ก.เกษตรและสหกรณ์ ตอบ 20 ข้อสงสัย รับเงินเยียวยาเกษตรกร 15,000 บาท

22 พ.ค. 63

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดทำประเด็นปัญหาและคำตอบ ในการรับเงินเยียวยาเกษตรกร 15,000 บาท

หลังจากที่ประชุม ครม.เห็นชอบ มอบเงินเยียวยาเกษตรกรรายละ 5,000 บาท/เดือน เป็นระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่เดือน พ.ค.-ก.ค.63 มีกลุ่มเป้าหมายเป็นเกษตรกรไม่เกิน 10 ล้านราย รวมวงเงินของโครงการไม่เกิน 150,000 ล้านบาท โดยเมื่อวันที่ 15 พ.ค. ที่ผ่าน เป็นวันแรกที่ ธ.ก.ส.เริ่มโอนเงินเยียวยา

ล่าสุด กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดทำประเด็นปัญหาและคำตอบ ในการอุทธรณ์ของการดำเนินโครงการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีทั้งหมด 20 คำถามดังนี้

1.ในกรณีมีการอุทธรณ์ จะมีขั้นตอนอย่างไร

1590129439606

2.สถานที่สําหรับไปขออุทธรณ์
ตอบ เกษตรอําเภอประมงจังหวัด/อําเภอปศุสัตว์จังหวัด/อําเภอหม่อนไหม ภูมิภาคสํานักงานอ้อยและน้ำตาลทราย ภูมิภาคยาสูบการยางแห่งประเทศไทย ภูมิภาคเกษตรและสหกรณ์จังหวัด

3.การจ่ายเงินเยียวยานี้ จ่ายเป็นรายครอบครัวหรือรายบุคคล
ตอบ เป็นรายบุคคลตามที่ขึ้นทะเบียนไว้กับหน่วยงานที่รับขึ้นทะเบียน เช่น กรมส่งเสริมการเกษตร กรมประมง กรมปศุสัตว์ เป็นต้น

4.แผนการดําเนินการ การเยียวยาเกษตรกร เป็นอย่างไร
ตอบ รวบรวมรายชื่อเกษตรกรที่เข้าเกณฑ์ *รอบแรก* ตัดยอด ณ 30 เม.ย. 63 *รอบสอง* 1 -15 พ.ค. 63 ครับโดยคาดการณ์ว่า หากไปคัดกรองจากฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมด หากไม่ซ้ำซ้อนและมีสิทธิ์ได้รับการเยียวยาCOVID-19 แล้วรอบแรก จะได้รับ 5,000 บาท ก่อนตั้งแต่ 15 พ.ค. 63 รอบสอง จะได้รับ 5,000 บาทภายใน สิ้นเดือน พ.ค. 63 ครับ

5.มีความประสงค์ที่จะแก้ไขข้อมูลบัญชีธนาคาร เพื่อรับเงินเยียวยาในกรณีที่ผ่านการพิจารณา
ตอบ ให้ติดต่อไปที่ ธ.ก.ส. สาขาที่สะดวก หรือ โทรสอบถามที่เบอร์ 0-2555-0555

6.ถ้าไม่มีบัญชี ธ.ก.ส. แล้วจะดําเนินการอย่างไร
ตอบ 1. ตรวจสอบรายละเอียดจาก www.เยียวยาเกษตรกร.com 2. ให้ติดต่อไปที่ ธ.ก.ส. สาขาที่สะดวก หรือ โทรสอบถามที่เบอร์ 0-2555-0555

13615208_1122734974431807_887

7.ลูกหลานเกษตรกรที่ถูกปฏิเสธจากโครงการเราไม่ทิ้งกันซึ่งลงทะเบียนว่าเป็นเกษตรกร จะมีสิทธิรับเงินเยียวยาเกษตรกรนี้หรือไม่
ตอบ ได้หากลูกหลานเกษตรกรผู้นั้นได้ขึ้นทะเบียนไว้กับหน่วยงานที่รับขึ้นทะเบียนตามโครงการของกระทรวงเกษตรฯ

8.เกษตรกรยังต้องการหลักฐานอะไรเพิ่มเติมหรือไม่ตอนรับเงิน หรือว่าเงินจะเข้า บัญชีธนาคารของเกษตรกรโดยอัตโนมัติ
ตอบ หากเกษตรกรได้แจ้งหมายเลข บัญชีธนาคาร ในเว็บไซต์ เยียวยาเกษตรกร.com ของ ธ.ก.ส. แล้ว และได้รับสิทธิ์การเยียวยาเกษตรกร โดยไม่ต้องใช้หลักฐานใดๆเพิ่มเติม ซึ่งเงินเยียวยาจะโอนเข้าสู่บัญชีนั้นโดยอัตโนมัติ(ต้องถาม ธ.ก.ส. เพิ่มเติม ถ้าเกษตรกรเป็นลูกค้า ธ.ก.ส. มีบัญชีแล้วไม่ได้เข้าไปยืนยันสิทธิจะได้หรือไม่)

9.กรณีเกษตรกรที่ต้องสละสิทธิ อาทิ วุฒิสมาชิก จะต้องดําเนินการอย่างไร
ตอบ สามารถทําได้โดย ทําหนังสือแจ้งมายังกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และอีกช่องทางได้แก่การขอสละสิทธิ์ทางเว็บไซต์ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์(กําลังพัฒนา)

10.ขอสอบถามกรณีผู้รับจ้างกรีดยาง จะได้รับเงินเยียวยาหรือไม่
ตอบ ได้ในรอบที่ 2 หากผู้รับจ้างกรีดยางผู้นั้น ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับหน่วยงานของการยางแห่งประเทศไทย (สกย.) โดยขอให้ไปติดต่อสอบถามรายชื่อได้ที่หน่วยงาน สกย. ในพื้นที่

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- เช็กเงินเยียวยาเกษตรกรได้ที่ www.moac.go.th ตรวจสอบสิทธิ์ ผลการโอนที่นี่ที่เดียว
- สศก.ตอบแล้ว! เกษตรกรขึ้นทะเบียนเกษตรกรแล้ว แต่ไม่มีชื่อรับเงิบเงินเยียวยาเกษตรกร 5,000
- เปิดแล้ว! ยื่นอุทธรณ์ "เยียวยาเกษตรกร" ผ่าน 8 หน่วยงานส่วนภูมิภาค - เว็บไซต์
- 6 เว็บ เช็กสถานะขึ้นทะเบียน-ตรวจสอบสิทธิ์ เยียวยาเกษตรกร

13680678_1122735137765124_198

11.ครัวเรือนเกษตรกรมีสมาชิก 5 คน พ่อขึ้นทะเบียนเกษตรกร ลูกมีอาชีพเสริมเป็นหมอนวดรับเงินโครงการเราไม่ทิ้งกันแล้ว หัวหน้าครัวเรือนที่เป็นเกษตรกรจะได้รับเงินเยียวยาหรือไม่
ตอบ ได้รับสิทธิ์ เนื่องจากโครงการฯ จะให้สิทธิ์เยียวยาแก่เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนไว้กับหน่วยงานที่กําหนดไว้

12.กรณีพ่อขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมเกษตร(ด้านพืช) และลูกชายเลี้ยงโค 5 ตัว ไปขึ้นทะเบียนกับกรมปศุสัตว์ จะได้สิทธิ์เยียวยาหรือไม่
ตอบ กรณีนี้ ทั้งพ่อ และลูกชายจะได้สิทธิ์เยียวยา ทั้งนี้ทั้งสองต้องไม่ได้รับสิทธิ์เยียวยาในโครงการไทยไม่ทิ้งกัน และไม่เป็นผู้ได้รับบํานาญ ไม่เป็นผู้ได้สิทธิ์ประกันสังคม

13.เกษตรกรที่ได้เงินรอบแรกนี้มีหลักเกณฑ์อะไร..รอบต่อๆ ไป ใช้หลักเกณฑ์อะไรและจะได้เมื่อไร
ตอบ จะใช้หลักเกณฑ์เดียวกันคือ ต้องเป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับหน่วยงานที่กําหนด ต้องไม่ได้รับสิทธิ์เยียวยาในโครงการเราไม่ทิ้งกัน และไม่เป็นผู้ได้รับบํานาญ และไม่เป็นผู้ได้สิทธิ์ประกันสังคม โดยจะได้ในรอบแรกวันที่ 15 พฤษภาคม 2563

14.เกษตรกรที่ได้รับเงินเยียวยานี้แล้ว ยังมีสิทธิได้รับเงินชดเชยอื่นๆ อีกหรือไม่ เช่น ชดเชยภัยแล้ง ชดเชยรายได้
ตอบ เกษตรกรยังได้รับสิทธิเงินชดเชยอื่นได้ตามเงื่อนไขที่กําหนดเช่นเดิม

15.หัวหน้าครัวเรือนปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ มีสมาชิกในครัวเรือน ทํางานราชการ รับจ้าง เป็นพ่อค้าแม่ค้า จะมีสิทธิ์ได้รับเงินเยียวยา หรือไม่
ตอบ หัวหน้าครัวเรือนรายนี้ยังมีสิทธิ์ได้รับเงินเยียวยา ทั้งนี้ต้องไม่ได้รับสิทธิ์เยียวยาในโครงการไทยไม่ทิ้งกัน และไม่เป็นผู้ได้รับบํานาญ และไม่เป็นผู้ได้สิทธิ์ประกันสังคม

13620871_1122734791098492_275

16.กรณีครัวเรือนเกษตรกร มีสมาชิกที่ได้รับเงินในโครงการเราไม่ทิ้งกันแล้ว หัวหน้าครัวเรือนที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรจะได้รับเงินเยียวยาหรือไม่
ตอบ กรณีนี้ หัวหน้าครัวเรือนยังได้รับเงินเยียวยาหากตัวหัวหน้าครัวเรือนไม่ได้รับสิทธิ์เยียวยาในโครงการไทยไม่ทิ้งกัน และไม่เป็นผู้ได้รับบํานาญ และไม่เป็นผู้ได้สิทธิ์ประกันสังคม

17.กรณี กลุ่มที่ไปปรับปรุงทะเบียน หรือขึ้นทะเบียนใหม่ ไม่มีเอกสารสิทธิ จะได้รับเงินเยียวยา หรือไม่ เพราะกลุ่มแรกที่มีทะเบียนเกษตรกรและมีการอัปเดตแล้ว ปี 62 ปี 63 ไม่มีเอกสารสิทธิ ได้รับการเยียวยา
ตอบ ติดต่อหน่วยงานที่รับขึ้นทะเบียน หากเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของหน่วยงาน จะได้รับสิทธิ์ทุกคน

18.โดนตัดสิทธิ์เราไม่ทิ้งกัน เพราะเป็นหัวหน้าครัวเรือนเกษตรกร สมาชิกที่ช่วยทําเกษตร แต่พอมาเช็กสิทธิ เยียวยาเกษตร แล้วไม่มีรายชื่อ จะต้องทําอย่างไร
ตอบ ให้อุทธรณ์ตามช่องทางที่ภาครัฐจัดให้

19.สถานภาพในทะเบียนเกษตรกร จะสิ้นสุดลงเมื่อใด
ตอบ 1.เสียชีวิต 2.เป็นคนไร้ความสามารถ หรือ เสมือนไร้ความสามารถ 3.แจ้งยกเลิกประกอบการเกษตร 4 แจ้งข้อมูลอันเป็นเท็จในการขึ้นทะเบียนเกษตรกร 5.ไม่มีการปรับปรุงสถานภาพเลยติดต่อกันเป็นเวลา 3 ปี (เริ่มใช้ตั้งแต่ 23 มิ.ย. 63 เป็นต้นไป และมีผลย้อนหลัง สําหรับผู้ไม่มาปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร ตั้งแต่ 23 มิ.ย. 60)

20.การแจ้งข้อมูลเท็จ มีความผิดหรือไม่
ตอบ การแจ้งข้อมูลเท็จในทะเบียนเกษตรกร ถือเป็นความผิดทางอาญา ตามมาตรา 137 และ มาตรา 267 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

advertisement

ข่าวยอดนิยม