"สุริยุปราคาบางส่วน" 21 มิ.ย. ในวันครีษมายัน ทีมีกลางวันยาวนานที่สุดในรอบปี

19 มิ.ย. 63

วันที่ 19 มิ.ย.63 สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) เผยว่า วันที่ 21 มิ.ย. 63 จะเกิดปรากฏการณ์ “สุริยุปราคาบางส่วน” เหนือฟ้าเมืองไทย ช่วงเวลาประมาณ 13.00 - 16.10 น. สังเกตได้ทั่วประเทศ และยังตรงกับ “วันครีษมายัน” เวลากลางวันยาวนานที่สุดในรอบปี ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงไปทางเหนือมากที่สุด และตกทางทิศตะวันตกเฉียงไปทางเหนือมากที่สุด สำหรับประเทศไทยในวันดังกล่าวดวงอาทิตย์จะขึ้นเวลาประมาณ 05.51 น. ตกลับขอบฟ้าเวลาประมาณ 18.47 น. รวมเวลาที่ดวงอาทิตย์ปรากฏอยู่บนท้องฟ้านานถึง 12 ชั่วโมง 56 นาที ส่งผลให้เป็นวันที่ช่วงเวลากลางวันยาวนานที่สุดในรอบปี

3_3

ทั้งนี้ ถือเป็นโอกาสดีที่จะได้สังเกตปรากฏการณ์ สุริยุปราคาบางส่วน หากพลาดชมปรากฎการณ์นี้ ต้องรออีก 7 ปี ถึงจะได้ชมอีกครั้ง แต่หากจะรอให้เหตุการณ์ทั้งสองปรากฏพร้อมกันแบบนี้ คาดว่าอาจต้องรออีก 19 ปี

2_5

สุริยุปราคาบางส่วน จะเกิดขึ้นในช่วงเวลาประมาณ 13:00 – 16:10 น. โดยดวงอาทิตย์จะปรากฏในลักษณะเว้าแหว่งมากที่สุด เวลาประมาณ 14:49 น. สามารถสังเกตได้ทั่วประเทศ นอกจากจะสังเกตการณ์ได้เองผ่านอุปกรณ์กรองแสงอาทิตย์แล้ว ยังสามารถรับชมถ่ายทอดสดปรากฏการณ์ จาก 4 ภูมิภาค ได้แก่ ภาคเหนือที่อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อ. แม่ริม จ. เชียงใหม่, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติฯ จ.นครราชสีมา, ภาคกลางที่หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติฯ จ.ฉะเชิงเทรา, และภาคใต้ที่หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติฯ จ.สงขลา หรือรับชมผ่านทางเพจเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

1_5

อย่างไรก็ตาม ในระยะเวลา 1 ปี โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ จะเกิดปรากฏการณ์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการขึ้นและตกของดวงอาทิตย์ทั้งหมด 4 ครั้ง ได้แก่ วันครีษมายัน วันที่กลางวันยาวนานที่สุด วันเหมายัน วันที่กลางคืนยาวนานที่สุด วันวสันตวิษุวัตและวันศารทวิษุวัต วันที่มีกลางวันและกลางคืนยาวนานเท่ากัน

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม