ชาวไร่ยาสูบค้าน สธ. หวั่นบุหรี่เถื่อนพุ่ง วอนภาครัฐหาจุดสมดุล

5 มี.ค. 67

ชาวไร่ยาสูบค้าน สธ. หวั่นบุหรี่เถื่อนพุ่ง วอนภาครัฐหาจุดสมดุล 

นายสันต์ หารสุโพธิ์ นายกสมาคมการค้าใบยาสูบเตอร์กิซ ในฐานะตัวแทนภาคีชาวไร่ยาสูบจากภาคอีสาน กล่าวว่า “ตอนนี้มีกระแสข่าวว่า สธ. ได้เสนอร่างกฎหมายเพื่อแบนส่วนประกอบที่จำเป็นในการผลิตบุหรี่เข้าสู่การพิจารณาของ ครม. อีกครั้งหลังถูกตีกลับไป 2 รอบ ทั้งๆ ที่ให้มีการหาข้อยุติร่วมกันให้ได้ก่อนกับกรมสรรพสามิต การยาสูบแห่งประเทศไทย แต่กลับมัดมือชก และไม่มีการนำความเห็นของชาวไร่ เข้าไปปรับปรุงให้เหมาะสม แม้ร่างกฎหมายนี้จะก่อให้เกิดผลกระทบกับชาวไร่ยาสูบโดยตรง ทำให้พี่น้องชาวไร่ยาสูบ สับสนมากว่าเหตุใดแนวทางของกระทรวงสาธารณสุขยุคปัจจุบันจึงไม่ได้สนใจว่าประชาชนจะได้รับผลกระทบอย่างไร แต่กลับเร่งผลักดันกฎหมายอย่างสุดโต่งออกมาตลอด เช่นเดียวกับกรณีฉลากเหล้า ไวน์ที่ถูกคัดค้านจากสังคมอย่างมาก”

408688

“ร่างนี้ไม่ต่างอะไรกับการเพิ่มภาพคำเตือนด้านสุขภาพเข้าไปในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่จะกระทบโดยตรงกับผู้ผลิตรายย่อย ขัดกับนโยบายดึงดูดนักท่องเที่ยวด้วยการลดภาษีสุราพัฒนาท้องถิ่นด้วยซอฟต์พาวเวอร์ที่พรรคเพื่อไทยผลักดัน นอกจากนี้กระทรวงสาธารณสุขควรได้รับบทเรียนจากอุตสาหกรรมยาสูบแล้วว่าความสุดโต่งเรื่องภาพคำเตือนและข้อห้ามต่างๆ ไม่ได้ช่วยให้ผู้สูบบุหรี่ลดลงแต่อย่างใด แต่กลับไปงอกปัญหาที่บุหรี่เถื่อนและบุหรี่ไฟฟ้าที่ไม่ต้องทำตามกฎหมายใดๆ หากร่างนี้ผ่านจะยิ่งซ้ำเติมปัญหาดังกล่าวอย่างแน่นอน จึงหวังให้หาจุดสมดุลแก้ไขให้ยอมรับกันได้โดยไม่กระทบชาวบ้าน”

s__92921934_0_0

นายสันต์ หารสุโพธิ์ นายกสมาคมการค้าใบยาสูบเตอร์กิซ ทิ้งท้ายว่า “ยาสูบเป็นพืชเศรษฐกิจที่อยู่คู่สังคมไทยมาหลายชั่วอายุคน สร้างรายได้ที่มั่นคงกว่าฤดูกาลละ 15,000-20,000 บาทต่อไร่ให้กับเกษตรกรชาวไร่ยาสูบกว่า 30,000 ครัวเรือนทั่วประเทศไทย สังคมไทยอาจไม่รู้ว่ายาสูบต่างจากพืชชนิดอื่นที่มีการการันตีโควตาการปลูกจากผู้รับซื้อทั้งการยาสูบแห่งประเทศไทย และผู้ส่งออกใบยาเอกชน แต่ก็ต้องแลกกับการใช้แรงงานคนมหาศาลที่มีทักษะด้านการเกษตรขั้นสูงในการเพาะปลูก เก็บเกี่ยว และบ่มเพาะใบยาให้ได้คุณภาพตรงกับที่ผู้ซื้อต้องการ หากร่างกฎกระทรวงนี้ผ่านออกมาบังคับใช้ ไม่เพียงแค่ชาวไร่ที่เป็นผู้ปลูกที่จะได้รับผลกระทบ แต่ยังจะทำให้บุหรี่ผิดกฎหมาย บุหรี่เถื่อน พุ่งสูงขึ้นเนื่องจากผู้บริโภคสามารถหันไปหาของเถื่อนได้อย่างง่ายดายในปัจจุบัน”

s__92921935_0_0

advertisement

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวทั่วไป เป็นกระแส