรูปที่ดิน ระบุว่า กฎหมายปฏิรูปที่ดินมีบทบัญญัติมาตรา 26 ให้อำนาจ ส.ป.ก. ในการนำเอาที่ดินของรัฐหลายประเภทมาดำเนินการปฏิรูปที่ดิน และยังกำหนดยกเว้นให้การนำเอาที่ดินมานั้นไม่ต้องเพิกถอนสภาพตามกฎหมายอื่นเสียก่อนเพราะการปฏิรูปที่ดินต้องการความรวดเร็วที่จะช่วยเหลือผู้ไร้ที่ทำกิน จึงตัดขั้นตอนที่จะทำให้ล่าช้าออกไป อย่างไรก็ตาม ส.ป.ก. จะมีอำนาจนำเอาที่ดินมาก็ต่อเมื่อได้ประกาศเป็นเขตปฏิรูปที่ดินแล้ว ที่ดินของรัฐแต่ละประเภทมี ดังนี้ 

  1. สาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันหรือโดยทั่วไปเรียกว่าที่สาธารณประโยชน์ที่พลเมืองเลิกใช้ร่วมกันแล้ว เช่น ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น หากอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินและพลเมืองมิได้ใช้ประโยชน์ร่วมกันต่อไปแล้ว ถ้าที่ดินแปลงนั้นมีความเหมาะสมต่อการประกอบเกษตรกรรม ก็อาจถูกถอนสภาพจากการเป็นที่สาธารณประโยชน์และ ส.ป.ก. นำเอามาปฏิรูปที่ดินได้ 
  1. สาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะหรือโดยทั่วไปเรียกว่า ที่ดินหวงห้าม เช่น ที่สงวนหวงห้ามทหาร เป็นต้น ที่ดินเหล่านี้เป็นที่ราชพัสดุซึ่งกรมธนารักษ์กระทรวงการคลัง เป็นผู้ดูแล หากที่ดินอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินและกระทรวงการคลังยินยอมให้ปฏิรูปที่ดิน ก็ถือว่าที่ดินนั้นถูกถอนสภาพจากการเป็นที่ราชพัสดุโดยไม่ต้องถอนสภาพตามกฎหมายที่ราชพัสดุ และ ส.ป.ก. มีอำนาจนำมาปฏิรูปที่ดินได้ 
  1. สาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งเป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่า เช่น ที่ดินจำแนกออกจาก เขตป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรี ถ้าอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดิน ส.ป.ก. มีอำนาจนำมาปฏิรูปที่ดิน 

ที่ดินของรัฐแต่ละประเภทมี ดังนี้

  1. สาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันหรือโดยทั่วไปเรียกว่าที่สาธารณประโยชน์ที่พลเมืองเลิกใช้ร่วมกันแล้ว เช่น ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น หากอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินและพลเมืองมิได้ใช้ประโยชน์ร่วมกันต่อไปแล้ว ถ้าที่ดินแปลงนั้นมีความเหมาะสมต่อการประกอบเกษตรกรรม ก็อาจถูกถอนสภาพจากการเป็นที่สาธารณประโยชน์และ ส.ป.ก. นำเอามาปฏิรูปที่ดินได้ 
  1. สาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะหรือโดยทั่ว ไปเรียกว่า ที่ดินหวงห้าม เช่น ที่สงวนหวงห้ามทหาร เป็นต้น ที่ดินเหล่านี้เป็นที่ราชพัสดุซึ่งกรมธนารักษ์กระทรวงการคลัง เป็นผู้ดูแล -หากที่ดินอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินและกระทรวงการคลังยินยอมให้ปฏิรูปที่ดิน ก็ถือว่าที่ดินนั้นถูกถอนสภาพจากการเป็นที่ราชพัสดุโดยไม่ต้องถอนสภาพตามกฎหมายที่ราชพัสดุ และส.ป.ก. มีอำนาจนำมาปฏิรูปที่ดินได้ 
  1. สาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งเป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่า เช่น ที่ดินจำแนกออกจากเขตป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรี ถ้าอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดิน ส.ป.ก. มีอำนาจนำมาปฏิรูปที่ดิน 
  1. ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติเสื่อมโทรม ที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ดำเนินการปฏิรูปที่ดินเมื่อประกาศเขตปฏิรูปที่ดิน ผลของพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดินมีผลเป็นการเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติในแปลงที่ ส.ป.ก. นำมาดำเนินการปฏิรูปที่ดินโดยไม่ต้องเพิกถอนตามกฎหมายป่าสงวนแห่งชาติ

advertisement

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวทั่วไป เป็นกระแส