ตำนาน ความเชื่อ การสร้างเรือพระที่นั่ง "อนันตนาคราช"

8 ก.ค. 67

เปิดประวัติ ความเชื่อ ตำนานการสร้างเรือพระที่นั่ง "อนันตนาคราช"

เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช มาจากคำภาษาสันสกฤตว่า "อนนฺตนาคราชะ" มาจากคำ 3 คำ คือ "อนนฺตะ" แปลว่า ไม่สิ้นสุด นิรันดร "นาคะ" แปลว่า นาค หรือ งู "ราชะ" แปลว่า เจ้านาย หรือพระราชา ดังนั้นคำนี้จึงแปลได้ว่า อนันตะราชาแห่งนาค หรืองูทั้งหลาย ในฮินดูปกรณัมปรัมปรา "อนันตะ" หมายถึง งูเทพ หรือ งูทิพย์ ผู้มีพลังยิ่งใหญ่ รู้จักกันในชื่อ เศษะ หรือ อาทิเศษะ เป็นผู้ที่มีเศียรหนึ่งพัน ประดับด้วยอัญมณีหนึ่งพันที่ส่องประกายสว่างจ้าไปทุกหนแห่ง คัมภีร์ปุราณะของอินเดียกล่าวว่า อนันตะอาศัยอยู่ลึกลงไปกว่าโลกบาดาลทั้ง 7 ชั้น และแบกโลกทั้งหมดไว้บนเศียร คราใดที่อนันตะหาว โลกก็สั่นไหว บางคัมภีร์อธิบายว่า อนันตะมีชื่ออีกอย่างว่า วาสุกิ (ไทยเรียกว่า วาสุกรี) ซึ่งมีเจ็ดเศียรและอยู่ในโลกบาดาลชั้นที่ 7 อนันตะปกครองนาคทั้งหลาย

1570164406_g_5

เรื่องราวจากคัมภีร์ข้างต้นให้อิทธิพลต่อความเชื่อของคนไทยที่เล่าสืบต่อกันมาว่า ใต้โลกของเรามีปลาอานนท์ ซึ่งแบกโลกไว้ คราใดปลาอานนท์ขยับตัว โลกจะสั่นคลอนเกิดแผ่นดินไหว และยังมีความเชื่ออีกว่า พญานาคเจ็ดเศียรบันดาลให้เกิดฝน ความเชื่อที่ว่าพระเจ้าแผ่นดินของไทยเป็นอวตารของพระวิษณุลงมาเกิดบนโลกมนุษย์ ดังนั้นพระองค์จึงควรมีเรือพระที่นั่งเป็นพญาอนันตนาคราชซึ่งสอดคล้องกับเรื่องราวที่ว่า พระวิษณุประทับบรรทมบนพญาอนันตนาคราชในช่วงกาลดับสลาย และเริ่มต้นการสร้างโลกและจักรวาลขึ้นใหม่

เรือพระที่นั่งอนันตนาคราชลำแรก สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 (พุทธศักราช 2367 - 2394) แต่เริ่มใช้ในขบวนพยุหยาตราทางชลมารคในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 (พุทธศักราช 2394 - 2411) ปรากฏชื่อว่า "เรือพระที่นั่งบัลลังก์อนันตนาคราช"

1570164403_g_3

เรือพระที่นั่งอนันตนาคราชลำปัจจุบัน สร้างขึ้นใหม่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 (พุทธศักราช 2453 - 2468) และเริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อวันที่ 14 เมษายน พุทธศักราช 2457 หัวเรือจำหลักรูปพญานาคเจ็ดเศียร ลงรักปิดทองประดับกระจก ท้องเรือภายในทาสีแดง ภายนอกทาสีเขียว กลางลำเรือเป็นบุษบกประดิษฐานพระพุทธรูปหรือผ้าพระกฐิน

เรือมีความยาว 44.85 เมตร กว้าง 2.58 เมตร ลึกถึงท้องเรือ 87 เซนติเมตร กินน้ำลึก 31 เซนติเมตร ใช้กำลังพลประกอบด้วย ฝีพาย 54 คน นายเรือ 2 คน นายท้าย 2 คน คนถือธงท้าย 1 คน พลสัญญาณ 1 คน คนถือฉัตร 7 คน คนถือบังสูรย์-พัดโบก-พระกลด 3 คน และคนเห่เรือ 1 คน

nat_6725

advertisement

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวทั่วไป เป็นกระแส