เปิดลิสต์สินค้า เงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ซื้ออะไรไม่ได้บ้าง เงื่อนไขของคนซื้อและร้านค้า

24 เม.ย. 67

เปิดลิสต์สินค้า กระทรวงการคลัง เผยละเอียด เงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ซื้ออะไรไม่ได้บ้าง ใช้ได้ที่ไหน เงื่อนไขที่จำเป็นต้องรู้ทั้งคนซื้อและร้านค้า

นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบกรอบหลักการโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัล วอลเล็ต ตามมติคณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ดังนี้

กลุ่มเป้าหมายเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท

• ประชาชนที่มีที่อยู่ในทะเบียนบ้าน
• มีสัญชาติไทย
• ณ เดือนที่มีการลงทะเบียนอายุเกิน 16 ปี
• ไม่เป็นผู้ที่มีเงินได้พึงประเมินเกิน 840,000 บาทต่อปีภาษี
• มีเงินฝากกับธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจรวมกันไม่เกิน 500,000 บาท

เงื่อนไขการใช้จ่ายเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท

• ระหว่างประชาชนกับร้านค้า: ใช้จ่ายเชิงพื้นที่ในระดับอำเภอ (878 อำเภอ) การชำระเงินต้องเป็นแบบพบหน้า (Face to Face) กำหนดให้ใช้จ่ายกับร้านค้าขนาดเล็กที่รวมถึงร้านสะดวกซื้อขนาดเล็ก

• ระหว่างร้านค้ากับร้านค้า: ร้านค้าที่จะรับการใช้จ่ายจากประชาชนต้องเป็นร้านค้าขนาดเล็ก รวมถึงร้านสะดวกซื้อขนาดเล็กโดยไม่รวมห้างสรรพสินค้า ห้างค้าปลีก-ค้าส่งขนาดใหญ่ระดับประเทศและระดับท้องถิ่น ส่วนร้านค้าที่สามารถรับการใช้จ่ายจากร้านค้า ไม่มีการกำหนดเงื่อนไขเชิงพื้นที่และขนาดร้านค้า

436431845_1013408076821508_88

ประเภทสินค้าที่เข้าร่วมเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท

สินค้าทุกประเภทสามารถเข้าร่วมโครงการฯ ได้

ประเภทสินค้าไม่เข้าร่วมเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท

• สลากกินแบ่งรัฐบาล
• เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
• ยาสูบ
• กัญชา
• กระท่อม
• พืชกระท่อม
• ผลิตภัณฑ์กัญชาและกระท่อม
• บัตรกำนัล
• บัตรเงินสด
• ทองคำ
• เพชร
• พลอย
• อัญมณี
• น้ำมันเชื้อเพลิง
• ก๊าซธรรมชาติ

ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์สามารถพิจารณากำหนดเพิ่มเติมได้ โดยการใช้จ่ายตามโครงการฯ ไม่รวมถึงบริการ

คุณสมบัติและเงื่อนไขร้านค้าที่สามารถถอนเงินสดจากโครงการฯ

ต้องเป็นร้านค้าที่อยู่ในระบบภาษี (1) ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax: VAT) หรือ (2) ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (Personal Income Tax: PIT) เฉพาะผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (แห่งประมวลรัษฎากร หรือ (3) ภาษีเงินได้นิติบุคคล (Corporate Income Tax CIT) ทั้งนี้ ร้านค้าไม่สามารถถอนเงินสดได้ทันทีหลังประชาชนใช้จ่าย แต่ร้านค้าจะสามารถถอนเงินสดได้เมื่อมีการใช้จ่ายตั้งแต่ในรอบที่ 2 เป็นต้นไป

โฆษกกระทรวงการคลังกล่าวเพิ่มเติมว่า กระทรวงการคลังในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการนโยบายฯ จะได้นำเสนอมติคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการต่อคณะกรรมการนโยบายฯ เพื่อให้สามารถผลักดันการดำเนินโครงการฯ ต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คณะอนุกรรมการกำกับโครงการฯ ซึ่งมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์) เป็นประธาน จะได้เร่งพิจารณากำหนดรายละเอียดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการดำเนินโครงการฯ ที่จำเป็นเพิ่มเติม เพื่อให้สามารถพัฒนาระบบงานต่าง ๆ ในโครงการฯ ให้เป็นรูปธรรมได้ต่อไป เนื่องจากคณะกรรมการนโยบายฯ มีนโยบายที่จะให้ประชาชนและร้านค้าลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการฯ ภายในไตรมาสที่ 3 ของปี 2567 และเริ่มใช้จ่ายภายในไตรมาสที่ 4 ของปี 2567

439740192_746832044303083_392

advertisement

ข่าวยอดนิยม