สถานการณ์ 'แม่วัยใส' ในไทยยังน่าห่วง พบมากในหญิงที่จบแค่ระดับประถมศึกษา

18 พ.ย. 63

"สภาพัฒน์" ออกรายงานภาวะสังคมไทยไตรมาส 3 ปี 63 ชี้ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นยังน่ากังวล พบ "แม่วัยใส" มากที่สุดในภาคเหนือและใต้ ปมปัญหามาจากได้รับการศึกษาน้อยและความยากจน หมุนวนเป็นวัฏจักร

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ออกรายงานเรื่อง ภาวะสังคมไทยไตรมาส ปี 2563 โดยระบุว่ามีความเคลื่อนไหวทางสังคมที่สำคัญ ได้แก่ มิติคุณภาพของคน อัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับสูง ขณะที่ผู้มีงานทำก็มีชั่วโมงการทำงานลดลง หนี้เพื่อการอุปโภคบริโภคที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือเอ็นพีแอล (NPLs) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และด้านสุขภาพ พบว่าการเจ็บป่วยด้วยโรคเฝ้าระวังลดลง

มิติความมั่นคงทางสังคม คดีอาญาลดลง การเกิดอุบัติเหตุทางบกลดลง มิติด้านความเป็นอยู่และพฤติกรรมของคน การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่ลดลง นอกจากนี้ ยังมีการนำเสนอสถานการณ์ทางสังคมที่น่าสนใจ ได้แก่ ความพร้อมของระบบสาธารณสุขไทยกับการรับมือการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ และสถานการณ์ปัญหาแม่วัยรุ่นในประเทศไทย

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
ครม.เห็นชอบ! แก้กฎหมายหญิงอายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ ทำแท้งได้ไม่มีความผิด
แม่ใจยักษ์ทำแท้ง ก่อนนำศพทารกมาทิ้งในห้องน้ำวัดดังย่านบางพลี

โดยปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นยังคงเป็นเรื่องที่น่ากังวล พบว่า อัตราการมีบุตรของวัยรุ่น (อายุ 15–19 ปี) ในประเทศไทย แม้ว่าในภาพรวมจะลดลงจาก 51 คน ต่อประชากร 1,000 คนในปี 58 เหลือ 23 คนต่อประชากร 1,000 คนในปี 62 แต่ก็ยังพบอัตราการมีบุตรของแม่วัยรุ่นมากในภาคเหนือและภาคใต้ โดยภาคเหนืออัตราการมีบุตร 42 คนต่อประชากร 1,000 คน ภาคใต้อัตราการมีบุตร 35 คนต่อประชากร 1,000 คน

1605687676315

ขณะที่อัตราการมีบุตรของแม่วัยรุ่นที่อายุต่ำกว่า 15 ปี (แม่วัยใส) มากที่สุดคือ ร้อยละ 0.8 โดยแม่วัยรุ่นส่วนมากมีการศึกษาน้อยคือ จบการศึกษาระดับประถมศึกษามากที่สุด 130 คนต่อประชากร 1,000 คน แต่จะลดลงเรื่อยๆ ตามลำดับการศึกษาของผู้หญิงที่เพิ่มขึ้น โดยแม่วัยรุ่นที่เรียนสูงกว่ามัธยมจะมีบุตรเหลือเพียง 4 คนต่อประชากร 1,000 คน สะท้อนให้เห็น ว่าการรักษาการคงอยู่ในระบบการศึกษาของวัยรุ่นจะมีส่วนสำคัญในการช่วยลดปัญหาดังกล่าว

เมื่อเจาะลึกลงไปถึงสาเหตุที่ว่า ทำไมระดับการศึกษาถึงมีนัยยะสำคัญต่อการเกิดแม่วัยใส พบว่ามาจาก ปัญหาความยากจน โดยครัวเรือนยากจนจะมีปัญหาแม่วัยรุ่นสูงกว่าครัวเรือนรายได้สูง จากข้อมูลพบว่า ครัวเรือนที่ยากจนมาก มีวัยรุ่นมีบุตร 49 คนต่อประชากร 1,000 คน ครัวเรือนที่ยากจน มีวัยรุ่นมีบุตร 23 คนต่อประชากร 1,000 คน ครัวเรือนฐานะปานกลาง มีวัยรุ่นมีบุตร 32 คนต่อประชากร 1,000 คน ครัวเรือนที่ร่ำรวย มีวัยรุ่นมีบุตร 15 คนต่อ ประชากร 1,000 คน และครัวเรือนที่ร่ำรวยมาก มีวัยรุ่นมีบุตร 4 คนต่อประชากร 1,000 คน

ผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสังคมที่เกิดขึ้นก็คือ แม่วัยรุ่นจำนวนมากหลุดออกจากระบบการศึกษา ส่งผลให้มีรายได้ที่น้อยตามระดับการศึกษาที่น้อย รายได้ไม่เพียงพอให้เลี้ยงดูบุตรได้เหมาะสม เกิดความเครียด การใช้ความรุนแรงในครอบครัว ปัญหาการส่งต่อโอกาสในการเรียนต่อในระดับสูงของเด็ก จนก่อเป็นวัฏจักรความจน (เพิ่มโอกาสเป็นแม่วัยรุ่นและการส่งต่อความยากจน)

1605687689114

 

 

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวที่ได้รับความสนใจ