นทท. โวยซื้อมะขามหวานเพชรบูรณ์ 2 กก.ได้กินแค่ 7 ฝัก ที่เหลือขึ้นรา

25 ต.ค. 63

นักท่องเที่ยวโพสต์ เสียความรู้สึกหลังซื้อมะขามหวานเมืองเพชรบูรณ์ 2 กิโลกรัม หวังกินให้หนำใจแต่กลับกินได้แค่ 7 ฝัก ที่เหลือขึ้นรา

วันที่ 24 ตุลาคม 2563 ผู้ใช้เฟสบุ๊กรายหนึ่งได้โพสต์ข้อความ "ซื้อมะขาม 2 กิโลฯ ขึ้นราเกือบหมด ใช้ได้อยู่ 7 ฝัก เสียความรู้สึกมาก อยากให้ช่วยกระจ่ายข่าวด้วยค่ะเพราะมันไม่โอเคกับนักท่องเที่ยวเลยบอกตรง ตรงว่าแย่รู้สึกแย่"
จากนั้นก็นำภาพมะขามหวานที่ขึ้นรา มาโพสต์ โดยมีผู้เข้ามาแสดงความคิดหิน ในเชิงตำหนิ ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าว ลูกค้าระบุ ซื้อมะขามหวานมาจากร้านขายของริมทาง สายหล่มสัก – เขาค้อ

หลังเกิดดราม่า ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่ตจรวจสอบพบว่า บริเวณตั้งแต่ตำบลน้ำชุน ไปจนถึงทางขึ้นเขาค้อ เส้นทางหลวงหมายเลข 12 สายหล่มสัก พิษณุโลก มีร้านจำหน่ายมะขามหวาน ตั้งเรียงราย เป็นจำนวนมากโดยเฉพาะ ช่วงนี้เริ่มเข้าสู่ฤดูท่องเที่ยวแล้ว และนับจากนี้มะขามหวาน ก็จะถือเป็นของฝาก ที่นักท่องเที่ยวนิยมซื้อติดมือกลับบ้านไปเพื่อรับประทาน หรือซื้อเป็นของฝาก

ส่วนปัญหาของมะขามขึ้นรานั้น ด้วยความที่มีเปลือกหุ้ม ผู้บริโภค และ ร้านค้า หลายราย ไม่สามารถดูออกเลยว่า มะขามหวานที่อยู่ในฝักจะเน่าเสีย หรือเป็นเชื้อราหรือไม่ แต่ถ้าเป็นแม่ค้าที่ขายมานาน มีประสบการณ์ ก็จะสามารถดูออก

โดยจากการสอบถาม นางจรัล จงร่วมกลาง อายุ 50 ปี หนึ่งในแม่ค้าที่จำหน่ายมะขามหวาน กล่าวว่า ตนเองจะทำการเลือกมะขาม คุณภาพมาจำหน่ายให้กับลูกค้า เพราะลูกค้าส่วนใหญ่ จะเป็นขาประจำ บางครั้งอาจมีทัวร์ลง เขาก็จะชิม เราเองก็ต้องหาสินค้ามีคุณภาพมาจำหน่าย ไม่เช่นนั้น ก็จะขาดเชื่อถือจากผู้บริโภค และจะไม่เข้ามาซื้อสินค้าของเราอีก
ขณะที่ แม่ค้าส่วนใหญ่ซึ่งให้ข้อมูล พวกเขาจะแนะนำลูกค้าทุกอย่าง มะขามหวานที่จำหน่ายในช่วงนี้ ส่วนมากจะเป็นมะขามจากห้องเย็น ผ่านการแช่แข็ง เพราะแช่แข็ง จะทำให้แห้งไม่เกิดรา ส่วนมะขามหวานในปีนี้ ยังไม่แก่ และยังเก็บมาจำหน่ายไม่ได้ ส่วนมะขามหวานที่ขึ้นรา ที่ลูกค้าเจอเข้าใจว่าร้านค้าน่าจะเพิ่งเปิดใหม่ ที่ไม่มีประสบการณ์ และไม่รักษามาตรฐาน ไม่รักษาชื่อเสียงของตัวเอง และจังหวัด จริงๆ การเลือกคัดมะขามเป็นหน้าที่ของร้านค้า เพราะลูกค้าแทบไม่รู้เรื่องเลยว่ามะขามเป็นรา หรือไม่ และลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นขาประจำเพราะพวกเราเปิดมานาน ฝักไหนไม่ดีเราทิ้งยอมขาดทุนดีกว่าที่จะเสียลูกค้า

เรื่องนี้ก็คงต้องให้ความเป็นธรรมกับทั้ง 2 ฝ่าย ทั้งฝ่ายลูกค้าผู้บริโภค และฝ่ายร้านค้าที่จำหน่าย เพราะร้านค้า เองอาจจะไม่ตั้งใจ หรือไม่ ก็มีประสบการณ์น้อย จึงไม่สามารถดูออกว่ามะขามหวานฝักไหนดี หรือฝักไหนขึ้นรา เมื่อรับซื้อมาก็ทำการบรรจุใส่ถุงจำหน่ายเลย โดยที่ไม่มีการคัดแยก มะขามที่เสียทิ้งไป

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวที่ได้รับความสนใจ