ปี 2567 เด็กไทย 1.8 ล้านคนเสี่ยงไม่ได้เรียนต่อ

5 ก.ค. 67

รู้หรือไม่ว่า เราทุกคนมีส่วนร่วมดึงเด็กไทยที่ตกขบวน กลับเข้าระบบการศึกษาได้ แล้วจะดึงพวกเขากลับเข้าระบบการศึกษาได้อย่างไร?

แม้ว่าในปี 2567 เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวขึ้น ด้วยปัจจัยภายในประเทศ ส่งผลให้การจ้างงานโดยรวมดีกว่าปี 2566 แต่การเติบโตดังกล่าวยังคงกระจุกตัว สะท้อนจากหนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ส่งผลให้เด็กเยาวชนในครอบครัวยากจนหรือด้อยโอกาส ยังคงมีความเสี่ยงที่จะหลุดออกจากระบบการศึกษา จำนวนสูงถึง 1.8 ล้านคน จากจำนวนนักเรียนทั้งหมด 8.9 ล้านคน

318456

ตัวเลขของนักเรียนยากจนพิเศษยังคงกระจุกตัวในพื้นที่ห่างไกล จากข้อมูลในระบบสารสนเทศเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ในภาคเรียนที่ 2/2565 ระบุว่า จ.แม่ฮ่องสอน มีสัดส่วนนักเรียนยากจนพิเศษมากที่สุด 54.99% ของจำนวนนักเรียนทั้งหมดในจังหวัด นอกจากนี้พบว่า การกระจุกตัวของนักเรียนยากจนพิเศษรุนแรงที่สุด อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ นครพนม มีนักเรียนยากจนพิเศษ 45.21% เมื่อเทียบกับนักเรียนทั้งจังหวัด อำนาจเจริญ 44.9% กาฬสินธุ์ 43.25% ยโสธร 41.94% ร้อยเอ็ด 41.74% มุกดาหาร 41.35% ศรีสะเกษ 41.17% สกลนคร 37.87% ซึ่งหลายจังหวัดยังไม่สามารถแก้ไขกับดักนี้ได้

กองทุนเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ได้เปิดระบบให้โรงเรียนบันทึกข้อมูลนักเรียนกลุ่มนี้เข้ามา ระหว่างวันที่ 8 ก.ค. - 1 ส.ค. 2567 เพื่อให้ได้รับการช่วยเหลือผ่านเงินอุดหนุนทุนเสมอภาค ในภาคเรียนที่ 1/2567 นี้

pexels-ron-lach-10646406

นอกจากนี้ ยังขอความร่วมมือให้ชุมชน หมู่บ้าน แจ้งไปยังโรงเรียน หากพบนักเรียนที่กำลังมีความเสี่ยงไม่ได้ไปโรงเรียน และส่อหลุดจากระบบการศึกษา ยังไม่ได้รับความช่วยเหลือ ให้แจ้งกับโรงเรียนเพื่อบันทึกข้อมูลเข้ามาในระบบ

ที่ผ่านมา กสศ. ช่วยเหลือนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ยากจนพิเศษ ด้วยการสนับสนุนงบประมาณเงินอุดหนุนแบบมีเงื่อนไขโดยตรงไปยังครัวเรือน ครอบคลุมนักเรียนทุนเสมอภาค ตั้งแต่ระดับอนุบาล - มัธยมศึกษาตอนต้น และนำร่องช่วยเหลือกลุ่มนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเพิ่มเติม เฉพาะสังกัด ตชด. รวมทั้งสิ้น กว่า 1.2 ล้านคน และจากการติดตามพบว่าทุนเสมอภาค ส่งผลให้นักเรียนทุน 95.95% ยังคงอยู่ในระบบการศึกษา

 

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม