เรนบอมบ์ ห่าฝนยุคโลกเดือดต้นตอน้ำท่วมฉับพลัน ฤดูฝนของไทยเปลี่ยนไปแล้ว

18 ก.ย. 67

เรนบอมบ์ ห่าฝนยุคโลกเดือด ต้นตอน้ำท่วมฉับพลัน ฤดูฝนประเทศไทยนับจากนี้เปลี่ยนไปแล้ว? มุมมองผู้เชี่ยวชาญ เราจะรับมือย่างไร

น้ำท่วมอ่วมอรทัย ฤดูฝนปีนี้ พี่น้องประชาชนต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า "หนักจริง!" แม้จะมีการแจ้งเตือนล่วงหน้า ทั้งให้ยกของขึ้นที่สูง หรือ แนะนำให้ออกจากพื้นที่เพื่อความปลอดภัย แต่มวลน้ำก็มาเร็ว บวกกับปริมาณฝนที่ตกกระหน่ำไม่ขาดสาย หลายคน หลายครอบครัวทำได้เพียง "หนีตาย" ไม่สามารถขนของหรือหยิบข้าวของมีค่าแม้สักชิ้นออกมาได้เลย

ฤดูฝน ประเทศไทย กำลังเปลี่ยนไปจากเดิมแล้วหรือไม่?

ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อม และอาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ Rain Bomb เรนบอมบ์ ปรากฏการณ์ที่ฝนตกกระหน่ำอย่างไม่ลืมหูลืมตา ปริมาณน้ำฝนในช่วงเวลาสั้นๆ ทะลุขีดจำกัด ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน การรับมือแบบดั้งเดิมจึงมีปัญหา ซ้ำการคาดการณ์ล่วงหน้าทำแทบไม่ได้ในระยะยาว ปกติเป็นการทำนายทั่วไปในพื้นที่กว้าง แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าเรนบอมบ์กำลังมา

istock-1325960363

เรนบอมบ์ ทำให้เกิดน้ำท่วมใหญ่ได้ง่ายมาก

ดร.ภาณุ ตรัยเวช อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์พื้นพิภพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้ข้อมูลเกี่ยวความเชื่อมโยงระหว่าง เรนบอมบ์ และ น้ำท่วม ว่า

เรนบอมบ์คือ ลักษณะฝนตกที่ตกลงมาอย่างเร็ว แรง โครมใหญ่ โดยสาเหตุของการเกิดเรนบอมบ์ หลักๆ ก็คือ อากาศจากภายนอกเมฆที่มันแห้งกว่าแล้วในเมฆมีหยดน้ำเยอะ พออากาศ 2 ชนิดนี้มาผสมกัน หยดน้ำในก้อนเมฆมันก็ระเหยฮวบทีเดียว ทำให้อุณหภูมิต่ำลง อากาศก็หนักมากขึ้นมันก็เลยจมลงมาแล้วก็พาเอาหยดน้ำฝนลงมาตู้มใส่เรา ฮวบเดียวเลย ลักษณะแบบนี้เรียกว่า ปรากฏารณ์ เรนบอมบ์ ซึ่งสามารถทำให้เกิดน้ำท่วมใหญ่ได้ง่ายมากเพราะฝนตกลงมาอย่างรวดเร็ว

s__8069504_0

เกิดอะไรขึ้นที่พะเยา น้ำท่วมฉับพลันใช่ปรากฏการณ์ เรนบอมบ์ หรือไม่

รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต ผู้เชี่ยวชาญเรื่องสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ ให้ความเห็นว่า เกิดจาก 3 ปัจจัยหลัก คือ ฝนตกในเวลาจำกัด ศักยภาพคูคลองไม่สามารถรับน้ำได้ และ ขาดระบบเตือนภัย และการประเมินความเสี่ยง และความรุนแรง

เกิดฝนตกหนักในเวลาจำกัด ทำให้น้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่บริเวณหน้า ม.พะเยา (ตัวเลขปริมาณฝนรายวันจาก สสน. 106 mm) นักศึกษา และประชาชนบริเวณนั้นไม่ทันตั้งตัว สูญเสียทรัพย์สิน โดยเฉพาะรถยนต์ รถจักรยานยนต์ เป็นต้น โชคดีที่หนีขึ้นชั้นบนได้ทัน เพราะน้ำมีความเร็วมาก และเข้าท่วมชั้นล่างอย่างรวดเร็ว

รศ.ดร.เสรี เผยต่อว่า ได้ตรวจสอบแบบจำลองรายละเอียดสูง (ECMWF HS) ของวันที่ 15 กันยายน เวลา 07.00 น. พบว่ามีการคาดการณ์ปริมาณฝนตกหนักกว่า 100 mm บริเวณพื้นที่ตอนใต้ของ จ.พะเยา ช่วงวันที่ 17 กันยายน เวลา 01.00-04.00 น. แสดงว่าเราสามารถรู้ล่วงหน้าถึงประมาณ 2 วัน คำถามจึงตามมาว่ามีการติดตามสถานการณ์ เฝ้าระวัง และเตือนภัยในพื้นที่หรือไม่?
ความเร็วของกระแสน้ำ และความลึก โชคดีที่ไม่มีผู้เสียชีวิต

460446707_823878399910759_850

460468429_823878433244089_620

นักอนุรักษ์แย้ง น้ำท่วมอย่าเพิ่งโทษ "เรนบอมบ์" อาจเกิดจากคนประมาทก็ได้

สืบเนื่องจากเหตุการณ์ "น้ำท่วมพะเยา" เช้าวันที่ 17 ก.ย.ที่ผ่านมา คนอนุรักษ์ ระบุ ข่าวเผยสาเหตุว่ามาจาก เรนบอมบ์ เป็นภัยธรรมชาติ ทว่า คนอนุรักษ์ ได้ตั้งข้อสังเกตโดยอ้างอิงจากภาพถ่ายเช้าวันที่ 17/9 พบว่ามีถนนชั่วคราวที่ทำไว้ข้ามคลองขาด ในพื้นที่โครงการก่อสร้างทางรถไฟรางคู่

จุดนี้ อาจเป็นไปได้ว่ามวลน้ำที่เกิดจากฝนตกหนัก (ปกติ) ได้มาสะสมอยู่ตรงนี้ ไม่ต่างจากเขื่อนเล็กๆ และจากจุดนี้ ที่เมื่อถนนนี้พังลงไปไม่ถึง 1 กิโลเมตร ก็ถึงชุมชนหน้า ม.พะเยา ที่อยู่ข้างคลองแม่กาหลวงพอดี มวลน้ำจำนวนมากก็เข้าท่วมชุมชนจนท่วมสูง 1-2 เมตร และลดลงในเวลาไม่นาน

ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ในครั้งนี้ ได้รวมตัวกันให้มีการสอบสวนหาข้อเท็จจริงและเรียกร้องความรับผิดชอบจากผู้ก่อเหตุ อย่าเพิ่งด่วนสรุปว่าเป็นภัยธรรมชาติ เพราะที่จริงแล้วมันอาจมาจากคนประมาทแค่นั้นเอง

ทั้งนี้ คนอนุรักษ์ ได้กล่าวย้ำว่า ไม่มีเจตนาคัดค้านโครงการฯ แต่เหมือนการก่อสร้างทางด่วน ลมพัดเหล็กตกใส่รถ จะเรียกเป็นภัยธรรมชาติหรือโครงการประมาท ความเสียหายต้องมีคนรับผิดชอบ

460499687_1106277247524306_14
ภาพจากเพจฯ คนอนุรักษ์

กล่าวโดยสรุป เรนบอมบ์ คือ ปรากฏการณ์ที่มีผลพวงมาจากภาวะโลกรวน การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ climate change ทว่า เป็นจริงทั้งหมดหรือไม่กับสาเหตุของน้ำท่วมในพื้นที่นั้นๆ ? เพราะหากจะไปโทษเรนบอมบ์อยู่ร่ำไปโดยไม่หาสาเหตุอื่น การถอดบทเรียนก็คงว่างเปล่า ไร้ซึ่งประโยชน์ 

1726129145318

s__8069506_0

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม