ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการบินไทย เผยถึงจำนวนเงินที่พนักงานการบินไทยจะได้รับชดเชยหากถูกเลิกจ้าง ต่ำสุด 30 วัน สูงสุด 400 วัน
นายนเรศ ผึ้งแย้ม ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการบินไทย เปิดเผยว่า หลังจากที่การบินไทยเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการภายใต้ศาลล้มละลายกลาง โดยกระทรวงคลัง ดำเนินการขายหุ้นเพื่อลดสัดส่วนการถือหุ้นใน การบินไทย ให้ต่ำกว่า 50% ทำให้บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) จะหลุดพ้นจากการเป็นรัฐวิสาหกิจ และหลุดพ้นจาก พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ 2543 ทำให้สิทธิคุ้มครองแรงงานตามกฎหมายดังกล่าวจะหมดไปด้วย แต่จะปรับเปลี่ยนการทำงานมาอยู่ในรูปแบบของสหภาพแรงงาน พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ แทน เพื่อให้กิจการของบริษัทกลับมาเดินต่อไปได้
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- "การบินไทย" พ้นรัฐวิสาหกิจ ครม.ไฟเขียว ยื่นศาลล้มละลาย
- แล้วพบกันใหม่ "การบินไทย" เผย จะกลับมาให้บริการอีกครั้งหลังหมดโควิด-19
- การบินไทยยังประกอบธุรกิจตามปกติแม้เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ
- สหภาพแรงงานการบินไทย ซัด "ทักษิณ" ต้นเหตุขาดทุนสะสมต่อเนื่อง
ทั้งนี้ ในส่วนของบุคคลากรของบริษัทซึ่งปัจจุบันมีอยู่ราว 2.1 หมื่นคน อาจจะต้องถูกเลิกจ้างในระหว่างที่บริษัทกำลังจะเข้าแผนฟื้นฟูกิจการ ซึ่งเป็นสิทธิ์ตามกฎหมายของนายจ้าง ที่จะบอกเลิกจ้าง ก่อนที่พนักงานจะอายุครบเกษียณ โดยพนักงานที่ถูกเลิกจ้างจะได้รับการชดเชยตามกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ หรือกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ โดยจะได้รับสิทธิคุ้มครองตามกฎหมายเหมือนกัน แบ่งออกเป็นดังนี้
- ทำงานต่อเนื่องครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี ได้ค่าชดเชย 30 วัน
- ทำงานครบ 1 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี ได้รับค่าชดเชย 90 วัน
- ทำงานครบ 3 ปี แต่ไม่เกิน 6 ปี ได้ค่าชดเชย 180 วัน
- ทำงานครบ 6 ปี แต่ไม่เกิน 8 ปี ได้ค่าชดเชย 240 วัน
- ทำงานครบ 10 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี ได้ค่าชดเชย 300 วัน
- ทำงานครบ 20 ปี จะได้รับค่าชดเชย 400 วัน
สำหรับเงินชดเชยเลิกจ้าง จะจ่ายให้ในกรณีที่ลูกจ้างถูกเลิกจ้างโดยที่ไม่ได้มีความผิด หรือไม่ได้ลาออกเองโดยสมัครใจ ส่วนการทำงานของสหภาพฯ ก็คงจะยุบไปหลังกระทรวงการคลังลดสัดส่วนการถือหุ้น และหลังมีประกาศราชกิจจานุเบกษา ยุบสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการบินไทย