อากาศร้อนจัด! 27 เขื่อนโคราชวิกฤต เริ่มขาดน้ำ อุปโภคบริโภค

27 เม.ย. 67

สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำในโคราชภาพรวมถึงขั้นวิกฤติ หลายพื้นที่ขาดน้ำอุปโภคบริโภค เหตุอากาศร้อนจัดประชาชนใช้น้ำมากกว่าปกติหลายเท่าตัว

 

วันนี้ (27 เมษายน 2567) ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง รายงานลักษณะอากาศประจำวัน ว่า ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด

จากสภาพอากาศที่ร้อนจัดต่อเนื่องมาหลายสัปดาห์ ทำให้ปริมาตรน้ำเก็บกักในอ่างเก็บน้ำต่างๆ ทั้ง 27 แห่งของจังหวัดนครราชสีมา ลดระดับลงอย่างรวดเร็ว อีกทั้งประชาชนจะใช้น้ำมากกว่าปกติหลายเท่าตัว โดยปริมาตรน้ำภาพรวม ปัจจุบันเหลือน้ำอยู่ที่ 494.16 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็น 40.61% แต่เป็นน้ำใช้การได้เพียง 431.69 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 37.40 % เท่านั้น และเมื่อแยกเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 4 แห่ง จะเห็นว่า เหลือปริมาตรน้ำรวม อยู่ที่ 354.57 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 40.04 % และเป็นน้ำใช้การได้ 317.13 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 37.40 %

โดย 1.อ่างเก็บน้ำลำตะคอง อ.สีคิ้ว ซึ่งเป็นอ่างเก็บน้ำหลักของจังหวัด หล่อเลี้ยงประชากรถึง 5 อำเภอ เหลือน้ำเก็บกักปัจจุบัน อยู่ที่ 110.54 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 35.15 % และเป็นน้ำใช้การได้ 87.82 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 30.10 %  

 2.อ่างเก็บน้ำลำพระเพลิง อ.ปักธงชัย  เหลือน้ำเก็บกักอยู่ที่ 82.89 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 53.48 % เป็นน้ำใช้การได้ 82.17 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 53.26 %

3.อ่างเก็บน้ำมูลบน อ.ครบุรี เหลือน้ำเก็บกัก 58.29 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 41.34 % เป็นน้ำใช้การได้ 51.29 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 38.28 %

4.อ่างเก็บน้ำลำแชะ อ.ครบุรี เหลือน้ำเก็บกักอยู่ที่ 102.84 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 37.40 % และเป็นน้ำใช้การได้ 95.84 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 35.76 %  

ในขณะที่อ่างเก็บน้ำขนาดกลาง 23 แห่ง เหลือปริมาตรน้ำเก็บกักรวมอยู่ที่ 139.59 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 42.14  % เป็นน้ำใช้การได้ 114.55 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 37.41 %

ซึ่งทำให้ปริมาตรน้ำเก็บกักภาพรวมในอ่างเก็บน้ำทั้ง 27 แห่งของจังหวัดนครราชสีมา ทีเหลืออยูในเกณฑ์น้ำน้อยในขณะนี้ ชลประทานจำเป็นต้องบริหารจัดการน้ำอย่างรัดกุม สงวนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคมาเป็นอันดับแรก เพื่อให้มีน้ำใช้อย่างเพียงพอตลอดหน้าแล้ง

 

advertisement

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวทั่วไป เป็นกระแส