เปิดสองแฮซแท็ก 'WheresZuck - DeleteFacebook' มรสุมใหม่ของเฟซบุ๊ก หลังทำข้อมูลผู้ใช้ 50 ล้านรายรั่วไหล

23 มี.ค. 61
แม้จะออกมากล่าวขอโทษ และแสดงความเสียใจต่อเหตุการณืที่เกิดขึ้น พร้อมยืนยันว่าลูกรักที่ตนเองสร้างมากับมือนั้นไม่เคยมีนโยบายทำลายความเชื่อมั่นของผู้ใช้งานทั่วโลก แต่จากกระแสข่าวฉาวกรณีผู้บริหารบริษัทเคมบริดจ์ อนาไลติกา ของอังกฤษออกมาอ้างว่าสามารถนำข้อมูลบางส่วนของผู้ใช้เฟซบุ๊กกว่า 50 ล้านรายไปใช้ เพื่อโน้มน้าว จูงใจ ให้เกิดการเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้รับสาร โดยอ้างผลงานจากความสำเร็จในการช่วยทีมรณรงค์หาเสียงของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ให้ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐครั้งที่ผ่านมา ก็ทำให้ผลงานชิ้นโบว์ของ มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ต้องเจอกับวิกฤติครั้งใหญ่ อย่างราคาหุ้นที่ดิ่งลงเหวไปกว่า 7 เปอร์เซ็นต์ และทำให้สูญเสียมูลค่าหุ้นในตลาดภายในวันเดียวมากถึงเกือบ 4.3 หมื่นล้านดอลลาร์ (ราว 1.33 ล้านล้านบาท) แม้จะมีความพยายามในกู้สถานการณ์อย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะด้วยการแถลงอย่างตรงไปตรงมาของเจ้าพ่อเฟซบุ๊ก และการระงับการเข้าถึงข้อมูลของบริษัทเคมบริดจ์ อนาลีติกา ภายในวันแรกตั้งแต่เกิดกระแสข่าว (แม้ว่าทางบริษัทดังกล่าวจะยังปฏิเสธข้อกล่าวหา และยืนยันว่าข้อมูลที่ได้มานั้นถูกต้องตามกระบวนการทุกประการ) แต่การสูญเสียความไว้เนื้อเชื่อใจนี้ก็นำไปสู่กระแสต้านบนโลกออนไลน์ในหลายแพลตฟอร์ม นั่นคือการติดแฮชแท็ก #DeleteFacebook และ #WheresZuck เพื่อเรียกร้องให้เฟซบุ๊กแสดงความรับผิดชอบต่อการไม่สามารถปกป้องความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน ตามที่สัญญาไว้ในนโยบายของบริษัทได้ อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่กระแสต้านแรกที่เกิดขึ้นในปีนี้ เพราะก่อนหน้านี้เฟซบุ๊กเองก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์ในกรณีการล้างไพ่ New Feed ที่สร้างผลกระทบต่อเพจธุรกิจทั่วโลก รวมถึงนโยบายการสนับสนุน Content ที่ไม่อยู่กับร่องกับรอย แถมยังมีการปรับเปลี่ยนตลอดเวลา จนเรียกได้ว่าสับขาหลอกผู้ผลิตผลงานบนแพลตฟอร์มสับสนไปตามๆ กัน เช่น จากที่เคยบอกว่าจะสนับสนุนคลิปวิดีโอบนเพจต่างๆ ให้มีคนเห็นมากขึ้น กลายเป็นหันมาโฟกัสการเชื่อมต่อระหว่างคนกับคนแทน จนทำให้เพจจำนวนมากที่พยายามปรับตัวตามอัลกอริทึมถึงกับงงไปตามๆ กัน เมื่อพบว่า Reach ที่ควรเพิ่มขึ้นก็ กลับไม่เป็นอย่างที่หวัง

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม