ด่วน!! เศรษฐา ไม่รอด พ้นเก้าอี้นายกรัฐมนตรี ปมแต่งตั้ง พิชิต ชื่นบาน

14 ส.ค. 67

ด่วน!! เศรษฐา ไม่รอด พ้นเก้าอี้นายกรัฐมนตรี ปมแต่งตั้ง พิชิต ชื่นบาน มติ 5 ต่อ 4 หลังตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ออกบังลังก์ก่อนอ่านคำวินิจฉัยคำร้อง 40 อดีตสว. 

จากกรณี การปรับคณะรัฐมนตรีครั้งที่ 2 ของรัฐบาล นายเศรษฐา เมื่อช่วงเดือน เม.ย.67 ที่มีการแต่งตั้งให้นาย พิชิต ชื่นบาน ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี 

ต่อมาสมาชิกวุฒิสภาชุดเดิม จำนวน 40 คน รวบรวมรายชื่อ อาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญปี 2560 มาตรา 82 ในขณะที่อยู่ในช่วงรักษาการ สว. ส่งเรื่องขอให้ ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยความสิ้นสุดลงของตำแหน่ง นายกรัฐมนตรีของนายเศรษฐา และ ตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ของนายพิชิต หลังพบว่ามีพฤติกรรมเข้าข่ายขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคหนึ่ง (4) และ ประกอบมาตรา 160 (4) และ (5) จากกรณีทูลเกล้าฯ รายชื่อทั้งที่รู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่าขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ ผ่านนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภาในขณะนั้น เพื่อให้ยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย 

จากนั้นนายพิชิต ได้ยื่นลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี 

และเมื่อวันที่ 23 พ.ค. 67 ศาลรัฐธรรมนูญได้รับคำร้องดังกล่าวไว้พิจารณานั้น 

ล่าสุดเวลา 15.00 น. วันที่ 14 ส.ค. 67 คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ออกบังลังก์อ่านคำวินิจฉัยว่า  ศาลมีคำวินิจฉัยว่า ผู้ถูกร้องที่ 1 (นายเศรษฐา) ไม่มีความความซื่อสุจริตเป็นที่ประจักษ์ ฝ่าฝืนจริยธรรมอย่างร้ายแรง เป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนตน เป็นการก่อให้เกิดความเสื่อมเสียต่อเกียรติศักดิ์ของผู้ดำรงตำแหน่งนายกฯ อาจจะกระทบกระเทือนต่อศรัทธาของประชาชน 

เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า การที่นายเศรษฐารู้ หรือควรรู้ข้อเท็จจริงต่าง ๆ เกี่ยวกับพฤติการณ์ของนายพิชิตโดยตลอดแล้ว แต่ยังเสนอแต่งตั้งให้นายพิชิต เป็น รมต.ประจำสำนักนายกฯ แสดงให้เห็นว่า นายเศรษฐา ไม่มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ ขาดคุณสมบัติตามมาตรา 160 (4) ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมฯ หมวด 1 ข้อ 8 ซึ่งข้อ 27 กำหนดให้การฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมฯในหมวด 1 ให้ถือว่ามีลักษณะร้ายแรง ต้องห้ามตามมาตรา 160 (5) ด้วย 

อาศัยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เสียงข้างมาก 5 ต่อ 4 เสียงวินิจฉัยว่า ความเป็นรัฐมนตรีของนายเศรษฐา นายกรัฐมนตรี สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญมาตรา 170 วรรคหนึ่ง (4) ไม่ซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ ขาดคุณสมบัติ 160 (4) และฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมร้ายแรง ลักษณะต้องห้ามตาม 160 (5) เมื่อความเป็นรัฐมนตรีของนายกฯสิ้นสุดลง ตามมาตรา 170 (4) แล้ว รัฐมนตรีต้องพ้นตำแหน่งทั้งคณะ ตามรัฐธรรมนูญ 167 วรรคหนึ่ง (1) มาใช้บังคับการปฏิบัติหน้าที่ของ ครม.ที่พ้นตำแหน่งต่อไป

 

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวการเมือง เป็นกระแส